สะพานพระราม 3

สะพานในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

สะพานพระราม 3
สะพานพระราม 3‎ (ทางขวาของภาพ) โดยคู่ขนานไปกับสะพานกรุงเทพ
เส้นทางถนนรัชดาภิเษก, ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน, ถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ 3, รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งแขวงสำเหร่ เขตธนบุรี
แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม
ชื่อทางการสะพานพระราม 3
ชื่ออื่นสะพานกรุงเทพ 2
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
รหัสส.004
เหนือน้ำสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ท้ายน้ำสะพานกรุงเทพ
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานคานรูปกล่อง (box girder bridge)
ความยาวหลักช่วงกลางน้ำ 226 เมตร, หลักช่วงข้าง 125 เมตร
ความกว้าง34 เมตร
ความสูง66 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง29 สิงหาคม พ.ศ. 2539
วันเปิด21 ตุลาคม พ.ศ. 2542
30 มีนาคม พ.ศ. 2543
สะพานพระราม 3 และสะพานกรุงเทพ ในช่วงค่ำคืน ภาพในปี พ.ศ. 2562

เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ นอกจากนี้ สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานแบบอสมมาตรที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย[1] และเหตุที่สะพานมีระดับสูงและช่วงทางลงยาวมาก ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นในทางลงด้านถนนเจริญกรุงก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นทางลาดชัน จึงเกิดเหตุรถพุ่งเข้าชนบ้านที่อยู่ตรงทางลง ทำให้ต้องมีการสร้างแผงปูนขึ้นกั้นบริเวณบ้านที่อยู่ทางลงด้านนี้[2][3] โดยสะพานแห่งนี้ มีระบบขนส่งมวลชน ประเภทรถโดยสารด่วนพิเศษ นั่นคือ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ใช้ช่องทางร่วมกับรถทั่วไปด้วย โดยช่องเดินรถจะอยู่ด้านขวาสุด ชิดเกาะกลางสะพาน

ข้อมูลทั่วไป แก้

  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2539
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2542
  • วันที่ทำพิธีเปิดสะพาน : วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : Ed.Zublin Ag.Wayss & Freytag And Stecon Joint Venture
  • ราคาค่าก่อสร้าง : งบประมาณแผ่นดิน 411,489,540 บาท และจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) 2,481,181,265 เยน
  • แบบของสะพาน : สะพานคานรูปกล่อง (Box Girder)
  • ความกว้างของสะพาน : 6 ช่องจราจร 2 ทิศทาง 23 เมตร (ยกเว้นเชิงสะพานทั้งสองฝั่ง มี 4 ช่องจราจร เนื่องจากช่องจราจรด้านซ้ายสุดทั้งสองช่องเป็นสะพานเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุงและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน)
  • สูงจากระดับน้ำ : 34 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
  • ความกว้างของช่องลอด : 66 เมตร
  • ความยาวของโครงสร้างสะพาน : หลักช่วงกลางน้ำ 226 เมตร, หลักช่วงข้าง 125 เมตร
  • ความยาวเชิงลาดของสะพาน : ทั้ง 2 ฝั่ง 1,694 เมตร
  • ความยาวเชิงลาดทางขึ้น : ที่ถนนตก 211 เมตร, ที่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน 625 เมตร
  • ความยาวเชิงลาดทางลง : ที่ถนนเจริญกรุง 366 เมตร
  • ถนนระดับดิน : ทั้งสองฝั่ง 834 เมตร
  • ความยาวสะพานพร้อมเชิงลาด : 3,372 เมตร โดยเริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนพระรามที่ 3 ห่างจากแยกถนนตก ประมาณ 300 เมตร[4]

ทัศนียภาพ แก้

ทัศนียภาพกรุงเทพมหานครเขตธนบุรี (ฝั่งขวาของแม่น้ำ) และเขตบางคอแหลม (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ) จากสะพานพระราม 3 ในปี พ.ศ. 2564

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา, ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 5 July 2015
  2. Krungthep Bridge ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
  3. "New Krungthep Bridge, Bangkok, Thailand". Road Traffic Technology. สืบค้นเมื่อ 2007-11-27.
  4. Reference portfolio - Ramah III bridge (PDF), Aas Jakobsen, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-03, สืบค้นเมื่อ 12 August 2014

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°42′05″N 100°29′33″E / 13.701519°N 100.492619°E / 13.701519; 100.492619

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
   
สะพานพระราม 3
   
ท้ายน้ำ
สะพานกรุงเทพ