สมุหพระกลาโหม

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

ในการบริหารรัฐกิจสยามตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมุหพระกลาโหม คืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นเจ้ากรมกลาโหม และเป็นผู้บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ มีราชทินนามว่า "เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีบดินทร์" คู่กับสมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนและผู้บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีราชทินนามว่า "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์"

ประวัติ แก้

เดิมสมุหพระกลาโหมดูแลการทหารเท่านั้น แต่ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาได้เพิ่มอำนาจหน้าที่เป็นบังคับบัญชางานทั้งด้านทหารและพลเรือนสำหรับหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายกที่เดิมดูแลด้านพลเรือนเท่านั้น ก็ได้เพิ่มอำนาจหน้าที่เป็นบังคับบัญชาทั้งด้านทหารและพลเรือนสำหรับหัวเมืองฝ่ายเหนือ[1]

ตำแหน่งทั้งสองถูกยกเลิกไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2435 [2]

รายนามสมุหพระกลาโหม แก้

สมัยธนบุรี แก้

ราชทินนาม รูปภาพ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
พระยามหาเสนา   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในพงศาวดารไม่ปรากฏชื่อของผู้ดำรงตำแหน่ง ปรากฏแค่ว่ามีผู้ดำรงตำแหน่งที่สมุหกลาโหม ราชทินนามว่า "พระยามหาเสนา"

สมัยรัตนโกสินทร์ แก้

ราชทินนาม รูปภาพ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี)   รัชสมัยรัชกาลที่ 1 สมุหกลาโหมคนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบาทสำคัญในสงครามเก้าทัพ พงศาวดารระบุว่าเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) ถูกสังหารในสนามรบ ในช่วงสงครามตีเมืองทวาย
เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)   รัชสมัยรัชกาลที่ 1

พ.ศ.2336 - พ.ศ. 2348

เป็นต้นตระกูลบุนนาค
เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น)   รัชสมัยรัชกาลที่ 1

พ.ศ.2348 - พ.ศ. 2352

ในรัชกาลที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาวังหน้า
เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา)   รัชสมัยรัชกาลที่ 2

พ.ศ. 2352 - ?

เป็นสมุหกลาโหมช่วงต้นรัชกาลที่ 2 และเป็นแม่ทัพในสงครามพม่าตีเชียงใหม่
เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์)   รัชสมัยรัชกาลที่ 2

พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2365

ต้นตระกูล วงศาโรจน์
เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์)   รัชสมัยรัชกาลที่ 2

พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2367

ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2370 ไม่มีบุตรธิดา
เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย)   รัชสมัยรัชกาลที่ 3

พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2373

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)   รัชสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4

พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2367

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)   รัชสมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2367

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)   รัชสมัยรัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2431

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)   รัชสมัยรัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2331 - พ.ศ. 2437

สมุหกลาโหมคนสุดท้าย

อ้างอิง แก้

  1. "สมุหพระกลาโหม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2009-01-31.
  2. จินตนาการประชาธิปไตย “ที่แท้จริง” ของกษัตริย์สยาม : รัชกาลที่ 5 ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมิถุนายน 2553