สะพานพระราม 4 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตำบลบางตะไนย์กับตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ทางตอนเหนือของจังหวัดนนทบุรี โดยสร้างเป็นส่วนต่อจากสะพานลอยรถข้ามห้าแยกปากเกร็ดตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ ยกระดับเหนือถนนแจ้งวัฒนะย่านกลางเมืองปากเกร็ด ข้ามแม่น้ำตรงด้านเหนือของเกาะเกร็ด แล้วเชื่อมต่อกับถนนชัยพฤกษ์ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ (ก่อนที่จะไปบรรจบถนนราชพฤกษ์)

สะพานพระราม 4
สะพานพระราม 4
เส้นทางถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนชัยพฤกษ์
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ชื่อทางการสะพานพระราม 4
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
รหัสส.005
เหนือน้ำสะพานนนทบุรี
ท้ายน้ำสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง
ความยาว278.00 เมตร
ความกว้าง40.00 เมตร
ความสูง5.60 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง1 ธันวาคม พ.ศ. 2546
วันเปิด8 ธันวาคม พ.ศ. 2549

สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2540 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ดและถนนเชื่อมต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การคมนาคม การขนส่ง และการจราจร[1] กรมทางหลวงชนบทได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างถนนตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546[2] ระหว่างนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ดแห่งนี้ว่า สะพานพระราม 4 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งการรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] กรมทางหลวงชนบทจึงได้ออกแบบและตกแต่งภูมิทัศน์ของสะพานตามแบบสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 ให้สอดคล้องกับชื่อที่ได้รับพระราชทาน[3]

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ กรมทางหลวงชนบทจึงเปิดใช้สะพานพร้อมกับถนนชัยพฤกษ์ (ถนนเชื่อมต่อแนวตะวันออก-ตะวันตก) อย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549[4] และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสะพาน พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551[3]

ข้อมูลทั่วไป แก้

 
สะพานพระราม 4 ทางด้านขวามือคือ วัดบ่อ
  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546[2]
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549[4]
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : Taisei-Sino-Thai Joint Venture
  • ราคาก่อสร้างเฉพาะส่วนสะพานและถนนเชื่อมต่อแนวตะวันออก-ตะวันตก (สัญญาที่ 1) : 1,511,722,429.91 บาท[2]
  • แบบของสะพาน : สะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (prestressed concrete box-girder bridge)
  • ความสูงช่องเรือลอด : 5.60 เมตร[2]
  • ความยาวของสะพาน : 278.00 เมตร[2] (กลางสะพาน 134 เมตร ช่วงริมตลิ่งสองข้าง ข้างละ 72 เมตร)
  • จำนวนช่องทางจราจร : 6 ช่องทางจราจร[2]
  • ความกว้างสะพาน : 40.00 เมตร[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 (ตอนที่ 50 ก): หน้า 15-17. 26 กันยายน 2540.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 กรมทางหลวงชนบท. "โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณห้าแยกปากเกร็ด และถนนเชื่อมต่อ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dor.go.th/~pakkret เก็บถาวร 2008-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 กันยายน 2551.
  3. 3.0 3.1 3.2 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. กองสารนิเทศ. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินฯ ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระราม ๔." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&parent=468&directory=1821
    &pagename=content2&contents=23275
    เก็บถาวร 2011-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2551. สืบค้น 30 กันยายน 2551.
  4. 4.0 4.1 ประชาชาติธุรกิจ. "พระราชทานนาม พระราม 4 สะพานข้ามเจ้าพระยาแห่งใหม่เชื่อม กทม.-นนท์." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://news.sanook.com/
    immovable/immovable_60444.php
    2549. สืบค้น 30 กันยายน 2551.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°54′57″N 100°29′38″E / 13.915802°N 100.493875°E / 13.915802; 100.493875

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานนนทบุรี
 
สะพานพระราม 4
 
ท้ายน้ำ
สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า