สมุดข่อย

ประเภทของสมุดเอกสารตัวเขียนแบบพับ

สมุดข่อย หรือ สมุดไทย เป็นสมุดเอกสารตัวเขียนแบบพับที่เคยนิยมใช้ในวัฒนธรรมพุทธ ได้แก่ ประเทศไทย, ประเทศกัมพูชา, ประเทศลาว, ประเทศพม่า และประเทศศรีลังกา เทคนิคในการผลิตน่าจะมาจากราชอาณาจักรซีลอนโบราณ (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา) ส่วนใหญ่ทำมาจากข่อย โดยไม่เย็บเล่มเหมือนหนังสือตะวันตก แต่จะพับรวมกันแบบรอยพับ สมุดข่อยอาจทำมาจากกระดาษสีดำ (สมุดไทยดำ) หรือกระดาษขาว (สมุดไทยขาว) การใช้สมุดข่อยในประเทศไทยสามารถสืบไปได้ถึงสมัยสุโขทัย[1] ส่วนใหญ่มักใช้เขียนตำราทางโลก เช่น พระราชพงศาวดาร เอกสารทางกฎหมาย และงานวรรณกรรม ในขณะที่เอกสารตัวเขียนใบลานมักใช้กับตำราทางศาสนา[2][3] นอกจากนี้ สมุดนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น ปะระไบ ในภาษาพม่า,[a] สะหมุดข่อย ในภาษาลาว,[b] พับสา ในภาษาไทยถิ่นเหนือและลาว[c] และ ไกรง์ ในภาษาเขมร

ตัวอย่าง สมุดไทยดำ ที่วัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์

ไทย แก้

การใช้ สมุดข่อย ในประเทศไทยสามารถสืบได้ถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา โดยใช้ในเอกสารฆราวาสเช่นพระราชพงศาวดาร, เอกสารทางกฎหมาย และผลงานวรรณกรรม เช่นเดียวกันกับคัมภีร์ศาสนาพุทธ ถึงแม้ว่าเอกสารทางศาสนาโดยทั่วไปจะใช้เอกสารตัวเขียนใบลานมากกว่า[4][5]

พม่า แก้

กระดาษที่ทำจากใบไผ่และใบลาน[6] ปะระไบ เคยเป็นสื่อหลักในการเขียนและการวาดรูปในของพม่าสมัยใหม่ตอนต้น[7]

มีปะระไบอยู่สองประเภท: ในอดีต ปะระไบดำ (ပုရပိုက်နက်) เคยใช้ในการเขียน ในขณะที่ ปะระไบขาว (ပုရပိုက်ဖြူ) เคยใช้ในการวาดรูป นอกจากนี้ ปะระไบดำมักใช้กับผลงานที่มีความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิค เช่น แพทยศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, โหราศาสตร์, ประวัติศาสตร์, สังคมและเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์, ดนตรี, ลำนำประวัติศาสตร์, นิยาย, กวีนิพนธ์ เป็นต้น ส่วน ปะระไบขาว มักมีภาพสีของกิจกรรม, เรื่องราว, ประเพณีและมารยาททางสังคม, บ้าน, เครื่องแต่งกาย, ทรงผม, เครื่องประดับ เป็นต้น ของกษัตริย์และข้าราชสำนัก[8] พงศาวดารพม่าส่วนใหญ่ได้รับการบันทึกลงไปในปะระไบ[9]

 
ปะระไบ แสดงภาพชีวประวัติของพระพุทธเจ้า

กัมพูชา แก้

กระดาษที่ทำสมุดเขมร มีชื่อว่า ไกรง์ (kraing) ที่ทำมาจากเปลือกไม้ของต้นหม่อน เก็บไว้ในเจดีย์ทั่วประเทศ ในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชาและต่อมาในสมัยของเขมรแดงในคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 เจดีย์กัมพูชารวมถึงห้องสมุดมากถึงร้อยละ 80 ถูกเผาทำลาย[10] ในประเทศกัมพูชา มี ไกรง์ ตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเขมรจำนวนน้อยมากที่ยังคงอยู่[11]

หมายเหตุ แก้

  1. พม่า: ပုရပိုက်; ออกเสียง: [pəɹəbaɪ̯ʔ]
  2. ลาว: ສະໝຸດຂ່ອຍ
  3. ลาว: ພັບສາ

อ้างอิง แก้

  1. "The History of Paper". Nakorn Phanom National Library (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  2. "สมุดข่อย และคัมภีร์ใบลาน กรุสมบัติจากบรรพชน" [Samut khoi and palm-leaf manuscipts: treasure troves from our ancestors]. Ayutthaya Studies Institute, Ayutthaya Rajabhat University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-31. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  3. Igunma, Jana (2013). "Southeast Asia (2): The Mainland". ใน Suarez, Michael F.; Woudhuysen, H. R. (บ.ก.). The Book: A Global History. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780191668753.
  4. "สมุดข่อย และคัมภีร์ใบลาน กรุสมบัติจากบรรพชน" [Samut khoi and palm-leaf manuscripts: treasure troves from our ancestors]. Ayutthaya Studies Institute, Ayutthaya Rajabhat University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-31. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  5. Igunma, Jana (2013). "Southeast Asia (2): The Mainland". ใน Suarez, Michael F.; Woudhuysen, H. R. (บ.ก.). The Book: A Global History. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780191668753.
  6. EB (1878), p. 556.
  7. Raghavan 1979: 4–14
  8. Raghavan 1979: 6
  9. Hla Pe 1985: 37
  10. Sen David and Thik Kaliyann (19 September 2015). "Palm leaves preserving history". The Phnom Penh Post. Vol. 6.
  11. Prof. K. R. Chhem and M. R. Antelme (2004). "A Khmer Medical Text "The Treatment of the Four Diseases" Manuscript". Siksācakr, Journal of Cambodia Research. 6: 33–42.

บรรณานุกรม แก้