อาการสะอึก เป็นการหดตัวนอกอำนาจจิตใจของกะบังลม ทำให้กะบังลมหดตัวอย่างแรงราว 0.25 วินาที เสียง "ฮึก" ที่เกิดขึ้นระหว่างการสะอึกเกิดจากการปิดของเส้นเสียง[1] การสะอึกอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยมีระยะเวลาห่างกันคงที่

สะอึก
ชื่ออื่นSingultus, hiccough, synchronous diaphragmatic flutter (SDF)
สาขาวิชาโสตศอนาสิกวิทยา

อาการสะอึกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีอากาศในท้องเยอะเกิน[2], โรคกรดไหลย้อน[3], ไส้เลื่อนกะบังลม[4], กินหรือดื่มเร็วเกินไป[5], การหัวเราะ[6] หรือเป็นสัญญาณของโรค เช่น ไตวาย[7], โรคหลอดเลือดสมอง[7], โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง[8], เยื่อหุ้มสมองอักเสบ[7] หรือเส้นประสาทเวกัสถูกทำลาย[4]

โดยปกติแล้วอาการสะอึกจะหายได้เอง แต่มีการเสนอหลายวิธีเพื่อช่วยให้หายสะอึกเร็วขึ้น เช่น กลั้นหายใจ, หายใจในถุงกระดาษหรืองอเข่าเข้าหาตัวแล้วเอนไปด้านหน้า[9] แต่ในรายที่สะอึกเรื้อรังอาจต้องรับยาบาโคลเฟน, คลอร์โพรมาซีน, เมทาโคลพราไมด์ หรือเข้ารับการผ่าตัด[10] บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ รายงานว่าชาลส์ ออสบอร์น ชายชาวอเมริกันเป็นผู้ที่สะอึกนานที่สุดเป็นเวลา 68 ปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1922-1990)[11]

อ้างอิง แก้

  1. "What Causes Hiccups, and What's the Best Hiccup Cure?". Time. December 16, 2015. สืบค้นเมื่อ March 20, 2018.
  2. "Hiccups". WebMD. สืบค้นเมื่อ 6 February 2014.
  3. "Gastroesophageal Reflux Disease". A.D.A.M Medical Encyclopedia. PubMed Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. 4.0 4.1 Willis, FM (2003). "Chronic hiccups". Modern Drugs Discovery. 6 (6). สืบค้นเมื่อ 12 October 2016.
  5. Howes, D. (2012). "Hiccups: A new explanation for the mysterious reflex". BioEssays. 34 (6): 451–453. doi:10.1002/bies.201100194. PMC 3504071. PMID 22377831.
  6. Milano, Meadow. "Causes of Hiccups". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Hiccups: Causes". MayoClinic.com. 2011-06-03. สืบค้นเมื่อ 2013-07-10.
  8. Witoonpanich R, Pirommai B, Tunlayadechanont S (2004). "Hiccups and multiple sclerosis". Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet. 87 (10): 1168–71. PMID 15560692.
  9. "How to get rid of hiccups - Tips and Tricks". Daily Mirror. March 19, 2018. สืบค้นเมื่อ March 20, 2018.
  10. "Chronic Hiccups: Causes, Treatments, and More". Healthline. สืบค้นเมื่อ March 20, 2018.
  11. In pictures | Guinness medical record breakers | Longest attack of hiccups. BBC News. Retrieved on 2 June 2013.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก