สันตินิยม (อังกฤษ: Pacifism) เป็นแนวคิดที่ต่อต้านสงครามตลอดจนความรุนแรงต่าง ๆ โดยเชื่อว่าสงครามและความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทางศีลธรรม แต่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้โดยสันติวิธี ซึ่งนักสันตินิยมมักกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติโดยยึดหลักศาสนา อย่างไรก็ตามยังมีการให้คำวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นแนวคิดที่สามารถปฏิบัติได้ยาก เนื่องจากการให้โลกนี้ปราศจากความรุนแรงในความเป็นจริงนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยตลอด ในบางครั้ง การใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดโดยยึดหลักจริยธรรมแก้ปัญหาอาจเป็นแนวทางที่ดีกว่า[1][2]

ประวัติช่วงต้น แก้

 
Apotheosis of War (1871) ภาพระบายสีของเวอเรสชากิน ซึ่งกลายมาเป็นหนึ่งในผลงานศิลปะที่ยอมรับกันในด้านสื่อแสดงถึงสันตินิยม

มีหลายสิ่งที่สนับสนุนแนวคิดสันตินิยมหากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ ตลอดจนงานประพันธ์ต่างๆ ดังตัวอย่างเช่น :

อินเดีย แก้

ความเห็นใจต่อสรรพชีวิตทั้งปวง ทั้งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์ ต่างเป็นส่วนสำคัญที่ปรากฏในหลักธรรมของศาสนาฮินดูกับศาสนาพุทธ ซึ่งพระโคตมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้ในสัจธรรมนี้ รวมทั้งพระมหาวีระที่ค้นพบสัจธรรมในศาสนาเชนในช่วง 599 ถึง 527 ปีก่อนคริสตกาล โดยพระโคตมพุทธเจ้าตลอดจนพระมหาวีระ ต่างกำเนิดในวรรณะกษัตริย์

กรีซ แก้

ในกรีซโบราณแม้จะดูเหมือนว่าแนวคิดสันตินิยมจะไม่ปรากฏอยู่ เว้นเสียแต่ว่าจะมีแนวคิดชี้นำทางศีลธรรมอย่างกว้าง ๆ ซึ่งขัดแย้งต่อแนวคิดด้านความรุนแรงระหว่างบุคคล โดยมิได้มีแนวคิดทางปรัชญาที่ปฏิเสธถึงความรุนแรงระหว่างการปราศรัย หรือปฏิเสธรูปแบบการใช้ความรุนแรงทั้งหมดที่ดูเหมือนว่ายังปรากฏให้เห็นอยู่ อริสโตฟานเนสกับบทละครของเขาที่มีชื่อว่าไลซิสทราธา ได้สร้างบทที่กล่าวถึงสตรีชาวเอเธนส์ที่ต้อต้านสงครามในช่วงที่เกิดเหตุการณ์สงครามเพโลพอนนีเซียน เมื่อ 431 ถึง 434 ปีก่อนคริสตกาล และละครชุดนี้ได้สร้างชื่อเสียงในหลายๆประเทศในประเด็นของการต่อต้านสงคราม แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งในแง่ของงานประพันธ์กับสุขนาฏกรรม และแม้ว่าจะปฏิเสธแนวคิดทางสงคราม แต่ก็ดูเหมือนว่าความขัดแย้งยังคงอยู่ (ภายหลังจากนั้น 20 ปี) มากกว่าที่รู้จักในฐานะของปรัชญาที่เผชิญกับความรุนแรงหรือสงคราม พอๆกันกับบทประพันธ์ที่ประท้วงต่อต้านความรุนแรงอย่างเรื่องเฮเกโทริเดสแห่งเกาะทาซอส

อิตาลี แก้

แพนด้าเป็นเทพแห่งความมสันติสุข (ตามที่ปรากฏในฟิโลซินอส)[3] แหล่งที่มาของคำว่า "Panda" นี้มาจากคำว่า "pandi"

จีน แก้

ในลัทธิเต๋า คัมภีร์ไท่ผิงจิง (สันติขั้นสูงสุด) บอกล่วงหน้าถึง "การมาของยุคแห่งสันติภาพ" (ไท่ผิง )[4] โดยไท่ผิงจิงนี้มีเนื้อหาที่สนับสนุนแนวคิด "โลกที่เต็มไปด้วยสันติ"[5]

แอฟริกา แก้

นิวซีแลนด์ แก้

ฮาวาย แก้

อเมริกาเหนือ แก้

จักรวรรดิโรมัน แก้

ประวัติช่วงยุคใหม่ แก้

ศาสนา แก้

 
สัญลักษณ์แห่งสันติ ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางในสื่อด้านสันตินิยม

อ้างอิง แก้

  1. "ความรู้ด้าน"สันตินิยม"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-11. สืบค้นเมื่อ 2010-07-04.
  2. "แนวคิด"สันตินิยม"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-07-04.
  3. Charlton T. Lewis & Charles Short : A Latin Dictionary. Oxford : Clarendon Press, 1879. s.v. "Panda"
  4. Daoist Philosophy -- 10. "Celestial Masters Daoism"
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-28. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้