สันนิบาตสามจักรพรรดิ

สันนิบาตสามจักรพรรดิ (อังกฤษ: League of the Three Emperors) เป็นพันธมิตรอันไม่มั่นคงระหว่างจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย และจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี
จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย

การก่อตั้ง ค.ศ. 1873 แก้

วันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1873 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เจรจาความตกลงระหว่างพระมหากษัตริย์ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและเยอรมนี พันธมิตรดังกล่าวมุ่งฟื้นฟูพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ ใน ค.ศ. 1815 และทำหน้าที่เสมือนปราการต่อต้านทัศนะหัวรุนแรงซึ่งผู้ปกครองอนุรักษนิยมเห็นว่าไม่มั่นคง[1] พันธมิตรดังกล่าวเกิดขึ้นหลังอนุสัญญาเชินบรุนน์ ลงนามโดยรัสเซียและออสเตรีย-ฮังการีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1873

เบื้องหลังและนโยบาย แก้

บิสมาร์คมักจะนำสันนิบาตเพราะมันประเมินความท้าทายซึ่งมีศูนย์กลางในการธำรงรักษาไว้ซึ่งสมดุลแห่งอำนาจระหว่างรัฐที่เกี่ยวข้องและยุโรปทั้งหมด รากฐานของปรัชญาการเมืองของเขารวมไปถึงการอุทิศตัวเพื่อรักษาไว้ซึ่งสถานะเดิมและหลีกเลี่ยงสงคราม แม้ว่าเยอรมนีจะได้รับชัยชนะในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ใน ค.ศ. 1870-71 ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นสดใหม่ในความทรงจำของรัฐที่เพิ่งรวมขึ้นใหม่นี้ และทำให้เยอรมนีไม่เต็มใจจะเป็นปรปักษ์กับฝรั่งเศส แต่มุ่งจะจำกัดอำนาจของฝรั่งเศสเช่นเคย ตามมุมมองของสันนิบาต องค์การสังคมนิยมหัวรุนแรง เช่น สากลที่หนึ่ง เป็นตัวอย่างของหนึ่งในหลายภัยคุกคามสำคัญต่อเสถียรภาพและความเป็นเจ้าในภูมิภาค ด้วยเหตุผลนี้ สันนิบาตจึงคัดค้านการขยายอิทธิพลขององค์การอย่างแข็งขัน[2]

การยุบครั้งแรก ค.ศ. 1875 แก้

กลุ่มดังกล่าวยุบเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1875 ด้วยข้อพิพาทดินแดนในบอลข่านเมื่อออสเตรีย-ฮังการีเกรงว่า การให้การสนับสนุนของรัสเซียต่อเซอร์เบียอาจลงเอยด้วยการจุดประกายให้เกิดอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนในหมู่ประชากรสลาฟที่เซอร์เบียปกครองอยู่[3] เช่นเดียวกับทางการรัสเซียซึ่งเกรงการกบฏ หากขบวนการรวมชาติสลาฟได้รับอิทธิพลมากเกินไป[3] ข้อสรุปแรกขององค์การใน ค.ศ. 1879 ปูทางแก่ทวิพันธมิตรป้องกันระหว่างออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนี เพื่อตอบโต้การรุกรานของรัสเซียที่เป็นไปได้ ใน ค.ศ. 1882 อิตาลีเข้าร่วมกับความตกลงดังกล่าวและถือกำเนิดเป็นไตรพันธมิตรขึ้น[4]

การฟื้นฟู ค.ศ. 1881-1887 แก้

สนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1878 ทำให้รัสเซียรู้สึกว่าตนถูกโกงส่วนแบ่งที่ควรจะได้จากสงครามรัสเซีย-ตุรกี อย่างไรก็ตาม บทบาทสำคัญของรัสเซียในการทูตยุโรปมิได้ถูกลืมโดยบิสมาร์ค สันนิบาตสามจักรพรรดิซึ่งเป็นทางการกว่าและมีการบันทึกไว้ชัดเจนกว่าได้รับการบรรลุเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1881[5] สันนิบาตดังกล่าวมีอายุได้สามปี ได้รับการต่ออายุใน ค.ศ. 1884 แต่สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1887 พันธมิตรทั้งสองสิ้นสุดลงเพราะความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างออสเตรีย-ฮังการีและรัสเซียในบอลข่าน

เชิงอรรถ แก้

  1. Gildea 2003, p. 237.
  2. Henig, Ruth Beatrice (2002). The Origins of the First World War. Routledge. p. 3. ISBN 0415261856.
  3. 3.0 3.1 Gildea 2003, p. 240.
  4. http://germanhistorydocs.ghi-dc.org/sub_document.cfm?document_id=1860
  5. Text of the actual agrement, last visited June 24 2011

อ้างอิง แก้

  • Gildea, Robert (2003). Barricades and Borders: Europe 1800-1914. Oxford University Press. p. 237. ISBN 0199253005.