สวอนส์เป็นวงดนตรีเอกซ์เพอร์ริเมนทอลร็อก สัญชาติอเมริกันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 โดยนักร้องนักแต่งเพลงและนักดนดรีชื่อว่าไมเคิล จิรา วงนี้นับว่าเป็นวงดนตรีในเครือของกลุ่มดนตรีแนวโนเวฟไม่กี่วงที่ยังคงดำรงอยู่ได้เป็นเวลานาน และเป็นวงเดียวที่สามารถอยู่ได้นานถึงสามทศวรรษ วงนี้เป็นที่รู้จักจากการที่มีการพัฒนาดนตรีของดนเองไปในทิศทางต่าง ๆ ในหลายแนว เช่น นอยส์ร็อก โพสต์พังก์ อินดัสเทรียล และโพสต์ร็อก ในช่วงระยะแรกนั้น พวกเขาเป็นที่รู้จักในฐานะวงที่มีดนตรีอันเข้มข้นและรุนแรง และคำร้องที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังเผ่าพันธุ์มนุษย์ โดยในปี 1986 นักร้องหญิงชื่อว่าจาร์โบได้เข้ามาร่วมวง ทำให้แนวเพลงของวงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากโนเวฟมาเป็นกอทิกร็อก แล้วจากนั้นจึงกลายเป็นโพสต์พังก์และโพสต์ร็อก เธอได้กลายเป็นสมาชิกประจำของวงร่วมกับจิราและมือกีตาร์นอร์แมน เวสต์เบิร์กจนกระทั่งยุบวงในปี 1997 หลังจากที่มีการวางแผงอัลบั้มซาวด์แทร็กส์ทูเดอะไบลนด์

สวอนส์
การแสดงสดของวงที่วอร์ซอว์ในเดือนธันวาคม 2010. จากซ้ายไปขวา: คริสโตฟ ฮาห์น เล่นกีตาร์นั่งตัก ไมเคิล จิรา เล่นกีตาร์ ธอร์ แฮร์ริส เล่นเครื่องกระทบ คริสโตเฟอร์ พราฟดิกา เล่นเบส และนอร์แมน เวสต์เบิร์ก เล่นกีตาร์ ฟิล พูลีโอ เล่นกลองอยู่หลังกลองชุด
เว็บไซต์younggodrecords.com

ตั้งแต่ปี 1990 ผลงานทั้งหมดของสวอนส์ได้ถูกเผยแพร่โดยค่ายยังก็อดส์เรคอร์ดสที่จิราเป็นผู้ก่อตั้งเอง

ในปี 2010 จิราได้กลับมาตั้งวงใหม่โดยที่ไม่มีจาร์โบ พร้อมกับได้มีการจัดเดินสายแสดงสดไปทั่วโลก [1] โดยที่พวกเขาได้ออกอัลบั้มไปทั้งหมดสี่อัลบั้ม ซึ่งผลงานชุดไตรภาคอย่างเดอะเซียร์ (The Seer) ทูบีไคนด์ (To Be Kind) และเดอะโกลว์อิงแมน (The Glowing Man) ล้วนได้รับคำชื่นชมล้นหลาม โดยหลั งจากที่วงนั้นได้ถูกพักในปี 2017 ในปี 2019 จิราได้ออกอัลบั้มใหม่ ลีฟวิงมีนนิง

ประวัติ แก้

 
วงนี้ถูกก่อตั้งและนำโดยไมเคิล จิรา ที่ในภาพกำลังแสดงใน แคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี ในเดือนกันยายน 2012

ช่วงแรก (1982-1985) แก้

อิทธิพลเบื้องต้น แก้

ไมเคิล จิราได้กล่าวว่า "หงส์" คือคำที่จำกัดความของดนตรีที่เขาต้องการทำมากที่สุด [2] โดยเหตุผลว่า "หงส์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างที่งดงาม ที่มาด้วยนิสัยอันเกรี้ยวกราดรุนแรง "

สมาชิกรุ่นแรกของสวอนส์นั้นประกอบไปด้วยจิราเป็นมือเบสและร้องนำ โจนาธาน เคนเล่นกลอง ซู ฮาเนลเล่นกีตาร์ โมโจเล่นเครื่องกระทบ โดยในช่วงนี้วงยังมีมือเบสคนที่สองที่หมุนเวียนแยู่กับวงเป็นระยะสั้นๆ ได้แก่ แดน บรอวน์ จอน เทสส์เลอร์(เล่นเครื่องกระทบและลูปเทปด้วย)และเธอร์สตัน มัวร์ที่ต่อมาจะออกจากวงไปก่อตั้งวงโซนิกยูท [3] ผลงานชุดเดียวของวงที่มีฮาเนลอยู่ในรายชื่อผู้ร่วมสร้างสรรค์คือผลงานชุดรวมเพลง บอดีทูบอดี, จ็อบทูจ็อบ (Body to Body, Job to Job) แต่ทั้งนี้ ในอัลบั้มไม่ได้ระบุว่าเธอเล่นเพลงใด เคนได้กล่าวว่า "ซูเป็นนักกีตาร์ที่น่ากลัวที่สุดที่เราเคยได้พบเจอในนิวยอร์ก เธอเป็นคนที่น่าเหลือเชื่อสุดๆ " [4]

ในเวลาต่อมาฮาเนลได้ถูกแทนที่โดยบ็อบ เพซโซลา [5] ผู้และในช่วงนั้นก็ได้มีนักแซกโซโฟนชื่อแดเนียล กัลลี-ดัวนีจากวงอาวอง-การ์ดชื่อทรานส์มิชชันเข้ามาร่วมวงด้วย [5] ในปี 1982 สวอนส์ได้ออกผลงานอีพีชุดแรกที่ตั้งตามชื่อวง ซึ่งผลงานอีพีชุดนี้มีความแตกต่างทางด้านดนตรีจากผลงานในช่วงต่อๆ ไปของวง[5] โดยนักวิจารณ์ได้กล่าวว่าเสียงกีตาร์ที่เน้นหนักไปในการทำให้เสียงแตกทำให้นึกถึงวงโพสต์พังก์เช่นวงจอยดิวิชัน แต่ในเวลาต่อมา ดนตรีของวงก็ได้เปลี่ยนไปเป็นการเล่นคอร์ดแบบซ้ำไปซ้ำมาแบบบลูส์ ในขณะที่อิทธิพลของดนตรีแจ๊สและจังหวะอันแปลกประหลาดที่เป็นเอกลักษณ์ของดนตรีโนเวฟในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ก็ได้ค่อยๆ จางหายไปหลังจากมีการออกอัลบั้มชุดที่สอง ค็อป ในปี 1984

รูปแบบดนตรีในช่วงต้น แก้

เคนได้เปรียบเทียบสวอนส์กับตำนานบลูส์อย่างเชสเตอร์ เอร์เน็ตต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อฮาวลินวูลฟ์ [6] เพราะเพลงของพวกเขานั้นมักจะมีการตั้งฐานมาจากการเล่นริฟฟ์เพียงริฟฟ์เดียว [6] เพลงของเบอร์เน็ตต์บางเพลงโดยเฉพาะเพลงที่เบอร์เน็ตต์เขียนเองนั้นมีโครงสร้างและคุณภาพที่คล้ายคลึงกัน ดนตรีในช่วงแรกของพวกเขาถูกตรึงโดยเสียงกีตาร์ที่ช้าและกดดัน พร้อมกับการตีกลองที่ดุดันและหนักหน่วง และคำร้องที่น่ากลัว เต็มไปด้วยความเกลียดชังและรุนแรงของจิรา (ที่เขาได้รับแรงบันดาลใจจากฌอง เกเนต์และมาร์กี เดอ ซาด) ที่มักจะตะโกนหรือกระทั่งเหห่าในขณะทำหน้าที่นักร้องนำ นักวิจารณ์ได้กล่าวว่าดนตรีในช่วงแรกของสวอนส์นั้น "ก้าวร้าวเกินคำบรรยาย" [6]

ฟิลธ์ (Filth, 1983) คือสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของวง มีความโดดเด่นในการตีกลองที่"กัดกร่อน"และมักจะเปลี่ยนจังหวะอยู่บ่อยครั้ง ร่วมด้วยการเล่นดนตรีที่เหมือนกับการเล่นดนตรีเฮฟวีเมทัลในระดับความเร็วต่ำสุด[7] นักวิจารณ์บางคนได้กล่าวว่าสวอนส์เป็นเหมือน"สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในดนตรี" [7] ฟิลธ์ เป็นอัลบั้มชุดแรกที่มีนักกีตาร์นอร์แมนเวสต์เบิร์ก ผู้ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในวง และจะปรากฏในอัลบั้มสตูดิโอทุกอัลบั้มถนอกจากชุดเลิฟออฟไลฟ์ [7]

อัลบั้มชุดที่สองค็อป (Cop) และอีพียังก็อด (Young God)ถูกปล่อยออกมาในปี 1984 โดยเดิมที่นั้นยังก็อด ยังเป็นผลงานที่ไม่ได้มีการตั้งชื่อเอาไว้ ทำให้มีการตั้งชื่อกันเองในหมู่แฟนเพลง เช่น "ไอครอวล์ด (I Crawled)" หรือชื่ออันฉาวโฉ่อย่าง "เรปปิงอะสเลฟ (Raping A Slave)" อีพีชุดนี้มักจะถูกสับสนกับอัลบั้มชุดแรกของพวกเขา โดยค็อปยังคงความหนักหน่วงแบบที่ฟิลธ์เคยมี ในยุคนี้สวอนส์มีจิราร้องนำ เวสต์เบิร์กเล่นกีตาร์ แฮร์รี ครอสบีเล่นกีตาร์เบสร่วมกับจิรา และโรลี มอซิมันน์เล่นกลอง โดยในช่วงนี้ เสียงร้องของจิราได้เปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยได้ปรากฎการร้องแบบไพเราะและช้าลง แม้ว่าเสียงคำรามดุดันจะยังคงอยู่ก็ตาม บางเพลงในอีพีโดยเฉพาะ "ยังก็อด" และ "ไอครอวล์ด" ได้ปรากฎทำนองร้องไว้อยู่ ซึ่งในเวลาต่อมานั้นจะปรากฎมากขึ้นในผลงานในอนาคต

การแสดงสด แก้

หนึ่งในเครื่องหมายการค้าของช่วงแรก ๆ ของสวอนส์คือ การเล่นดนตรีด้วยเสียงดังสนั่นหวั่นไหว จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่มีตำรวจเข้ามาหยุดงานแสดงหลายครั้ง ตัวจิราเองก็มีชื่อเสียงอื้อฉาวจากการที่เขามักมีปัญหากับผู้ชมอยู่เป็นประจำ ดังเช่นการเหยียบนิ้วมือผู้ชมที่เกาะกับเวที หรือการดึงผมของผู้ชมที่ถูกจับได้ว่าโยกศีรษะขณะรับชม พฤติกรรมเช่นนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่จิราชิงชังในเวลาต่อมา [8] และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เจ้าตัวได้ตัดสินใจยุบวงในปี 1997 [9]

หลังจากที่มีการรวมวงกลับมาใหม่ จิราได้พยายามคงความเข้มข้นหนักแน่นในการแสดงของวง โดยได้กล่าวว่าการแสดงสดของสวอนส์นั้น "ทั้งยกระดับจิตวิญญาณและทำลายร่างกายในเวลาเดียวกัน" ทันที โดยบางครั้งเขาก็ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนที่วงจะแสดง และเปรียบเทียบประสบการณ์กับกระท่อมเหงื่อ (Sweat Lodge) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีไว้เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาของชาวอเมริกันกลุ่มแรก [10]

การเปลี่ยนแนวเพลง (1986-1988) แก้

ในปี 1986 นักร้องและมือคีย์บอร์ดหญิงชื่อจาร์โบได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกวง โดยเมื่ออัลบั้มชุดที่สามกรีด(Greed) [a]ได้ออกวางขาย การปรากฏตัวของเธอทำให้ดนตรีของวงเริ่มช้าลง และลดความโจ่งแจ้งในด้านความรุนแรงของเนื้อหา

