สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)  
ผู้ประพันธ์ล่อกวนตง
ชื่อเรื่องต้นฉบับ'ซันกั๋วหยั่นอี้ (ภาษาจีน) หรือ
สามก๊กเอี้ยนหงี (ภาษาฮกเกี้ยน)
ผู้แปลเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ประเภทวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์
สำนักพิมพ์หลายสำนักพิมพ์
ชนิดสื่อพงศาวดารจีน

ขนาดเล่ม แก้

สามก๊กมีขนาดสองเล่มจบ ความหนาหนึ่งพันแปดสิบหกหน้า เนื้อเรื่องมีแปดสิบสามตอน สำหรับหนอนหนังสือแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นอย่างไร เพราะหากเทียบกับวรรณกรรมอย่าง ผู้ยากไร้ ของวิคเตอร์ ฮูโก หรือสงครามและสันติภาพ ของลีโอ ตอลสตอย หรือแม้แต่มังกรหยก ของกิมย้ง แล้วสามก๊กถือได้ว่าไม่ยากและไม่ง่ายสำหรับการอ่าน

ประวัติ แก้

เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทเรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 - 2186) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้

เนื้อเรื่องเริ่มในตอนปลายของราชวงศ์ฮั่น กษัตริย์อ่อนแอ ขันทีมีอำนาจ บ้านเมืองเต็มไปด้วยความฉ้อฉล พลเมืองถูกกดขี่ กองโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่ประกาศความเป็นไทจากอำนาจรัฐ เมื่อมีพระราชโองการให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกกองทัพไปปราบปราม กลียุคจากสงครามจึงเป็นโรงละครใหญ่ให้วีรบุรุษได้ปรากฏตัว


อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้