สมเด็จพระราชินีเกซัง โชเดน

สมเด็จพระอัยยิกาเกซัง โชเดน[1] (พระราชสมภพ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2473) เป็นสมเด็จพระอัยยิกาในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก[2] และเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี วังชุก และเป็นเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าเพียงพระองค์เดียวของโลกยุคปัจจุบัน[3]

เกซัง โชเดน วังชุก
สมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน
ดำรงพระยศ30 มีนาคม 2495 – 21 กรกฎาคม 2515
พระราชสมภพ21 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 (93 ปี)
กาลิมปง ประเทศอินเดีย
พระราชสวามีสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี
พระราชบุตรเจ้าหญิงโซนัม โชเดน
เจ้าหญิงเดเชน วังโม
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย
เจ้าหญิงเพมา ลาเดน
เจ้าหญิงเกซัง วังโม
ราชวงศ์วังชุก
พระราชบิดาโซนัม ต็อบกเย ดอร์จี
พระราชมารดามายึม โชยิง วังโม ดอร์จี
ศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน

พระราชประวัติ แก้

สมเด็จพระอัยยิกาเกซัง โชเดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เป็นธิดาของโซนัม ต็อบกเย ดอร์จี กับมายึม โชยิง วังโม ดอร์จี พระราชชนกเป็นนายกรัฐมนตรีภูฏาน และมาจากตระกูลดอร์จีซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ของภูฏาน ส่วนพระราชชนนีเป็นพระธิดาของมหาราชาแห่งรัฐสิกขิม มีพระพี่น้องเป็นชายสามคนและเป็นหญิงอีกหนึ่งคน ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนักบุญยอแซฟคอนแวนต์ที่กาลิมปง ประเทศอินเดีย

พระองค์อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน ณ พระราชวังอุกเยนเพลรีในเมืองพาโร เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 หลังกษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคต พระสวามีขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ก็ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน หลังจากนั้นไม่ช้านานก็ให้ประสูติการพระราชธิดา โดยมีสมเด็จพระราชินีพุนโซ โชเดน พระราชินีในรัชกาลก่อน คนรับใช้ และแพทย์ชาวภูฏานคอยถวายการพยาบาลพระราชธิดานี้[4]

พระราชกรณียกิจ แก้

สมเด็จพระอัยยิกาเกซัง โชเดนขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน พ.ศ. 2515 เมื่อคราวพระราชสวามีทรงพระประชวร ทรงสนพระทัยในบวรพุทธศาสนามาก ด้วยทรงอุปถัมภ์กิจกรรมสวนมนต์ประจำปี พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถวายแก่นักพรต 200 รูป และอารามต่าง ๆ ทั้งในภูฏาน และในกาลิมปง ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ทรงสนพระทัยการอนุรักษ์ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศภูฏาน โดยทรงสนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยในประเทศ[2]

อ้างอิง แก้

  1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2553). จดหมายเหตุงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. p. 209.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "Octogenarian grandmother of king to visit different holy places in state". สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.
  3. "Yeewongmagazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-08-01.
  4. "Her Majesty Ashi Phuntsho Choden Wangchuck: Patron Queen of Bhutan: A Legacy of Devotion and Leadership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.