กรีด ยังเป็นอัลบั้มแรกของมือเบสอัลจิส คีซิส ซึ่งต่อมาจะอยู่ในฐานะสมาชิกระยะยาวของวง อัลบั้มนี้ไม่ได้มีความโหดเหี้ยมหรือเสียงดังเหมือนผลงานชุดก่อน ๆ แต่ก็ยังถือว่าเป็นอัลบั้มที่น่าขนลุกและมืดมน ไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมา วงได้ล่อยอัลบั้มที่เป็นดั่ง "อัลบั้มแฝด" อย่างโฮลีมันนี (Holy Money) ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกที่จาร์โบมีเพลงร้องนำด้วย โฮลีมันนีเป็นอัลบั้มแรกของสวอนสฺ์ที่รวมองค์ประกอบอคูสติกเข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะเพลงความยาวแปดนาทีที่ชื่อว่า "อะนาเธอร์ยู (Another You)" และยังเป็นอัลบั้มแรกที่วงเริ่มใช้ ฮาร์โมนิกาแบบบลูส์ อัลบั้มนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเสนอธีมทางศาสนาในเพลง "อะแฮงกิง(A Hanging)" ที่มาพร้อมด้วยเสียงคล้ายกับกอสเปลของจาร์โบ

ผลงานชุดที่ห้า ชิลเดร็นออฟก็อด (Children of God, 1987) ขยายบทบาทของจาร์โบให้มากขึ้น โดยเธอทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้กับจิราในกาลเล่าเรื่องราวความทุกข์ทรมานทรมานและความอัปยศอดสู เนื้อหาในอัลบั้มนี้มักมีการกล่าวถึงและตีความศาสนาในด้านต่างๆ จิรากล่าวว่าเขาไม่ได้มีความตั้งใจทีจะเยาะเย้ยหรืออ้าแขนรับศาสนา แต่เขาสนใจในอำนาจที่มีจากคำกล่าวและความหน้าซื่อใจคดของผู้นำหลายคนในองค์กรศาสนามากกว่า [11]

บางเพลงเช่น "บิวติฟูลไชลด์ (Beautiful Child)" ยังคงรักษาสไตล์การร้องแบบยุคแรกเริ่ม แต่หลายเพลงในอัลบั้มนั้นเริ่มออกค่อนข้างเชื่องแล้ว ยกตัวอย่างเช่นเพลงบาโรกป็อป "อินมายการ์เด็น (In My Garden)" ยกระดับมิติพิเศษด้วยเปียโน (เคยใช้ก่อนหน้านี้บนเพลง "ฟูล (Fool)" และ "ซีลด์อินสกิน (Sealed in Skin)" เพื่อจุดประสงคืในการทำให้เพลงมืดมนขึ้น) และกีตาร์อะคูสติก เนื้อหาในอัลบั้มนี้มักเกี่ยวข้องกับเริ่มศาสนาหรือความรัก ดังเช่นในเพลง "เซ็กส์, ก็อด, เซ็กส์ (Sex, God, Sex)" (ที่มีเบสหนักเหมือนกับเพลงแนวเมทัล มีริฟฟ์แบบบลูส์และเสียงร้องแบบกอสเปล) "บลัดแอนด์ฮันนี (Blood and Honey)" ( เพลงบัลลาดที่มีกลิ่นแบบโพสต์ร็อคยุคต้น) และ "ไบลนด์เลิฟ (Blind Love)" (เพลงยาวที่มีการสลับกันระหว่างเสียงร้องไร้โทนของนักร้องกับดนตรีที่สื่อถึงความรุนแรง) จิราถือว่าอัลบั้มชุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวง[ต้องการอ้างอิง][ ต้องการอ้างอิง ]

ปีต่อ ๆ มา (1988-1997) แก้

หลังจากอัลบั้มชิลเดร็นออฟก็อด จิราประกาศตัวเองว่าเขาเบื่อกับภาพลักษณ์ของวง พร้อมกับแถลงว่าเขาไม่ต้องการเติมเต็มความคาดหวังที่ผู้ชมมีต่อเขาอีกแล้ง เขาได้ตัดสินใจครั้งสำคัญโดยการลดโทนอันหนักหน่วงของวง พร้อมกับนำองค์ประกอบทางเสียงอะคูสติกมากขึ้น และดันจาร์โบขึ้นมาในฐานะนักร้องร่วม ผลลัพธ์แรกของการเปลี่ยนแปลงในทิศทางนี้คืออัลบั้มสองชุดที่บันทึกโดย จิราและจาร์โบ ภายใต้ชื่อสกิน (ในยุโรป) และเวิลด์ออฟสกิน (ในสหรัฐอเมริกา) โดยในชุดแรกบลัด, วีเมน, โรเซส (Blood, Women Roses) ที่จาร์โบร้องนำและชุดที่สอง เชม, ฮิวมิลีที, รีเวนจ์ (Shame, Humility, Revenge) ที่จิราร้องนำ ทั้งคู่ถูกบันทึกเสียงด้วยกันในปี 1987 โดยที่อัลบั้มของจาร์โบออกวางแผงในปีเดียวกัน ส่วนอัลบั้มของจิรานั้นออกวางแผงในอีกหนึ่งปีให้หลัง อัลบั้มเหล่านี้เต็มไปด้วยเพลงช้าที่เศร้าหมอง ราวกับชิลเดร็นออฟก็อดในเวอร์ชันอะคูสติก

วงนี้ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยพวกเขาได้ออกซิงเกิลเพลงโคเวอร์ของเพลง "เลิฟวิลแทร์อัสอะพาร์ท (Love Will Tear Us Apart)" ของจอยดิวิชันในปี 1988 ในรูปแบบแผ่นซิงเกิลขนาด 7 และ 12 นิ้ว ทั้งจิราและจาร์โบนั้นร้องนำนักร้องในคนละเวอร์ชันของเพลง ในปีต่อ ๆ มา จิรากล่าวว่าการตัดสินใจนี้นับว่าเป็นเป็นความผิดพลาด และปฏิเสธที่จะปล่อยเวอร์ชันเสียงร้องของเขาเองเป็นเวลานาน ในขณะที่เวอร์ชันของจาร์โบจะถูกปล่อยอีกครั้งเร็วกว่ามาก อย่างไรก็ตามเพลงของพวกเขาได้รับความนิยมในรายการวิทยุของวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาในปี 1988 ซึ่งนำไปสู่การยื่นข้อเสนอจากค่ายใหญ่อย่างค่ายยูนิเรคอร์ดส ค่ายย่อยของค่ายเอ็มซีเอเรคอรดส์ "ผมทำงานหนักมาตลอดชีวิต" จิราพูด "ตอนผมอายุ 15 ผมยังขุดคูในทะเลทรายในอิสราเอล ผมยังแค่ทำงานพิเศษในชมรมมหาวิทยาลัย ผมไม่เคยเห็นก้อนเงินใด ๆ จากค่ายของเราเคยอยู่ ดังนั้นในที่สุดเมื่อผมเห็นแครอทที่ห้อยอยู่ข้างหน้าผทมันก็เหมือนกับ 'ในที่สุดเราก็สามารถหาเลี้ยงชีพได้ในสิ่งที่เราชอบทำซะที' "[12]

หลังจากซิลเกิลโคเวอร์ สวอนส์ก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่หก เดอะเบิร์นนิงเวิลด์(The Buring World, 1989) ซึ่งเป็นอัลบั้มเพลงชุดแรกและอัลบั้มเดียวของสวอนส์ที่วางจำหน่ายโดยค่ายดนตรีใหญ่ อัลบั้มนี้อำนวยการสร้างโดยบิล ลาสเวลล์ โดยได้มีการเพิ่มส่วนอะคูสติกที่เริ่มปรากฏในกรีดและชิลเดร็นออฟก็อด โดยสมาชิกหลักทั้งจิรา จาร์โบและเวสต์เบิร์กได้รับการเติมแต่งโดยนักดนตรีเสริมอีกหลายคน และองค์ประกอบกีต้าร์อันหนักหน่วงที่โดดเด่นของงานก่อนหน้าของพวกเขาก็ได้ถูกลดลงอย่างมีนัยสำคัญเพื่อให้ที่แก่ดนตรีโฟล์กและเวิลด์มิวสิก แม้ว่าสวอนส์จะทำเพลงอะคูสติกที่มีอารมณ์คล้ายกันมากขึ้นในภายหลัง จิราได้กล่าวว่าในขณะที่เขาชื่นชมงานของลาสเวลล์มาก แต่ความพยายามของเขากับสวอนส์นั้นไม่อาจเข้ากันได้เลย มีรายงานว่าอัลบั้มนี้ขายได้เพียง 5,000 ชุดในสหราชอาณาจักร ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มียอดขายที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของค่ายเอ็มซีเอ และไม่นานหลังจากนั้น วงได้ถูกยกเลิกสัญญาและอัลบั้มก็ถูกถอดออกจากแผงขายของค่าย

เดอะเบิร์นนิงเวิลด์ เป็นอัลบั้มแรกของสวอนส์ที่มีท่วงทำนองป็อปแบบดั้งเดิมมากกว่าชุดอื่นๆ เนื้อเพลงของจิรายังคงอยู่ในธีมของภาวะซึมเศร้า ความตาย ความโลภและความสิ้นหวัง แต่เขาเริ่มที่จะร้องมากกว่าบรรยายหรือตะโกนตามแบบฉบับของผลงานชุดก่อนหน้านี้ พวกเขายังได้โคเวอร์เพลง "คานท์ไฟนด์มายเวย์โฮม (Can't Find My Way Home)" ของวงไบลนด์เฟธ

ในปี 1990 จิราและจาร์โบได้ออกอัลบั้มชุดที่สามและสุดท้าย ของเวิลด์ออฟสกินในชื่อ เท็นซองส์ออฟอนาเธอร์เวิลด์ (Ten Songs for Another World) แต่ประสบความสำเร็จน้อยกว่าอัลบั้ม สกินสองอัลบั้มก่อนหน้า

หลังจากที่จิราหมดศรัทธากับการแสวงหาผลประโยชน์จาก ค่ายใหญ่ เขาได้ก่อตั้งค่ายเพลงอิสระของตัวเองในชื่อ ยังก็อดเรคอร์ดส (Young God Records) ในปี 1990 จากนั้นวงของเขาได้ออกอัลบั้มชุดใหม่ ไวท์ไลท์ฟรอมเดอะเมาท์ออฟอินฟินิตี (White Light from the Mouth of Infinity, 1991) ซึ่งได้กลายเป็นการผสมผสานที่ประสบความสำเร็จของฮาร์ดร็อกและโพสต์พังก์ในยุคก่อนหน้านี้และสไตล์ป็อปในภายหลัง อัลบั้มนี้กลับมาผลิตโดยจิราอีกครั้ง อัลบั้มนี้ผสมผสานอคูสติกร็อก บลูส์ และเสียงกีตาร์แบบไซคีเดลิกอย่างประสบความสำเร็จ ทำให้อัลบั้มมีความซับซ้อนมากกว่าสิ่งผลงานที่พวกเขาเคยปล่อยในอดีต อัลบั้มนี้ตามมาด้วย เลิฟออฟไลฟ์ (Love of Live, บันทึกโดย มาร์ติน บิซี ในปี 1992) จากนั้นอีพีชุดเลิฟออฟไลฟ์/แอมนีเซีย (Love of Life/Amnesia) ก็ยิ่งมีการใส่ทดลองในดนตรีให้มากขึ้น และอัลบั้ม เดอะเกรทแอนไนฮิเลเตอร์ (The Great Annihilater, 1995) ถือว่าเป็นผลงานที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดชุดหนึ่ง การเขียนดนตรีและคำร้องในชุดนี้เริ่มออกไปในทางที่ตรงไปตรงมามากขึ้น อย่างไรก็ตามสไตล์การแต่งเพลงและดนตรีของพวกเขาจะยิ่งเปลี่ยนไปอย่างแปลกประหลาดในปีต่อมา

 
ภาพการแสดงสดของวงสวอนส์ที่รวมวงกลับมาใหม่ในทาลลินน์ เดือนพฤษภาคม 2011 จากซ้ายไปขวา: คริสโตฟ ฮาห์น ธอร์ แฮร์ริส ฟิล พูลีโอ (หลังกลองชุด) จิรา คริส พราฟดิกา และนอร์แมน เวสต์เบิร์ก

