สหรัฐอินโดนีเซีย

สหรัฐอินโดนีเซีย (ดัตช์: Verenigde Staten van Indonesië; อินโดนีเซีย: Republik Indonesia Serikat, RIS มักย่อเป็น RUSI) เป็นสหพันธรัฐที่ทางราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ได้ถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยแก่หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (ไม่รวมนิวกินีของเนเธอร์แลนด์) ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1949 ซึ่งตามมาด้วยการประชุมโต๊ะกลมดัตช์–อินโดนีเซีย การถ่ายโอนนี้เป็นจุดสิ้นสุดของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาตินิยมอินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์ มันอยู่ได้ไม่ถึงปี ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนเป็นรัฐเดี่ยวแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สหรัฐอินโดนีเซีย

Republik Indonesia SerikatVerenigde Staten van Indonesië
ค.ศ.1949–ค.ศ.1950
เมืองหลวงจาการ์ตา
ภาษาทั่วไปอินโดนีเซีย
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐ สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ประธานาธิบดี 
• ค.ศ.1949–1950
ซูการ์โน
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ.1949–1950
โมฮัมมัด ฮัตตา
ประวัติศาสตร์ 
• ประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
27 ธันวาคม ค.ศ.1949
• ถูกเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
17 สิงหาคม ค.ศ.1950
สกุลเงินรูปียะฮ์ (IDR)
ก่อนหน้า
ถัดไป
อินโดนีเซีย
หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
อินโดนีเซีย

เบี้องหลัง แก้

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก และเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์[1] ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สองวันหลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้ ซูการ์โน ผู้นำชาตินิยมอินโดนีเซีย ได้ประกาศอิสรภาพ[2] ซึ่งทำให้พวกดัตช์ ตัดสินใจฟื้นฟูอำนาจของตนเอง[3] แต่อย่างไรก็ตาม กองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่คุมโดยลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน ซึ่งรับผิดชอบต่อบริเวณหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ปฏิเสธที่จะนำกองทัพดัตช์ลงไปที่ชวาและสุมาตรา และประกาศสถานะ โดยพฤตินัย ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม พวกดัตช์สามารถควบคุมบริเวณที่กองทัพเรือญี่ปุ่นเคยครองได้ โดยรวมไปถึงบอร์เนียวและตะวันออกใหญ่ การเจรจาระหว่างอังกฤษกับดัตช์มีผลต่อการรักษาการผู้ว่า-นายพลแห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออก

ฮูเบอร์ตุส ฟัน มูก (Hubertus van Mook) เสนอการตัดสินใจด้วยตนเองให้กับเครือจักรภพอินโดนีเซีย[4][5] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1946 ทางการดัตช์ได้จัดการประชุมมาลีโนที่เกาะซูลาเวซี ซึ่งประกอบด้วยสามเงื่อนไขหลัก คือสาธารณรัฐอินโดนีเซีย, รัฐบนเกาะบอร์เนียว และอีกรัฐที่อินโดนีเซียตะวันออก[6][7] จากนั้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน มีการจัดทำข้อตกลงลิงกัตจาตีที่ประกาศให้สาธารณรัฐอินโดนีเซียยอมรับกฎระเบียบของรัฐบาลกลางของอินโดนีเซีย[8][9] และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1946 การประชุมที่เดนปาซาร์ได้ทำให้เกิดการก่อตั้งของรัฐอินโดนีเซียตะวันออก และตามมาด้วยรัฐบอร์เนียวตะวันตกในปี ค.ศ. 1947[10]

สิ้นสุด แก้

ในเดือนมีนาคม และเมษายน ค.ศ.1950 รัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอินโดนีเซีย ยกเว้นสุมาตราตะวันออกและอินโดนีเซียตะวันออก ล้มเลิกตนเองให้กลายเป็นสาธารณรัฐ[11] จากวันที่ 3–5 พฤษภาคม การประชุมสามทางสิ้นสุดลงด้วยการรวมกันเป็นรัฐเดี่ยว[12] ในวันที่ 19 พฤษภาคม ได้มีการประกาศจากรัฐบาลสหรัฐอินโดนีเซียและสาธารณรัฐอินโดนีเซียว่า "...เห็นควรที่จะสร้างรัฐเดี่ยวจากการเปลี่ยนแปลงของสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่ประกาศไว้ ณ วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1945"[13]

สหรัฐอินโดนีเซียถูกล้มเลิกอย่างเป็นทางการโดยประธานาธิบดีซูการ์โนในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1950 – ซึ่งเป็นปีที่ 5 ของการประกาศเอกราช – และได้เปลี่ยนแปลงเป็นรัฐเดี่ยวแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย[14]

เขตการปกครอง แก้

 
สหรัฐอินโดนีเซีย เขตการปกครองของสหรัฐอินโดนีเซียเป็นสีแดง รัฐอินโดนีเซียตะวันออกเป็นสีทอง ในชื่อ เนอการาอินโดนีเซียติมูร์ รัฐอื่น ๆ เป็นสีน้ำเงิน. เขตปกครองตนเองเป็นสีขาว

สหรัฐอินโดนีเซียมีเขตการปกครองถึง 16 เขต โดยมี 7 รัฐ ที่รวมไปถึง "สาธารณรัฐอินโดนีเซีย" ซึ่งประกอบด้วยชวาและสุมาตรา (รวมประชากรได้มากกว่า 31 ล้านคน); และ 9 อดีตดินแดนที่ควบคุมโดยตรง (ดินแดนใหม่, ดัตช์: neo-landschappen) เขตปกครองตนองทั้งหมด ซึ่งมีประชากรระหว่าง 100,000 ถึง 11 ล้านคน ที่ก่อตั้งโดยพวกดัตช์[15][16][17]

ชื่อ ก่อตั้ง เมืองหลวง ถูกยุบ หมายเหตุ[18]
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 17 สิงหาคม ค.ศ.1945[19] ยกยาการ์ตา - -
รัฐ
อินโดนีเซียตะวันออก 24 ธันวาคม ค.ศ.1946[20] มากัซซาร์ 17 สิงหาคม ค.ศ.1950[21] รัฐที่อยู่ได้นานที่สุด
สุมาตราตะวันออก 25 ธันวาคม ค.ศ.1947[22][23] เมดัน 17 สิงหาคม ค.ศ.1950[21] เป็นรัฐสุดท้ายที่ถูกยุบ ร่วมกับอินโดนีเซียตะวันออก
มาดูรา 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1948[24] ปาเมกาซัน  9 มีนาคม ค.ศ.1950[11] รัฐ
ปาซุนดัน 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1948[24] บันดุง 11 มีนาคม ค.ศ.1950[11] รัฐ
สุมาตราใต้ 2 กันยายน ค.ศ.1948[24] ปาเล็มบัง 24 มีนาคม ค.ศ.1950[11]   รัฐ
ชวาตะวันออก 27 พฤศจิกายน ค.ศ.1948[24] ซูราบายา 9 มีนาคม ค.ศ.1950 [11]  รัฐ
เขตปกครองตนเอง
กาลีมันตันตะวันตก 12 พฤษภาคม ค.ศ.1947[8][25] ปนตียานัก 22 เมษายน ค.ศ.1950 [26]
กาลีมันตันตะวันออก 12 พฤษภาคม ค.ศ.1947[27] ซามารินดา 24 มีนาคม ค.ศ.1950[11] สหพันธ์
ดายักใหญ่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1947[27] บันจัรมาซิน 4 เมษายน ค.ศ.1950 [11] ดินแดนใหม่
บันจัร 14 มกราคม ค.ศ.1948[28] - 4 เมษายน ค.ศ.1950[11]
สหพันธรัฐกาลีมันตันตะวันออกเฉียงใต้ มีนาคม ค.ศ.1947[29] - 4 เมษายน ค.ศ.1950[11] สหพันธ์
บังกา กรกฎาคม ค.ศ.1947[30] - 4 เมษายน ค.ศ.1950[11] ดินแดนใหม่
เบอลีตุง กรกฎาคม ค.ศ.1947[30] - 4เมษายน ค.ศ.1950[11] ดินแดนใหม่
รีเยา กรกฎาคม ค.ศ.1947[30] - 4 เมษายน ค.ศ.1950[11] ดินแดนใหม่
ชวากลาง 2 มีนาคม ค.ศ.1949[31][note 1] เซอมารัง 9 มีนาคม ค.ศ.1950[11]   ไม่ทราบสถานะทางการเมือง
แคว้นอื่น ๆ
โกตาวารีงิน - - 4 เมษายน ค.ศ.1950[11] ชุมชนปกครองตนเอง
ปาดัง - - 9 มีนาคม ค.ศ.1950[11]   ชุมชนปกครองตนเอง
ซาบัง - - 9 มีนาคม ค.ศ.1950[11]   ชุมชนปกครองตนเอง
เขตสหพันธ์จาการ์ตา มิถุนายน ค.ศ.1948 [32] - 11 มีนาคม ค.ศ.1950[11] -
  1. Recognition by the Dutch authorities of the temporary representative bodySchiller 1955, p. 121

