สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (อังกฤษ: Republic of Bosnia and Herzegovina; บอสเนีย: Republika Bosna i Hercegovina) เป็นอดีตรัฐชาติซึ่งถ่ายทอดสิทธิ์ทางอำนาจและพันธะให้แก่ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปัจจุบัน[1]

สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

Republika Bosna i Hercegovina (บอสเนีย)
ค.ศ. 1992–1995 (กระบวนการนำไปปฏิบัติจนถึง ค.ศ. 1997)
เพลงชาติ(1992–1995)
เยดนาซีเยดีนา
("เพื่อท่านผู้เดียวเท่านั้น")
เมืองหลวงซาราเยโว
ภาษาทั่วไปภาษาบอสเนีย
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
ประธานาธิบดี 
• ค.ศ. 1992–1995
อาลียา อีเซตเบกอวิช
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1992
ยูเร เพลีวาน
• ค.ศ. 1992–1993
มีเล อักมาจิช
• ค.ศ. 1993–1995
ฮาริส ซีไลจิช
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามบอสเนีย
3 มีนาคม ค.ศ. 1992
1 มีนาคม ค.ศ. 1994
• ความตกลงเดย์ตัน 14 ธันวาคม ค.ศ. 1995 (กระบวนการนำไปปฏิบัติจนถึง ค.ศ. 1997)
ค.ศ. 1997
สกุลเงินดีนาร์บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาดำรงอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายจนกระทั่งมีการร่วมลงนามในเอกสารแนบ 4 ของความตกลงเดย์ตัน (ซึ่งบรรจุรัฐธรรมนูญแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาไว้) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1995 แต่เอกสารทางการอื่น ๆ เปิดเผยว่า รัฐนี้ดำรงอยู่จนถึงสิ้นปี ค.ศ. 1997 เมื่อขั้นตอนการดำเนินงานตามความตกลงเดย์ตันสิ้นสุดและรัฐธรรมนูญแห่งบอสเนียฯ มีผลบังคับตั้งแต่บัดนั้น[2] ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐบอสเนียฯ ตกอยู่ในภาวะสงครามบอสเนีย ในขณะนั้น กลุ่มชาติพันธุ์หลักอื่น ๆ ในสาธารณรัฐบอสเนียฯ (ชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บและชาวบอสเนียเชื้อสายโครแอต) จัดตั้งหน่วยการเมืองของกลุ่มตนขึ้น (ได้แก่สาธารณรัฐเซิร์ปสกาและสาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียตามลำดับ) ทำให้ชาวบอสนีแอกกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักที่เหลืออยู่ของสาธารณรัฐบอสเนียฯ

อย่างไรก็ตาม ตามความตกลงวอชิงตัน ค.ศ. 1994 ชาวบอสเนียเชื้อสายโครแอตได้เข้าร่วมกับชาวบอสเนียเชื้อสายบอสนีแอกเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาให้เป็นหน่วยการปกครองร่วมกันในระดับรองจากรัฐชาติ และในปี ค.ศ. 1995 ความตกลงเดย์ตันได้รวมสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและสาธารณรัฐเซิร์ปสกา (ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองของชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บ) เข้ากับรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การปกครอง แก้

สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ในช่วงแรกปกครองโดยระบบสาธารณรัฐ มีอำนาจการปกครอง 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล รัฐสภา และ ตุลาการ แต่อำนาจของสาธารณรัฐมักถูกครอบงำโดยระบอบทหารเนื่องจากสภาพสงคราม ทำให้ในคณะรัฐบาลกองทัพแทบจะมีบทบาทในการบริหารประเทศ ร่วมกับคณะรัฐบาล

ในช่วงแรกของสาธารณรัฐ สาธารณรัฐปกครองโดยสองชนชาติ คือ ชาวบอสนีแอก และ ชาวโครแอต แต่ในกลางปี ค.ศ. 1992 ชาวโครแอตก่อการแบ่งแยกดินแดน ทำให้ระบบพหุสังคมล่มสลายเหลือเพียงชาวบอสนีแอก และในช่วงปี ค.ศ. 1993 บอสเนียประกาศสถาปนาเป็นสาธารณรัฐอิสลาม (Republika Islamska) เนื่องจากเหลือเพียงชาวมุสลิมที่เป็นประชากรของบอสเนีย บอสเนียจึงประกาศตัวเป็นสาธารณรัฐอิสลาม

1 มีนาคม ปี ค.ศ. 1994 หลังสนธิสัญญาวอชิงตัน สาธารณรัฐก็รวบประชาคมเฮิร์ตเซก-บอสเนีย ซึ่งเคยพยายามแบ่งแยกดินแดนมาเข้าเป็นส่วนหนึงของบอสเนียตามสนธิสัญญากับโครเอเชีย ที่ให้ชาวโครแอทในบอสเนียเป็นประชากรของสาธารณรัฐ ทำให้บอสเนียต้องสละความเป็นสาธารณรัฐอิสลาม เพื่อจัดตั้งรัฐพหุสังคม และสร้างพื้นฐานของรัฐชาติในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาใหม่ ซึ่งจะเป็นรัฐพหุสังมปกครองโดยระบบสมาพันธรัฐในทางพฤตินัย

การล่มสลายของยูโกสลาเวีย แก้

  • 25 มิถุนายน ค.ศ. 1991 - โครเอเชียและสโลวีเนียประกาศแยกตัว
  • 6 เมษายน ค.ศ. 1992 - เกิดสงครามระหว่างรัฐบาลบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนากับชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บเนื่องจากความพยายามแยกตัวเป็นอิสระ
  • 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 เซอร์เบียและมอนเตเนโกร โครเอเชีย และสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ลงนามในข้อตกลงสันติภาพ ภายหลังจากการโจมตีทางอากาศของนาโตในเซอร์เบีย

อ้างอิง แก้

  1. "CONSTITUTION OF BOSNIA AND HERZEGOVINA" (PDF). Constitutional Court of Bosnia and Herzegovina. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-28. สืบค้นเมื่อ 2015-10-04.
  2. "HUMAN RIGHTS CHAMBER DOM ZA LJUDSKA PRAVA FOR BOSNIA AND HERZEGOVINA REPORT" (PDF). www.hrc.ba. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-02. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.