แยกวง แก้

ด้วยเหตุผลเรื่องเวลาและความต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานกับคนกลุ่มอื่น จิราตัดสินใจที่จะยุบวงด้วยอัลบั้มสตูดิโออัลบั้มและทัวร์รอบโลกครั้งสุดท้าย ซาวด์แทร็กสฟอร์เดอะไบลนด์ (Soundtracks for the Blind, 1996) เป็นอัลบั้มคู่ที่มีการบันทึกภาคสนามของจาร์โบ เพลงทดลอง ซาวด์สเคปแบบดาร์กแอมเบียนท์ อินดัสเทรียล มหากาพย์โพสต์ร็อค และเสียงกีตาร์อะคูสติก อัลบั้มนี้มีแนวคิดว่าเป็นเหมือน "อัลบั้มประกอบภาพยนตร์ที่ไม่มีอยู่จริง เป็นดั่งภาพยนตร์สำหรับผู้พิการทางสายตา"

ซาวด์แทร็กสฟอร์เดอะไบลนด์ ได้รับการยกย่องจากหลายสำนักให้เป็นผลงานที่ดีที่สุดของวง และอยู่ในรายชื่ออัลบั้มที่ดีที่สุดของทศวรรษ 1990 หรือแม่กระทั้่งในรายชื่ออัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[13][14] ณ เดือนมิถุนายน 2020 อัลบั้มนี้ได้รับการจัดอันดับที่ 94 จากเว็บไวต์เรตยัวร์มิวสิก ในการจัดอันดับอัลบั้มที่ดีที่สุดตลอดกาล[15]

ในปี 1998 อัลบั้มแสดงสดสวอนส์อาร์เดด (Swans Are Dead) ได้รับการปล่อยตัว อัลบั้มนี้ประกอบด้วยการบันทึกสดจากทัวร์ของพวกเขาในปี 1995 และ 1997 ในการให้สัมภาษณ์ จิราเปิดเผยว่ามีเนื้อหาสดเพิ่มเติมที่อาจมีการเปิดตัวในอนาคต เขาอธิบายว่าการบันทึกอาคิโอะเหล่านี้เป็น "ค่อนข้างมหัศจรรย์" [16]

ช่วงหลังจากแยกวง และการกลับมารวมวงใหม่ (2540- ปัจจุบัน) แก้

หลังจากที่สวอนส์แยกวง จิราได้ก่อตั้งวงโฟล์กร็อกชื่อเอนเจิลสออฟไลท์ พร้อมกับทำงานต่อกับค่ายยังก็อดต่อไป ในขณะที่จาร์โบแยกไปทำงานเดี่ยวของเธอ

ในเดือนมกราคม 2010 การกลับมารวมวงของสวอนส์ได้รับการประกาศด้วยเพลงใหม่ที่โพสต์บนบัญชีมายสเปซของค่ายยังก็อด และได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากการโพสต์ในบัญชีเฟซบุคและมายสเปซของค่าย [17] โดยจิราตัดสินใจที่จะรวมวงใหม่มาตั้งแต่เมื่อยังอยู่กับวงเอินเจิลสออฟไลท์เมื่อห้าปีก่อน โดยในเพลง "เดอะโพรไวเดอร์ (The Provider)" ที่ทำร่วมกับวงแอครอนแฟมิลี เขารู้สีกว่าในตอนที่เขากำลังเล่นคอร์ดซ้ำไปซ้ำมา ราวกับกำลัง"เล่นบนเรือขนทาส" เขารู้สึกอย่างแรงกล้าที่จะกลับมารวมวงอีกครั้งเพราะ "ผมยังจำประสบการณ์นั้นได้ว่ามันฮึกเหิมและหนักหน่วงขนาดไหน"[18]

ในเวลาต่อมา จิราได้ประกาศว่าสามชิกของสวอนส์ยุคใหม่จะประกอบไปด้วยสมาชิกเก่าอย่างจิรา เวตส์เบิร์ก และมือกลองฟิล พูลีโอ พร้อมกับสมาชิกใหม่อย่างมือเบสคริสโตเฟอร์ พราฟดิกา มือกีตาร์นั่งตักคริสโตฟ ฮาห์น และมือเพอร์คัสชันธอร์ แฮร์ริส

เพื่อช่วยหาเงินบริจาคให้กับการทำอัลบั้มใหม่ที่กำลังจะมาถึง จิราได้ออกอัลบั้มเดี่ยวใหม่ ไอแอมน็อทอินเซน(I Am Not Insane) ผ่านทางเว็บไซต์ของค่าย [19] แอลเอเอสแมกาซีนได้ลงบทความเรื่อง "เริ่มต้นงานศิลปะของฉัน (Kickstart My Art)" มีเนื้อความหลักว่า "ในอุตสาหกรรมดนตรี หากเงินสดไม่เพียงพอต่อการจัดหาเงินทุนของค่ายเพลง ทางเลือกที่พวกเขามีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก: แค่เอาเงินทุนจากแฟนเพลงเพื่อสนับสนุนโปรเจ็กต์ แล้วให้สินค้าลิมิเต็ดและความรู้สึกของการมีส่วนร่วมเป็นการแลกเปลี่ยน" โดยอ้างถึงการขายอัลบั้มไอแอมน็อทอินเซน 1,000 ชุดที่ลงลายเซ็นและติดหมายเลข โดยกล่าวว่านี่เป็นตัวอย่างของในการจัดหาเงินทุนในการสร้างผลงานชุดใหม่จากศิลปินที่ไม่ได้มาจากค่ายใหญ่ [20]

