สัตว์สังคม (อังกฤษ: Social animal) มีความหมายอย่างกว้างๆ สำหรับสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับสมาชิกตัวอื่นๆ ในสปีชีส์เดียวกันถึงจุดที่เรียกว่ามีทราบได้ว่าเป็นระบบสังคมที่เป็นเอกลักษณ์

ลิงกอริลลาและสัตว์ประเภทลิงชั้นสูงเป็นที่ทราบว่าเป็นสัตว์ที่มีระบบสังคมที่คล้ายคลึงกันและซับซ้อน

ลิงกอริลลาและสัตว์ประเภทลิงชั้นสูงเป็นที่ทราบว่าเป็นสัตว์ที่มีระบบสังคมที่คล้ายคลึงกันและซับซ้อน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนกมีการสังคมพอที่จะมีความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก คำว่า “สัตว์สังคม” มักจะใช้ก็ต่อเมื่อระดับของการสังคมมีมากกว่าที่กล่าว โดยการมีกลุ่มสัตว์ใหญ่ที่อยู่ด้วยกัน และสัตว์ที่อยู่ในกลุ่มมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใดอย่างหนึ่ง

พฤติกรรมทางสังคมของสัตว์หรือการรวมเป็นกลุ่มเป็นสาขาที่ศึกษาในจิตวิทยาเปรียบเทียบ, พฤติกรรมสัตว์, ชีววิทยาเชิงสังคม, นิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (ปัญญาประดิษฐ์)

โดยทั่วไปแล้วการศึกษาสัตว์สังคมจะคำนึงถึง:

  • กลุ่มขนาดใดถือว่าเป็นขนาดเฉลี่ย? ปัจจัยใดที่มีผลต่อขนาดของกลุ่ม? ปัจจัยใดที่ทำให้เกิดการรวมตัวหรือการแบ่งแยกกลุ่มปัจจัยใดที่
  • สปีชีส์แสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขต (territoriality)? ถ้าครองอาณาเขต ทำเพื่อวัตถุประสงค์ใด? การครองอาณาเขต ครองโดยกลุ่มหรือเพียงตัวเดียว?
  • ภายในกลุ่มสังคมมีระดับชั้นลดหลั่นกันหรือไม่? มีแบบแผนภายในกลุ่มหรือไม่?

สปีชีส์สองสามสปีชีส์โดยเฉพาะแมลงในอันดับแตน (มด, ผึ้ง และ ตัวต่อ) และ Isoptera (ปลวก) เป็นสัตว์สังคมที่มีระบบสังคมที่ซับซ้อนและเป็นสังคมที่มีระบบที่สมาชิกในกลุ่มต่างก็มีหน้าที่ที่ระบุไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ลักษณะของสังคมระบบนี้เรียกว่า ระบบสังคมแบบพึ่งพาอาศัย (eusociality)

สัตว์บางชนิดที่มีระบบสังคมที่น่าสนใจ: