สมุหนายก

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

สมุหนายก คือ อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นเจ้ากรมมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ บรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" คู่กับสมุหกลาโหม อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เจ้ากรมกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ บรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีบดินทร์"

ประวัติ แก้

ตำแหน่งสมุหนายก ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา โปรดให้แบ่งหัวเมืองออกเป็น ฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ โดยให้สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและสมุหกลาโหมบังคับบัญชาทางใต้ ทั้งกิจการฝ่ายทหารและพลเรือน ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยตั้งกระทรวงขึ้นสิบสองกระทรวง มีเสนาบดีประจำทุกกระทรวง กรมมหาดไทยได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กระทรวงมหาดไทย สมุหนายกจึงถูกลดฐานะจากอัครมหาเสนาบดี ลงเป็นเสนาบดีเท่ากับเสนาบดีอื่น ๆ นับเป็นการสิ้นสุดตำแหน่ง สมุหนายก

ในสมัยอยุธยาตอนต้น การปกครองภายในราชธานี มีตำแหน่งเสนาบดีสำคัญสี่ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ คือ เสนาบดีกรมเมือง หรือเวียง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และเสนาบดี กรมนา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงปรับปรุงวิธีการปกครองส่วนกลาง โดยแบ่งขุนนางและไพร่พล ทั่วพระราชอาณาจักรออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร โปรดให้ตั้งกรมมหาดไทย ขึ้นโดยมีสมุหนายก เป็นเจ้ากรม และเป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือน ในหัวเมืองต่าง ๆ ทุกเมือง รวมทั้งเสนาบดีจตุสมดภ์ด้วย ทรงตั้งกรมพระกลาโหม มีสมุหพระกลาโหม เป็นเจ้ากรม และหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายทหาร ในราชธานี และทุกหัวเมือง ทั้งสมุหนายก และสมุหกลาโหม มีฐานะเป็น อัครเสนาบดี และเป็นประธานในคณะลูกขุนฝ่ายทหารและพลเรือน ในยามศึกสงครามทั้งทหารและพลเรือน ต่างต้องทำหน้าที่ในการสู้รบป้องกันบ้านเมืองเช่นเดียวกัน

ตำแหน่งสมุหนายก มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "เจ้าพระยาจักรี" ศักดินา 10,000 มีตราพระราชสีห์ และตราจักร เป็นตราประจำตำแหน่ง เมื่อประชุมเสนาบดีทั้งหมด สมุหนายกจะเป็นประธานในการประชุม เพราะมีฐานะเป็นประมุขของเสนาบดี สมุหนายก มีหน้าที่ติดต่อกับประเทศราช ในนามของพระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีอำนาจปกครอง

ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2246) มีการแบ่งหัวเมืองในราชอาณาจักร ออกเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ให้สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ สมุหกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ในปลายสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) ได้มีการโอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้แก่ เจ้าพระยาโกษาธิบดี เสนาบดีพระคลัง

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้า ฯ ให้โอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ คืนให้สมุหกลาโหม ตั้งแต่หัวเมืองชายทะเลแปดเมือง รวมทั้งเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเดิมขึ้นกรมมหาดไทย รวมเป็นเก้าเมือง ให้เจ้าพระยาพระคลัง ปกครองโดยแบ่งหัวเมืองภาคใต้ฝ่ายตะวันตก ซึ่งขึ้นกับเจ้าพระยาพระคลัง สิบเก้าเมือง ขึ้นกับสมุหนายก หนึ่งเมืองคือ เพชรบุรี รวมยี่สิบเมือง มาขึ้นกับสมุหกลาโหม

ในปี พ.ศ. 2437 ได้มี " ประกาศปันน่าที่กระทรวงกระลาโหม มหาดไทย" ขึ้น โดยให้กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ในราชอาณาจักร

รายนามสมุหนายก แก้

สมัยอยุธยา แก้

ราชทินนาม รูปภาพ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
ออกญาจักรี   รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ถูกพม่าจับไปเป็นเชลยในสงครามช้างเผือก

เป็นไส้ศึกในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ชาวเปอร์เซีย

ปฐมจุฬาราชมนตรี ต้นสกุลบุนนาค

เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น)   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง - สมเด็จพระนารายณ์มหาราช บุตรเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)
เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)   รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาวกรีก

เสียชีวิตใน พ.ศ. 2231 ในการยึดอำนาจของพระเพทราชา

เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ)   รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช - สมเด็จพระเพทราชา สมบุญ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วเลื่อนเป็นจมื่นจงภักดีองค์ขวา ต่อมาได้เป็นพระยาบำเรอภักดิ์ เมื่อเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น)
เจ้าพระยาจักรี (ครุฑ)   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี - สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ "เจ้าพระยาจักรีบ้านโรงฆ้อง"

นำทัพทำสงครามกับอาณาจักรเขมรอุดงใน พ.ศ. 2260

พระยาราชสงคราม (ปาน) ที่สมุหนายก   รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ชะลอพระพุทธไสยาสน์มาไว้ที่วัดป่าโมกเมืองอ่างทอง[1]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดฯให้ย้ายไปที่สมุหกลาโหมแทนใน พ.ศ. 2275[2]

เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ)   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระยาเพชรพิไชย (ใจ) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาในนามเดิม ส่วนตำแหน่งราชการได้เป็นสมุหนายก อรรคมหาเสนาบดีกรมมหาดไทย
เจ้าพระยาอภัยมนตรี   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เดิมเป็นหลวงจ่าแสนยากร
เจ้าพระยาราชภักดี (สว่าง)   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บุตรของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
เจ้าพระยาอภัยราชา   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ "เจ้าคุณประตูจีน"

เดิมเป็นพระยาราชสุภาวดี

ถูกปลดในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์[2]

เข้าร่วมในสงครามอลองพญา[3]

บิดาของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี)

พระยาพระคลังที่สมุหนายก[4]   รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เข้าร่วมในสงครามอลองพญา[3]

สมัยธนบุรี แก้

ลำดับที่ ราชทินนาม รูปภาพ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 เจ้าพระยาจักรี (หมุด)   พ.ศ. 2310 - 2317 "เจ้าพระยาจักรีแขก"
เชื้อสายของสุลต่านสุลัยมาน ชาห์
บิดาของพระยาราชวังสัน (หวัง)
พระเปตามไหยกาในสมเด็จพระศรีสุลาลัย
2 เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)   พ.ศ. 2313 - 2325 ตำแหน่งคือพระยายมราชว่าที่สมุหนายกควบคู่กับเจ้าพระยาจักรี (หมุด) ใน พ.ศ. 2313[5]
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาจักรี
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

สมัยรัตนโกสินทร์ แก้

ลำดับที่ ราชทินนาม / พระนาม รูปภาพ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)   รัชกาลที่ 1

พ.ศ. 2325 - 2348

เดิมเป็นพระอักขรสุนทร เสมียนตรากระทรวงมหาดไทยในสมัยธนบุรี และเป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ 1
ครั้นรัชกาลที่ 1 ปราบดาภิเษกแล้ว โปรดฯ ให้เป็น พระยารัตนาพิพิธที่สมุหนายก
ต้นสกุลสนธิรัตน์
บิดาของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (เสือ) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (มั่ง) พระยาเสนาพิพิธ (หมี) ท้าวสมศักดิ์ (นก) และเจ้าจอมมารดาปุก เจ้าจอมมารดาในพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าจามรี ในรัชกาลที่ 3
ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2348 อายุ 70 ปี ตำแหน่งสมุหนายกว่างลง
2 เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)   รัชกาลที่ 2

พ.ศ. 2352 - 2356

ชาวจีนแต้จิ๋ว แซ่อึ้ง
ครั้งกรุงธนบุรี เป็น พระราชประสิทธิ์
ในรัชกาลที่ 1 เป็น พระยาศรีพิพัฒน์ แล้วโปรดให้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง เรียกว่า ท่านท่าเรือจ้าง
ครั้นรัชกาลที่ 2 เสวยราชสมบัติ ทรงตั้งเป็น เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ที่สมุหนายก
บิดาของ จมื่นมหาดเล็ก(ทองอยู่)
พระยารัตนามาตยพงศ์ภักดี (สัตวา) ท้าววรจันทร์ (อิ่ม) และพระเบญจวรรณซึ่งเป็นพระนิกรมมุนี ที่พระราชาคณะครองวัดพระยาทำ
ต้นสกุลรัตนกุล
3 เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)   รัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3

พ.ศ. 2356- 2370

ในรัชกาลที่ 2 เป็น เจ้าพระยายมราช
ครั้นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ถึงอสัญกรรม จึงโปรดฯให้เป็น เจ้าพระยาอภัยภูธร' ที่สมุหนายก
ในรัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานกลด และเสลี่ยง ครั้นปีกุน พ.ศ. 2370 เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ ท่านขึ้นไปทัพป่วยถึงแก่อสัญกรรม ขณะเข้าร่วมการปราบเจ้าอนุวงศ์
บิดาของเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) พระยากลาโหมราชเสนา(กรับ) และ เจ้าจอมเคลือวัลย์ ในรัชกาลที่ 3
ต้นสกุลบุณยรัตพันธุ์
4 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)   รัชกาลที่ 3

พ.ศ. 2370 - 2392

เดิมเป็นพระยาราชสุภาวดี
ได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาราชสุภาวดีที่สมุหนายก ใน พ.ศ. 2370
ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาใน พ.ศ. 2372
ต้นสกุลสิงหเสนี
5 เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)   รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4

พ.ศ. 2392 - ไม่ทราบปี

ชาวจีนฮกเกี้ยน เป็นบุตรหลวงพิชัยวารี ชื่อมัน แซ่อึ้ง เป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ 3
ได้เป็น พระพิชัยวารี ในรัชกาลที่ 2
เป็น พระยาพิชัยวารี เมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 เสวยราชย์สมบัติ
แล้วต่อมาเป็นพระยาราชสุภาวดี โปรดฯให้ว่าที่สมุหนายกในรัชกาลที่ 3
ครั้นรัชกาลที่ 4 ได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาราชสุภาวดีที่สมุหนายก
ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยานิกรบดินทร์ใน พ.ศ. 2394
บิดาของ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร)
เจ้าพระยารัตนาบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร)
ท้าวสมศักดิ์ (อึ่ง) เจ้าจอมมารดาของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา
พระยาชัยวิชิต (ช่วง) บิดาเจ้าจอมมารดาแสง ของพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร พระองค์เจ้านภางคนิพัทธพงศ์ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี และพระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ
พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) บิดาเจ้าจอมมารดาแช่ม ของกรมหลวงปราจิณกิติบดี และเป็นบิดาเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย)
ต้นสกุลกัลยาณมิตร
6 เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)   รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 บุตรของเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย)

ในรัชกาลที่ 3 เป็นนายสนิทหุ้มแพร แล้วเป็น หลวงศักดิ์นายเวร แล้วเลื่อนเป็น พระยาสุริยภักดี เมื่อปลายรัชกาลถูกถอด ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯให้เป็น พระยามหามนตรี แล้วเลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช ครั้นเจ้าพระยานิกรบดินทร ถึงอสัญกรรม จึงโปรดฯให้เป็น เจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก

บิดาของ เจ้าพระยาศรีธรรมธิราช(เวก) ,พระยาสีหราชฤทธิไกร(แย้ม) ,เจ้าจอมมารดาตลับ ของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ และ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ ในรัชกาลที่4 ,ท้าวสมศักดิ์(โหมด)

ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2421 อายุ 71 ปี

7 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์   รัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2421 - 2429

พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
8 เจ้าพระยารัตนาบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร)   รัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2429 - 2435

บุตรของเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)

อ้างอิง แก้

  1. หลากหลายเรื่องราวของ จา มณี
  2. 2.0 2.1 นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพ: มติชน, 2559.
  3. 3.0 3.1 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. ไทยรบพม่า สงครามครั้งที่ ๒๒ คราวพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ ๒.
  4. คุ้ยตำนาน “พระเจ้าตาก” ใคร “วิ่งเต้น” ตำแหน่งเจ้าเมืองตากให้-ได้เป็นตอนไหน ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564
  5. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี. "เจ้าพระยาจักรีแขกนั้นมิได้แกล้วกล้าในการสงคราม จึงโปรด ตั้งพระยาอภัยรณฤทธิ์ เป็นพระยายมราช ให้ว่าราชการณที่สมุหนายกด้วย"