สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Queen Liliuokalani of Hawaii) (2 กันยายน พ.ศ. 2381 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย มีพระนามเดิมว่า ลิเดีย ลิลิอู โลโลกู วาลาเนีย เวเวฮิ คามาคาเอฮา อา คาปาอาเคอา เมื่อทรงได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์มีพระนามว่า เจ้าหญิงลีลีโอกาลานี หลังจากทรงอภิเษกสมรสก็มีพระนามว่า ลิเดีย เค โดมินิส

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี

ลิเดีย ลิลิอู โลโลกู วาลาเนีย เวเวฮิ คามาคาเอฮา อา คาปาอาเคอา
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย
ครองราชย์29 มกราคม พ.ศ. 2434 - 17 มกราคม พ.ศ. 2436
รัชสมัย2 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย
รัชกาลถัดไปราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
ประสูติ2 กันยายน พ.ศ. 2381 โฮโนลูลู ราชอาณาจักรฮาวาย
สวรรคต11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 (79 พรรษา) โฮโนลูลู รัฐฮาวาย
พระราชสวามีเจ้าชายจอห์น โอเวนแห่งฮาวาย พระราชสวามี
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย
ราชวงศ์ราชวงศ์คาลาคาอัว
พระบรมราชชนกคาเอซาร์ คาปาเคอา
พระบรมราชชนนีอานาเลอา เคโอโฮคาโลเล
ลายพระอภิไธย

ต้นพระชนม์ชีพ แก้

 
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีเมื่อยังทรงพระเยาว์

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2381 เป็นพระราชธิดาในคาเอซาร์ คาปาเคอาหัวหน้าพระสังฆราชแห่งฮาวาย กับอานาเลอา เคโอโฮคาโลเล จึงถือว่าพระองค์พระองค์เป็นพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ฮาวายตามพระราชประเพณีโบราณของฮาวาย พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กศึกษาเล่าเรียน และใช้เวลาอยู่กับพระขนิษฐาของพระองค์

ในวันที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพ พระชายาคินาอูในพระเจ้าคาลาคาอัว มีพระอาการแปลก ๆ ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์ คือ ลีลีอู (บาดเจ็บ[1]) โลโลกู (ร้องไห้[2]) วาลาเนีย (ปวดแสบปวดร้อน[3]) คามาคาเอฮา (เจ็บตา[4]) พระเชษฐาของพระองค์จึงนำชื่อเหล่านี้ไปตั้งเป็นพระนามของเจ้าฟ้าหญิง ซึ่งรวมกันหมายถึง อาการบาดเจ็บของพระราชวงศ์[5]

พระองค์ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนหลวงแห่งราชอาณาจักรฮาวาย (ภายหลังรู้จักกันในชื่อโรงเรียนราชวงศ์ฮาวาย) และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ พระองค์เข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกับพระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ เจมส์ คาลิโอคาลานี่และเดวิด คาลาคาอูอา พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในเด็กทั้งสิบห้าคน

อภิเษกสมรส แก้

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2405 เจ้าหญิงลีลีโอกาลานี ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับจอห์น โอเวน โดมินิส ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ว่าราชการรัฐโอวาฮูและเมาอี พระองค์ทรงอภิเษกสมรสอย่างไม่มีความสุข เพราะพระองค์ทรงประสบกับปัญหาอย่างมากมาย แต่ในปีพ.ศ. 2425 พระราชสวามีของพระองค์ก็มีพระโอรสกับคนรับใช้ของพระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ยอมรับมาเป็นโอรสบุญธรรม และพยายามจะให้ทายาทอยู่ในสายพระราชบัลลังก์ เพื่อจะได้เสริมความมั่นคงให้สถาบันพระมหากษัตริย์และปกป้องพระสวามีของพระองค์[6]

เจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารี แก้

 
เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีเมื่อตอนเป็นเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีในปีพ.ศ 2420

ในปีพ.ศ. 2417 เจ้าชายลูนาลิโลทรงได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรฮาวายต่อจากพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 5 แห่งฮาวาย ซึ่งเสด็จสวรรคตลงและไม่ทรงมีรัชทายาท ในการเลือกผู้สืบราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าชายลูนาลิโล เดวิด คาลาคาอูอา และสมเด็จพระราชินีเอ็มมา นาเอ รูกในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีสนับสนุนพระเชษฐาของพระองค์ซึ่งได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ในเวลาต่อมา[7]

พระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวายทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายคาลาคาอัวพระเชษฐาของเจ้าหญิงลีลีโอกาลานีเป็นมกุฎราชกุมาร พระเจ้าลูนาลิโลทรงปกครองฮาวายได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต เจ้าชายคาลาคาอัวจึงได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย และทรงแต่งตั้งให้เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีเป็นเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีรัชทายาทสืบพระราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 2420[7]: 50  เนื่องจากฮาวายไม่ได้เป็นอานาณิคมของประเทศในยุโรปจึงไม่ต้องให้พระมหากษัตริย์ยุโรปแต่งตั้งหรือรอรับการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติ

ในเดือนเมษายนปีพ.ศ. 2430 พระองค์ได้เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่กรุงลอนดอน ระหว่างการเดินทางพระองค์ได้ทรงทราบข่าวพระเจ้าคาลาคาอัวถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ และเสด็จสวรรคต พระองค์จึงยกเลิกการเดินทางและเสด็จพระราชดำเนินกลับฮาวาย[8]

รัชกาล แก้

เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าคาลาคาอัวพระเชษฐาของพระองค์ เมื่อวันที่29 มกราคม พ.ศ. 2434[9] ไม่นานหลังจากนั้นพระองค์ก็เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น พระองค์เริ่มปฏิรูปฮาวาย คณะรัฐมนตรีทั้งหมดสนับสนุนพระองค์[10] พระองค์ได้ปรับแก้รัฐธรรมนูญเพื่อที่จะยับยั้งชาวอเมริกันและคืนอำนาจให้ชาวเอเชียและชาวพื้นเมือง[11] ความพยายามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่เคยบรรลุผลมาก่อนในช่วงเวลาก่อนการล้มล้างราชอาณาจักรฮาวายโดยสหรัฐอเมริกา

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยพระราชินีถูกต่อต้านโดยนักธุรกิจชาวอเมริกันและชาวยุโรป ประชาชนเริ่มประท้วงและขับไล่พระราชินี โดยเสนอว่าพระราชินีควรจะ"สละราชสมบัติอย่างแท้จริง" ประชาชนไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เนื่องด้วยผลประโยชน์ทางธุรกิจในราชอาณาจักรที่ได้รับยังไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็น "การดูแลกำกับกิจการที่ดี" ราชอาณาจักรทำก็เช่นเดียวกับการจัดการเก็บภาษีศุลกากรต่างประเทศของสหรัฐในการค้าน้ำตาล ทำให้ฮาวายเสียเปรียบดุลการค้าและมีมูลค่าภาษีติดลบจาก สนธิสัญญาร่วมกันในปี 1875 ชาวอเมริกันและยุโรปพยายามหาผลประโยชน์จากการค้าน้ำตาลในฮาวายเข้าสู่สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เหล่านักธุรกิจยังแสดงถึงความกังวลในการปกครองของประมุขแห่งรัฐหญิง[12]

การล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย แก้

 
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย

ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2436 ชาวยุโรปและอเมริกันส่วนหนึ่งภายใต้ชื่อคณะกรรมการรักษาความปลอดภัย ได้มีความพยายามจะล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย ขับไล่ราชินี และผนวกฮาวายเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยมีความกังวลในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองอเมริกัน ในบ่ายวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2436 กองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาและกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้บุกยึดกรุงโฮโนลูลู ทำให้พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว[13]

สมเด็จพระราชินีถูกปลดเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2436 และพระราชบัลลังก์ถูกปล่อยให้ว่างอยู่ชั่วคราว[14] โดยพระองค์หวังว่าสหรัฐอเมริกาจะยอมรับอำนาจอธิปไตยของฮาวายโดยชอบธรรม

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีทรงยอมทำตามรัฐบาลเฉพาะกาลของฮาวายซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลสหรัฐ

ข้าพเจ้า สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี โดยพระหรรษทานของพระเจ้าและภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ข้าพเจ้าจะไม่ประท้วงต่อต้านใด ๆ และการกระทำทั้งหมดที่ทำกับตัวเองและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮาวายโดยคนบางคนที่อ้างว่ามีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของและราชอาณาจักรนี้ ที่ข้าพเจ้ายอมจำนนต่อกองกำลังที่เหนือกว่าของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฯพณฯ จอห์น เอล สตีเวนส์ ได้นำกองกำลังสหรัฐเข้ายึดโฮโนลูลูและประกาศว่าเขาจะสนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกาล ตอนนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันของกองกำลังติดอาวุธใด ๆ และบางทีอาจจะเป็นความสูญเสียของชีวิตที่ข้าพเจ้าทำภายใต้การประท้วงนี้และผลักดันโดยกล่าวว่ากองกำลังของอัตราผลตอบแทนผู้มีอำนาจของฉันจนกว่าจะถึงเวลาเช่นรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกนำเสนอไป ยกเลิกการกระทำของตัวแทนและสิทธิของข้าพเจ้าในอำนาจที่ข้าพเจ้าจะเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจอธิปไตยของหมู่เกาะฮาวาย

— สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี 17 มกราคม พ.ศ. 2436[15]

รัฐบาลเฉพาะกาลซึ่งประกอบไปด้วยนักธุรกิจชาวยุโรปและอเมริกา ก็ได้ประสบความสำเร็จในการรวมฮาวายเข้ากับสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศว่าฮาวายเป็นดินแดนในอารักขาของสหรัฐอเมริกา

การสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ แก้

 
สมเด็จพระราชินีนาถและครอบครัว

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี ทรงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2438 พระองค์ถูกตัดสินให้จำคุก 5 ปี ทำงานหนัก และปรับ 5,000 ดอลลาร์ โดยพระองค์ถูกขังในพระราชวังโอลานิ

ผู้สนับสนุนพระองค์ถูกตัดสินจำคุกทั้งหมด รวมทั้งรัฐมนตรีโจเซฟ นาวาฮี เจ้าชายคาวานานาโคอา โรเบิร์ต วิลค็อก และเจ้าชายโจนาห์ คูฮิโอ

ก่อนที่จะขึ้นครองบัลลังก์สิบสี่ปีหรือนับตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าได้รับการประกาศให้เป็นองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการ นามของข้าพเจ้ามีเพียงลีลีโอกาลานี ดังนั้นข้าพเจ้าจึงประกาศเป็นทั้งพระวรราชกุมารีและสมเด็จพระราชินี ดังนั้นมันจึงถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุของรัฐบาลไปในวันนี้ รัฐบาลเฉพาะกาลหรืออื่น ๆ ได้ตราการเปลี่ยนแปลงใดในนามของข้าพเจ้า ทั้งหมดการกระทำอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับจดหมายส่วนตัวของข้าพเจ้าถูกออกวางจำหน่ายในลายเซ็นของ ลีลีโอกาลานี แต่เมื่อผู้คุมของข้าพเจ้าต้องการให้ข้าพเจ้าลงนาม ("ลีลีโอกาลานี โดมินิส") ข้าพเจ้าก็ทำตามที่พวกเขาได้รับคำสั่ง แรงจูงใจในเรื่องนี้เช่นเดียวกับในการดำเนินการอื่น ๆ ของพวกเขาแสดงออกอย่างชัดเจนว่าต้องการทำลายชื่อเสียงของข้าพเจ้าก่อนที่คนของข้าพเจ้าและก่อนที่โลกจะรู้ ข้าพเจ้าเห็นในช่วงเวลาที่สิ่งที่พวกเขาไม่ได้ว่าแม้จะถูกฉันไม่ปฏิบัติตามภายใต้การข่มขู่ที่รุนแรงที่สุดและเข้มงวดตามความต้องการของพวกเขา ข้าพเจ้าไม่มีและไม่เคยได้อยู่ในช่วงของความรู้ของบุคคลใดเช่น ลีลีโอกาลานี โดมินิส

— สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี, "เรื่องราวของฮาวายโดยพระราชินีฮาวาย"[16]

พระองค์ทรงถูกกักบริเวณในที่พักเป็นเวลาหนึ่งปี และในปีพ.ศ. 2439 สาธารณรัฐฮาวายก็คืนสิทธิการเป็นพลเมืองแก่พระองค์[17]

สวรรคต แก้

หลังจากพ้นโทษ พระองค์ก็ทรงอาศัยอยู่ที่พระราชวังวอชิงตันจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง พระบรมศพของพระองค์ได้รับการจัดพิธีฝังอย่างสมพระเกียรติในฐานะอดีตประมุขแห่งรัฐ

พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถูกบริจาคให้ "กองทุนสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีเพื่อเด็กกำพร้าและยากจน" ซึ่งกองทุนสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานียังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

พระราชพงศาวลี แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คาเมเออิอาโมกู
 
 
 
 
 
 
 
8. เคปูคาลานี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. คามาคาเอเฮอิคูลี
 
 
 
 
 
 
 
4. คามานาวาที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. คาลานินูอิอามามาโอ
 
 
 
 
 
 
 
9. อลาปาอิวาฮิเน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. คาโอลานิอาลิอิ
 
 
 
 
 
 
 
2. คาเอซาร์ คาปาเคอา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. คาลิโลอาโมกู
 
 
 
 
 
 
 
10. คาเนปาวาเล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. คาฮูนา
 
 
 
 
 
 
 
5. คาโมคูอิคิ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. อาฮูนูลาคาโลเว
 
 
 
 
 
 
 
11. อูอาอูอา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. คาลิโออาโมคู
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. คาเมเออิอาโมกู
 
 
 
 
 
 
 
12. เคปูคาลานี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. คามาคาเอเฮอิคูลี
 
 
 
 
 
 
 
6. อาอิคานาคา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เคอาวา อา เฮอูลู
 
 
 
 
 
 
 
13. เคโอโฮฮิวา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อูลูลานี่
 
 
 
 
 
 
 
3. อานาเลอา เคโอโฮคาโลเล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. คาโออิโออา
 
 
 
 
 
 
 
14. มาลาเออากินี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เคโคฮิโมกู
 
 
 
 
 
 
 
7. คามาเอโอคาลานี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. คาโอ
 
 
 
 
 
 
 
15. คาอูฮิโนคาคา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. อาวิลี
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง แก้

  1. Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
  2. Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
  3. Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
  4. Hawaiian Dictionaries Hawaiian Electronic Library, en:University of Hawaii Press Retrieved November 10, 2010
  5. "Queen Lili'uokalani and her Music — Part 1". Historical Collections of The Hawaiian Islands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-19. สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.
  6. Darlene E. Kelley (July 8, 2008). "Queen Lili'uokalani and Her Hanai (adopted ) Children". Keepers of the Culture: A study in time of the Hawaiian Islands As told by the ancients. สืบค้นเมื่อ 2012-04-06.
  7. 7.0 7.1 Queen Liliʻuokalani (July 25, 2007) [1898]. Hawaii's Story by Hawaii's Queen, Liliuokalani. Lothrop, Lee and Shepard, reprinted by Kessinger Publishing. ISBN 978-0-548-22265-2.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Potter, Norris W; Kasdon, Lawrence M; Rayson, Ann, History of the Hawaiian Kingdom.
  9. Kuykendall 1967, p. 474.
  10. The Bayonet Constitution was named because it had been signed by the previous monarch under threat of violence from a militia composed of armed American and Europeans calling themselves the "Honolulu Rifles".
  11. Daws, G (1974), Shoal of Time: A History of the Hawaiian Islands, Honolulu: University of Hawaii Press, p. 271.
  12. Liliuokalani 1898.
  13. Russ, William Adam (1992). The Hawaiian Revolution (1893–94). Associated University Presses. ISBN 0-945636-43-1.
  14. Dougherty, Michael. "To Steal A Kingdom".
  15. "Nu'uanu, O'ahu — Lili'uokalani's Abdication". Pacific Worlds. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.
  16. Liliuokalani 1898, p. 275.
  17. Liliuokalani 1898, p. 262.

บรรณานุกรม แก้

  • Kuykendall, RS (1967), The Hawaiian Kingdom, 1874–1893, Honolulu: University of Hawaii Press.
  • Liliuokalani (1898), Hawaii's Story by Hawaii's Queen, Boston: Lothrop, Lee & Shepard, สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี ถัดไป
พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย    
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย
(29 มกราคม พ.ศ. 2434 - 17 มกราคม พ.ศ. 2436)
  ล้มล้างระบอบกษัตริย์
ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา
พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย    
ประมุขแห่งรัฐฮาวาย
(29 มกราคม พ.ศ. 2434 - 17 มกราคม พ.ศ. 2436)
  แซนฟอร์ด บี ดอล
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฮาวาย
ไม่มี    
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ราชอาณาจักรฮาวาย
(17 มกราคม พ.ศ. 2436 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460)
  เดวิด คาลาคาอัว คาวานานาโคอา