 
จิราแสดงร่วมกับสวอนส์ในเทศกาลออฟเฟสติวัล ในปี 2012

จากนั้นสวอนส์ได้ออกเดินทางแสดงสดไปทั่วทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ [21] และพาดหัวในเทศกาลซูเปอร์โซนิคในเบอร์มิงแฮม เมื่อเดือนตุลาคม 2553 ใน สวอนส์ได้ออกอัลบั้มชุดแรกหลังจากกลับมารวมวงในชื่อ มายฟาเธอร์วิลไกด์มีอัพอะโรปทูเดอะสกาย (My Father Will Guide Me up a Rope to the Sky) ในวันที่ 23 กันยายน 2553 พร้อมกับประกาศการทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกเป็นเวลาสิบแปดเดือน [22] วงนี้ได้รับเลือกจากวงพอร์ทิชเชดให้มาแสดงในงานเทศกาลที่พอร์ทิชเชดเป็นผู้จัด ในเดือนกรกฎาคม 2011 ที่อเล็กซานดราพาเลซ กรุงลอนดอน และในเดือนกันยายน 2011 ที่แอสบิวรีพาร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์

ในปี 2012 สวอนเปิดตัวอัลบั้มสดวีโรสฟรอมยัวร์เบดวิธเดอะซันอินเอาวร์เฮด (We Rose from Your Bed with the Sun in Our Head) ซึ่งมีผลงานที่คัดมาจากทัวร์ในปี 2010-2011 เพื่อสนับสนุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการบันทึกสำหรับอัลบั้มชุดที่สิบสอง เดอะเซียร์ (The Seer) [23] วีโรส ... ออกขายเป็นงานแฮนด์เมดที่มีจำนวนจำกัดจำนวน 1,000 ชุด และได้เปิดตัวอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2012 ในรูปแบบดิจิแพ็คแบบหรูหรา ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2013 จิราประกาศอัลบั้มใหม่ทำด้วยมือในแบบเดียวกับ ไอแอมน็อทอินเซน และ วีโรส ... มีชื่อว่าน็อตเฮียร์/น็อตนาว (Not Here / Not Now) อัลบั้มถูกประกาศวางขายในวันที่ 14 ตุลาคม 2013 ในเวลาต่อมา วงได้ประกาศอัลบั้มชุดใหม่ในชื่อ ทูบีไคนด์ (To Be Kind) พร้อมกับมีโปรดิวเซอร์เจ้าของรางวัลแกรมมีอย่างจอห์น คอนเกิลตันมาร่วมงาน [24] [25]

ในปี 2014 วงได้ประกาศร่วมกับค่ายมิวท์เรคอร์ดสในการร่วมจัดทัวร์แสดงสดนอกทวีปอเมริกาเหนือ

ในปี 2014 ทั้งเดอะเซียร์ และทูบีไคนด์ได้รับการจัดอันดับในรายการ 100 อัลบัมของทศวรรษจนถึงปี 2010-2014 ของพิตช์ฟอร์กเดอะเซียร์อยู่อันดับที่ 17 และทูบีไคนด์อยู่ในอันดับที่ 85 [26]

วงประกาศเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2015 ว่าพวกเขาจะบันทึกสตูดิโออัลบั้มที่สิบสี่ของพวกเขาในเดือนกันยายน 2015 และพวกเขายังปล่อยอัลบั้มจัดหาทุนที่ชื่อว่า เดอะเกต (The Gate )[27] เช่นเดียวกับอัลบั้มยุคหลังรวมวงสามชุดก่อนหน้านี้ [28] เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2016 วงดนตรีได้ประกาศอลับั้มใหม่ในชื่อ เดอะโกลว์อิงแมน (The Glowing Man) พร้อมกับนำเพลงตัดความยาวสองาทีากเพลงไตเติ้ยความีาวย่สิบเก้านาที อัลบั้มเปิดตัวเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2016 โดยค่ายยังก็อดและมิวท์ [29] และเป็นอัลบั้มสุดท้ายของสวอนส์ที่วางจำหน่ายภายใต้กลุ่มสมาชิกประจำ แม้ว่าจิรา จะยังคงบันทึกเพลงสวอนส์ด้วย "นักดนตรีหมุนเวียน" [27] [30]

การจุติครั้งสุดท้ายของวงนี้ได้ประกาศออกอัลบั้มแสดงสด เดลิเควสเซนส์ (Deliquescence) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม โดยออกวางขายเฉพาะแผ่นซีดีจำนวนจำกัด 3,000 แผ่นเท่านั้น โดยอัลบั้มนี้มีเพียง 3 แทร็กที่ก่อนหน้านี้เล่นสด ในขณะที่แทร็กอื่น ๆล้วนเป็นเพลงที่นำมาแสดงครั้งแรกหรือประพันธ์มาใหม่ทั้งสิ้น [31]

แฟนเพลงและนักวิจารณ์หลายคนนิยมเรียกเดอะเซียร์ ทูบีไคนด์และเดอะโกลว์อิงแมนว่าเป็นส่วนของไตรภาค เพราะเป็นผลงานแนวเอกซ์เพอริเมนทอลร็อกเหมือนกัน เป็นผลงานที่มีความยาวถึงสองชั่วโมงทั้งสิ้น และทั้งหมดล้วนได้รับคำชื่นชมและความนิยมเป็นอย่างมากในอินเทอร์เน็ต [32][33][34]

การหยุดพักในปี 2018 และกลุ่มสมาชิกหมุนเวียน แก้

หลังจากหยุดพักนานเกือบหนึ่งปีจากสวอนส์ จิราได้ประกาศทัวร์สั้น ๆ เกี่ยวกับผลงานใหม่ของวงโดยแสดงสดไปตามแนวชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเริ่มต้นในเดือนกันยายน 2018 พร้อมกับมือกีตาร์นอร์แมน เวสต์เบิร์ก พร้อมการบันทึกอัลบั้มใหม่ที่เบอร์ลิน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 [35] อัลบั้มที่ชุดที่สิบห้าของวง ได้ถูกนำร่อง โดยอัลบั้มจัดหาทุนอีกชุดอย่าง ว็อทอิสดิส? (What Is This? ) โดยวางจำหน่ายในเดือนมีนาคม 2019 [36] หลังจากนั้น ได้มีการโพสต์อัปเดตระหว่างมิถุนายนและสิงหาคม 2019 ที่ยืนยันว่าจะมีการบันทึกอัลบั้มเต็มและมิกซ์เพลง [37] [38] ในวันที่ 5 กันยายน อัลบั้มได้รัการประกาศชื่อว่า ลีฟวิงมีนนิง (Leaving Meaning) และเพลงชื่อ "อิสต์คัมมิงอิตสเรียล (It's Coming It 's Real)" [39] ตัวอัลบั้มเองได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม

ในทัวร์ครั้งล่าสุด ได้มีการประกศให้ แลร์รี มัลลินส์ และมือเบสโยโย รอหม์ เป็นสมาชิกเดินสาย [40]

สไตล์ดนตรีและอิทธิพล แก้

 
จิราแสดงร่วมกับสวอนส์ที่สไตลัส มหาวิทยาลัยลีดส์ ในเดือนเมษายน 2013

ดนตรีของสวอนส์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่โดยทั่วไปดนตรีของพวกเขามักจะมืดมน [41] [42] และ "สื่อถึงวันสิ้นโลก", [43] และมักจะมุ่งเน้นไปที่รูปแบบของอำนาจ ศาสนา เพศ และความตาย [44] โดยมักจะมีการทดลองสิ่งใหม่ๆ ในดนตรีของพวกเขาอยู่เสมอ [45] นิตยสารสปินได้กล่าวว่า วงนี้แสดงให้เห็นถึง "ความสามารถในการถ่ายทอดความรุนแรงอันไร้สาระของสภาพมนุษย์ให้เป็นดนตรีที่น่าตื่นเต้นและรุนแรงในเวลาเดียวกันอย่างไม่มีใครเทียบได้" [46]

ผลงานในช่วงแรกของพวกเขาหยั่งรากในดนตรีโนเวฟที่กำลังจางหายจากมหานครนิวยอร์ก[47] ดนตรีของวงได้รับชื่อเสียงจากการที่พวกเขาเล่นดนตรีไปด้วยความก้าวร้าวอย่างยิ่ง ซึ่งไมเคิล จิราได้กล่าววาพวกเขากำลังพยายาม "ถอดองค์ประกอบสำคัญของสิ่งที่เราพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีร็อก" [48] เดอะการ์เดียน กล่าวว่า "เป็นดนตรีที่จังหวะที่เน้นจังหวะรุนแรงสั่นไหวที่กระจายในหลายแนวเพลง ทั้งโพสต์พังก์ อินดัสเทรียล ดูมเมทัล อาวองมินิมัลลิซึมและ บลูส์; ซึ่งก็มักจะเข้ากับคำร้องที่เน้นในแนวคิดสูญนิยม การต่อต้านแนวคิดการมีลูก และอัตถิภาวนิยม ... ที่ถูกร่ายออกมาราวกับว่าตนเป็นศาสนพยากรณ์ " [49] ดนตรีในช่วงนี้เป็นการผสมผสานของดนตรีอินดัสเทรียล [50] และนอยส์ร็อก [51] เชื่อกันว่าดนตรีของวงนี้มีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของไกรนด์คอร์และสลัดจ์เมทัล [52] ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 ดนตรีของสวอนส์ได้เริ่มรวมองค์ประกอบที่ไพเราะและสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่การเปิดตัวของจาร์โบในฐานะนักแต่งเพลงในอัลบั้มชิลเดร็นออฟก็อดในปี 1987 [53] ในขณะเดียวกันก็ยังการรักษาความไม่ประสมสอดคล้องกันอยู่ จากนั้นพวกเขายังได้พัฒนาดนตรีไปยังแนวเพลงต่าง ๆ เช่น โพสต์พังก์ [54] โกธิคร็อก นีโอโฟล์ก ไซเคเดลิกร็อก และอาร์ตร็อก อัลบั้มสุดท้ายของพวกเขาก่อนที่จะยุบวงอย่างซาวด์แทร็กสฟอร์เดอะไบลนด์ เป็น อัลบั้มคู่ที่เน้นบรรยากาศแบบแนวโพสต์ร็อก [41] [44] โดรน [55] และดาร์กแอมเบียนต์ [55] นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นใหม่ในปี 2010 พวกเขายังคงเล่นดนตรีโพสต์ร็อค พร้อมกับโดรนและนอยส์ร็อก อัลบั้มคู่สามอัลบั้มของพวกเขา(เดอะเซียร์ ทูบีไคนด์และเดอะโกลว์อิงแมน)ได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง โดยผลงานในช่วงนี้มักจะมีผลงานเพลงที่มีความซับซ้อน เน้นบรรยากาศและมีความยาวมาก โดยบางเพลงในยุคนี้อาจมีความยาวถึงยี่สิบถึงสามสิบนาที[56]

สวอนส์ได้รับการยอมรับว่าเปธิพลต่อวงเอกซ์ตรีมเมทัลหลายวงและนักดนตรีร็อกหลายคน ดังเช่นสมาชิกของวง นาปาล์มเดธ [57] ก็อดเฟล็ช [58] เมลวินส์ [59]นิวรอซิส[60] เนอร์วานา [61] ทูล [62] มายดายอิงไบรด์ [63] เลวีอาธาน [64] วีกกลิง [65] คาเนท[66] ลิทูร์จี [67] เทรโพเนมพาล [68] และคาร์ซีทเฮดเรสท์ [69]

สมาชิก แก้

ธอร์ แฮร์ริส (หลังจิรา)
นอร์แมน เวสต์เบิร์ก
ฟิล พูลีโอ
คริสโตเฟอร์ พราฟดิกา
จาร์โบ

ปัจจุบัน แก้

สมาชิกเดินสาย แก้

อดีตสมาชิก แก้


เส้นเวลา แก้

ผลงาน แก้

สตูดิโออัลบั้ม

หมายเหตุ แก้

  1. Jarboe's first official recording with the band was on the Time is Money (Bastard) 12-inch, credited simply with "scream" (specifically at the start of the title track). By the time the track was recorded in the summer of 1985, she had already been in the band for about a month. Her first released tracks as lead vocalist and keyboardist for the band were on "You Need Me" on Holy Money and "Blackmail", a B-side from the A Screw 12". They both appear on the original CD version of Holy Money and the Greed/Holy Money compilation, while a minimal version of the latter appears on Children of God.