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Ricklefs 2008, p. 322.
  2. Ricklefs 2008, pp. 341–342.
  3. Ricklefs 2008, p. 344.
  4. Ricklefs 2008, p. 349.
  5. Reid 1974, pp. 104–105.
  6. Ricklefs 2008, pp. 358–360.
  7. Anak Agung 1995, p. 107.
  8. 8.0 8.1 Reid 1974, p. 100.
  9. Anak Agung 1995, p. 112.
  10. Ricklefs 2008, pp. 361–362.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 11.12 11.13 11.14 11.15 11.16 Simanjuntak 2003, pp. 99–100.
  12. Anak Agung 1995, p. 773.
  13. Anak Agung 1995, p. 786.
  14. Ricklefs 2008, pp. 373–374.
  15. Kahin 1970, p. 447.
  16. Cribb & Kahin 2004, p. 372.
  17. Cribb 2000, p. 170.
  18. Schiller 1955, p. 193.
  19. Schiller 1955, p. 182.
  20. Kahin 1952, p. 355.
  21. 21.0 21.1 Reid 1974, p. 165.
  22. Kahin 1952, p. 225.
  23. Reid 1974, p. 117.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Cribb 2000, p. 160.
  25. Schiller 1955, p. 183.
  26. Kahin 1952, p. 456.
  27. 27.0 27.1 Wehl 1948, p. 165.
  28. Schiller 1955, p. 103.
  29. Schiller 1955, p. 121.
  30. 30.0 30.1 30.2 Schiller 1955, p. 111.
  31. Schiller 1955, p. 192.
  32. Schiller 1955, p. 194.

สารานุกรม แก้

  • Cribb, Robert (2000). Historical Atlas of Indonesia. Curzon Press. ISBN 0-7007-0985-1.
  • Cribb, R.B; Kahin, Audrey (2004). Historical Dictionary of Indonesia. Scarecrow Press. ISBN 9780810849358.
  • Feith, Herbert (2008) [1962]. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. Singapore: Equininox Publishing (Asia) Pte Ltd. ISBN 978-979-3780-45-0.
  • Friend, Theodore (2003), Indonesian Destinies, Cambridge: Harvard University Press, ISBN 0-674-01834-6.
  • Ide Anak Agung Gde Agung (1996) [1995]. From the Formation of the State of East Indonesia Towards the Establishment of the United States of Indonesia. แปลโดย Owens, Linda. Yayasan Obor. ISBN 979-461-216-2.
  • Kahin, George McTurnan (1970), Nationalism and Revolution in Indonesia, Cornell University Press, ISBN 0-8014-9108-8.
  • Indrayana, Denny (2008), Indonesian Constitutional Reform 1999-2002, PT Gramedia, ISBN 978-979-709-394-5
  • Legge, J.D. (1964), Indonesia, Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Inc
  • Reid, Anthony (1981). "Indonesia: revolution without socialism". ใน Jeffrey, Robin (บ.ก.). Asia: the Winning of Independence. Macmillan. pp. 113–162. ISBN 9780333278574.
  • Reid, Anthony J.S (1974), The Indonesian National Revolution, 1945-1950, Hawthorn, Victoria, Australia: Longman, ISBN 0-582-71047-2
  • Ricklefs, M.C. (2008) [1981], A History of Modern Indonesia Since c. 1200 (4th ed.), Palgrave MacMillan, ISBN 978-0-230-54686-8
  • Schiller, A. Arthur (1955), The Formation of Federal Indonesia 1945-1949, The Hague: W. van Hoeve Ltd
  • Simanjuntak, P. N. H. (2003). Kabinet-Kabinet Republik Indonesia: Dari Awal Kemerdekaan Sampai Reformasi (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Djambatan. ISBN 979-428-499-8.