สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์

52°13′N 21°02′E / 52.217°N 21.033°E / 52.217; 21.033

สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์

Polska Rzeczpospolita Ludowa  (โปแลนด์)
ค.ศ. 1947–1989
ธงชาติโปแลนด์
ธง (ค.ศ. 1947–1980)
เพลงชาติ"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ"
(แปลว่า "โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น")
สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ใน ค.ศ. 1989
สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ใน ค.ศ. 1989
สถานะรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต[a]
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
วอร์ซอ
52°13′N 21°02′E / 52.217°N 21.033°E / 52.217; 21.033
ภาษาราชการโปแลนด์
ศาสนา
โรมันคาทอลิก (โดยพฤตินัย)
อเทวนิยม (โดยนิตินัย)
ดูศาสนาในประเทศโปแลนด์
เดมะนิมชาวโปแลนด์
การปกครองรัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์–เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว โดยพฤตินัย สาธารณรัฐสังคมนิยม (1947–89)
ภายใต้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง (1981–83)
ประมุขแห่งรัฐและเลขาธิการแรก 
• ค.ศ. 1947–1956 (คนแรก)
บอแลสวัฟ บีแยรุต
• ค.ศ. 1989–1990 (คนสุดท้าย)
วอยแชค ยารูแซลสกี
ประธานสภา 
• ค.ศ. 1947–1952 (คนแรก)
บอแลสวัฟ บีแยรุต
• ค.ศ. 1985–1989 (คนสุดท้าย)
วอยแชค ยารูแซลสกี
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1944-1947 (คนแรก)
E. Osóbka-Morawski
• ค.ศ. 1989 (คนสุดท้าย)
Tadeusz Mazowiecki
สภานิติบัญญัติเซย์ม
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947
• ก่อตั้งสหพรรคแรงงาน
16–21 ธันวาคม ค.ศ. 1948
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1952
21 ตุลาคม ค.ศ. 1956
13 ธันวาคม ค.ศ. 1981
4 มิถุนายน – 30 ธันวาคม ค.ศ. 1989
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990
9 ธันวาคม ค.ศ. 1990
พื้นที่
• รวม
312,685 ตารางกิโลเมตร (120,728 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1989 ประมาณ
37,970,155
เอชดีไอ (1989)0.910[1]
สูงมาก
สกุลเงินซวอตือโปแลนด์ (PLZ)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+48
ก่อนหน้า
ถัดไป
นาซีเยอรมนี
สาธารณรัฐโปแลนด์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่3
  • a. ^สมาชิกถาวรทั้งหมดที่ไม่ใช่โซเวียตในสนธิสัญญาวอร์ซอ ยกเว้นโรมาเนียที่เป็น"อาณานิคมยุโรป"[2]

สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ (โปแลนด์: Polska Rzeczpospolita Ludowa; อังกฤษ: People's Republic of Poland (PRP)) เป็นประเทศในยุโรปกลางที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ถึง ค.ศ. 1989 และเป็นบรรพบุรุษของสาธารณรัฐโปแลนด์สมัยใหม่ มีประชากรจำนวนราวประมาณ 37.9 ล้านคน เมื่อใกล้จะสิ้นสุดของการดำรงอยู่ เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองและประเทศกลุ่มตะวันออกในยุโรป[3] การมีรัฐบาลที่ยึดถือลัทธิมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์เพียงหนึ่งเดียวซึ่งถูกกำหนดเอาไว้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยังเป็นหนึ่งในผู้ลงนามหลักของกติกาสัญญาวอร์ซอ เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเมืองหลวงอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 คือ กรุงวอร์ซอ ตามมาด้วยเมืองอุตสาหกรรมคือ วูช และเมืองวัฒนธรรมคือ กรากุฟ ประเทศถูกล้อมรอบด้วยทะเลบอลติกทางตอนเหนือ สหภาพโซเวียตทางตะวันออก เชโกสโลวาเกียทางใต้ และเยอรมนีตะวันออกทางตะวันตก

ระหว่างปี ค.ศ. 1952 และ 1989 โปแลนด์ถูกปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ที่ถูกจัดตั้งขึ้น ภายหลังจากกองทัพแดงได้เข้ายึดครองดินแดนจากการยึดครองของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่ออย่างเป็นทางการของรัฐคือ "สาธารณรัฐโปแลนด์" (Rzeczpospolita Polska) ระหว่างปี ค.ศ. 1947 และ 1952 ตามรัฐธรรมนูญฉบับย่อแบบชั่วคราวของปี ค.ศ. 1947[4] ชื่อว่า "สาธารณรัฐประชาชน" ได้ถูกนำมาใช้และกำหนดโดยรัฐธรรมนูญของปี ค.ศ. 1952 เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มตะวันออก (เยอรมนีตะวันออก เชโกสโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย บัลแกเรีย และอัลแบเนีย) [a] โปแลนด์ถือว่าเป็นรัฐบริวารในบริเวณพื้นที่ที่น่าสนใจของสหภาพโซเวียต แต่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตเลย[5][6][7]

สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์เป็นรัฐแบบพรรคกลางเมืองเดียวซึ่งมีลักษณะด้วยการต่อสู้ภายในอย่างหนักแน่นเพื่อประชาธิปไตย สหพรรคแรงงานโปแลนด์กลายเป็นกลุ่มทางการเมืองที่มีอำนาจเหนือกว่า ทำให้โปแลนด์กลายเป็นประเทศสังคมนิยมอย่างเป็นทางการ แต่มีนโยบายที่เสรีนิยมมากกว่ารัฐอื่น ๆ ในกลุ่มตะวันออก ตลอดระยะเวลาที่ดำรงอยู่ ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และความไม่สงบทางสังคมกลายเป็นเรื่องปกติในเกือบทุกทศวรรษ ประเทศได้ถูกแบ่งแยกระหว่างผู้ที่สนับสนุนพรรค ผู้ที่ต่อต้านพรรค และผู้ที่ปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในกิจกกรมทางเมือง แม้ว่าเรื่องนี้ ความสำเร็จที่ก้าวล้ำบางอย่างจะเกิดขึ้นในช่วงสาธารณรัฐประชาชน เช่น สภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว นคราภิวัตน์ และการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการศึกษาแบบฟรีสามารถทำได้ อัตราการเกิดที่สูงขึ้นและจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเกือบสองเท่า ระหว่างปี ค.ศ. 1947 และ ค.ศ. 1989 อย่างไรก็ตาม ด้วยประสบความสำเร็จมากที่สุดของพรรคคือ การบูรณะกรุงวอร์ซอที่กลายเป็นซากปรักหักพังขึ้นมาใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองและการขจัดความไม่รู้หนังสือโดยสิ้นเชิง[8][9]

กองทัพประชาชนโปแลนด์เป็นสาขาหลักของกองทัพ แม้ว่าหน่วยทหารของกองทัพโซเวียตจะประจำการอยู่ในโปแลนด์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั้งหมดในกติกาสัญญาวอร์ซอ[10] หน่วยยูบี (กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ) ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น หน่วยเอ็สบี (หน่วยความมั่นคง) เป็นหัวหน้าหน่วยข่าวกรองที่ทำหน้าที่เป็นตำรวจลับ คล้ายกับหน่วยชตาซีของเยอรมนีตะวันออกและหน่วยเคจีบีของสหภาพโซเวียต องค์กรตำรวจอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบและปราบปรามการประท้วงอย่างรุนแรง ซึ่งได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทหารอาสาสมัครพลเรือน (Citizens' Militia - MO) กองกำลังหมู่ โซโม (ZOMO) กองกำลังทหารอาสาสมัครระดับชั้นนำได้ก่ออาชญากรรมอย่างร้ายแรงเพื่อรักษาอำนาจคอมมิวนิสต์เอาไว้ รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้ประท้วงอย่างรุนแรง การจับกุมแกนนำฝ่ายค้าน และในกรณีที่รุนแรงด้วยการฆาตกรรม[11] มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 22,000 คนโดยระบอบการปกครองในช่วงการปกครอง[12] เป็นผลทำให้โปแลนด์มีอัตราการถูกจำคุกที่สูง แต่มีอัตราการก่ออาชญากรรมที่ต่ำที่สุดในโลก[13]

สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ถูกยุบหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1990 แต่สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 3 หลังยุคคอมมิวนิสต์ ยังคงบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1952 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1997 ซึ่งเป็นการยกเลิกโครงสร้างสังคมนิยมทั้งหมดและแทนที่ด้วยระบบรัฐสภา

อ้างอิง แก้

  1. "Human Development Report 1990" (PDF). hdr.undp.org.
  2. Vladimir Tismaneanu, Marius Stan, Cambridge University Press, 17 May, 2018, Romania Confronts Its Communist Past: Democracy, Memory, and Moral Justice, p. 132
  3. "What Was the Eastern Bloc?". สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  4. Internetowy System Aktow Prawnych (2013). "Small Constitution of 1947" [Mała Konstytucja z 1947]. Original text at the Sejm website. Kancelaria Sejmu RP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF direct download)เมื่อ 3 June 2015. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015.
  5. Internetowy System Aktow Prawnych (2013). "Small Constitution of 1947" [Mała Konstytucja z 1947]. Original text at the Sejm website. Kancelaria Sejmu RP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF direct download)เมื่อ 3 June 2015. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015.
  6. Rao, B. V. (2006), History of Modern Europe Ad 1789-2002: A.D. 1789-2002, Sterling Publishers Pvt. Ltd.
  7. Marek, Krystyna (1954). Identity and Continuity of States in Public International Law. Librairie Droz. p. 475. ISBN 9782600040440.
  8. "30 procent analfabetów... - Retropress". retropress.pl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-18. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  9. "analfabetyzm - Encyklopedia PWN - źródło wiarygodnej i rzetelnej wiedzy". encyklopedia.pwn.pl.
  10. Rao, B. V. (2006), History of Modern Europe Ad 1789-2002: A.D. 1789-2002, Sterling Publishers Pvt. Ltd.
  11. "Urząd Bezpieczeństwa Publicznego - Virtual Shtetl". sztetl.org.pl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-06. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  12. Rummel, R. J. (1997). Statistics of democide: genocide and mass murder since 1900. Charlottesville, Virginia: Transaction Publishers.
  13. Daems, Tom; Smit, Dirk van Zyl; Snacken, Sonja (17 May 2013). European Penology?. Bloomsbury Publishing. ISBN 9781782251309. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018 – โดยทาง Google Books.

บรรณานุกรม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. Until the Soviet-Albanian Split in 1961.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้