อ่านเพิ่มเติม แก้

  • Neal, Charles, ed. (1987). Tape Delay: Confessions from the Eighties Underground. SAF Publishing Ltd. pp. 93–103. ISBN 978-0-946719-02-0 – via the Internet Archive.CS1 maint: ref=harv (link)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  2. http://www.flowersinagun.com/interview-with-michael-gira-from-swans/
  3. https://www.allmusic.com/artist/swans-mn0000034988/biography
  4. https://younggodrecords.com/blogs/press/13026405-jonathan-kane-and-swans
  5. 5.0 5.1 5.2 https://www.telegraph.co.uk/culture/books/non_fictionreviews/3670741/Nobody-knows-No-Wave.html
  6. 6.0 6.1 6.2 https://www.allmusic.com/album/greed-mw0001883300
  7. 7.0 7.1 7.2 https://www.allmusic.com/album/filth-mw0000691039
  8. https://web.archive.org/web/20150602061923/http://swans.pair.com/PRESS/int_sec.html
  9. https://web.archive.org/web/20121128143042/http://swans.pair.com/PRESS/art_CMJ.html
  10. https://web.archive.org/web/20110110212348/http://crasierfrane.com/interviews/michael-gira
  11. https://web.archive.org/web/20030304044336/http://www.webinfo.co.uk/crackedmachine/swans.htm
  12. https://www.mojo4music.com/articles/1945/mojo-issue-208-march-2011/
  13. url=http://www.netcomuk.co.uk/~tewing/ned/n75.html
  14. https://web.archive.org/web/20040305065338/http://www.netcomuk.co.uk/~tewing/ned/n75.html
  15. https://rateyourmusic.com/customchart
  16. https://web.archive.org/web/20110716112208/http://www.soundsect.com/feature.php?id=12
  17. https://www.facebook.com/mgira#/notes/young-god-records/coming-soon-new-swans-album-and-tours/245702146147
  18. https://www.newyorker.com/magazine/2010/11/01/swans-way-sasha-frere-jones
  19. https://www.facebook.com/notes/young-god-records/coming-soon-new-swans-album-and-tours/245702146147
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  22. https://www.newyorker.com/magazine/2010/11/01/swans-way-sasha-frere-jones
  23. https://younggodrecords.com/collections/frontpage/products/swans-we-rose-from-your-bed-with-the-sun-in-our-head-handmade-live-2cd-sold-out
  24. https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10152067807436978&id=13879391977
  25. https://consequenceofsound.net/2013/06/swans-announce-plans-for-new-album/
  26. https://pitchfork.com/features/lists-and-guides/9465-the-100-best-albums-of-the-decade-so-far-2010-2014/
  27. 27.0 27.1 https://www.facebook.com/SwansOfficial/photos/a.487755361977.266239.13879391977/10154034056451978/?type=1&theater
  28. https://www.facebook.com/SwansOfficial/photos/a.487755361977.266239.13879391977/10153779357881978/?type=1&theater
  29. https://pitchfork.com/news/64268-swans-announce-new-album-the-glowing-man-share-title-track-listen/[ลิงก์เสีย]
  30. https://younggodrecords.com/products/the-glowing-man
  31. https://younggodrecords.com/collections/frontpage/products/deliquescence
  32. https://rateyourmusic.com/release/album/swans/the-seer/
  33. https://rateyourmusic.com/release/album/swans/to-be-kind-2/
  34. https://rateyourmusic.com/release/album/swans/the-glowing-man/
  35. https://younggodrecords.com/blogs/news/m-gira-solo-tour-usa-and-more
  36. https://younggodrecords.com/products/what-is-this
  37. https://www.facebook.com/mgira/posts/10205970051527115
  38. https://www.facebook.com/mgira/videos/10205866009366126/?permPage=1
  39. https://www.spin.com/2019/09/swans-album-leaving-meaning-its-coming-its-real/
  40. https://rockandrollglobe.com/psychedelics/swans-leaving-meaning-interview/
  41. 41.0 41.1 https://www.treblezine.com/beginners-guide-swans/
  42. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  43. https://www.theguardian.com/music/2013/apr/05/swans-review
  44. 44.0 44.1 https://www.stereogum.com/1197001/swans-albums-from-worst-to-best/
  45. https://www.rollingstone.com/music/music-lists/20-rock-albums-turning-20-in-2016-163911/sublime-sublime-145838/
  46. https://www.spin.com/2016/06/review-swans-the-glowing-man/
  47. https://www.factmag.com/2014/03/10/a-beginners-guide-to-no-wave/
  48. https://louderthanwar.com/swans-in-depth-interview-with-michael-gira/
  49. https://www.theguardian.com/music/2015/dec/04/enduring-love-why-swans-are-more-vital-now-than-ever
  50. Reynolds, Simon (2005). Rip It Up and Start Again: Postpunk 1978–1984. (Page 487) London: Faber and Faber. ISBN 0-571-21569-6
  51. https://www.allmusic.com/style/noise-rock-ma0000004455
  52. https://www.loudersound.com/features/the-10-essential-sludge-metal-albums
  53. https://www.allmusic.com/artist/swans-mn0000034988/biography
  54. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  55. 55.0 55.1 http://magnetmagazine.com/2016/08/16/magnet-classics-the-making-of-swans-soundtracks-for-the-blind/
  56. https://pitchfork.com/reviews/albums/21994-the-glowing-man/
  57. http://askearache.blogspot.com/2010/04/napalm-deaths-tributescovers-of-other.html
  58. https://www.vice.com/en_us/article/6vajmr/justin-broadrick-on-the-secret-history-of-godflesh
  59. http://www.markprindle.com/kingbuzzo-i.htm
  60. https://www.theguardian.com/music/musicblog/2016/nov/03/neurosis-crass-bands-anarcho-punk-steve-von-till
  61. https://www.kerrang.com/features/kurt-cobains-50-favourite-albums/
  62. https://consequenceofsound.net/2016/10/maynard-james-keenan-details-how-tool-and-rage-against-the-machine-formed-in-new-biography/
  63. http://www.releasemagazine.net/Spotlight/spotlightmydyingbride.htm
  64. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  65. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  66. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-08. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  67. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-08. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  68. http://www.leseternels.net/interviews.aspx?id=152
  69. https://www.whatthesound.com/interviews/car-seat-headrest/