สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (อังกฤษ: American Heart Association; อักษรย่อ: AHA) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐ ที่ส่งเสริมการดูแลหัวใจที่เหมาะสมในความพยายามที่จะลดความพิการและการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคระบบหัวใจหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1924 ในฐานะสมาคมเพื่อการป้องกันและบรรเทาอาการโรคหัวใจ[1] ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่แดลลัส รัฐเท็กซัส ซึ่งสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นหน่วยงานสาธารณสุขอาสาแห่งชาติ

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา
ก่อตั้ง26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924
ที่ตั้ง
สโลแกนมีชีวิตจะทำไม
ภารกิจ"สร้างสุขภาพที่ดีขึ้น, ปราศจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนโรคหลอดเลือดสมอง"
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

สมาคมเป็นที่รู้จักสำหรับมาตรฐานการเผยแพร่เกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการช่วยชีวิตหัวใจขั้นสูง (ACLS) และในปี ค.ศ. 2014 ได้มีคำแนะนำเบื้องต้นในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในสตรี[2] สมาคมเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการดำเนินการจำนวนมากของแคมเปญบริการสาธารณะที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนซึ่งเริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 และยังดำเนินงานการระดมทุนจำนวนหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 นิตยสารเดอะโครนิเคิลออฟฟิแลนโธรฟี ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ ได้เผยแพร่การศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 5 ของ "องค์การการกุศล/ไม่หวังผลกำไร ที่เป็นที่นิยมที่สุดในอเมริกา"[3] และจอห์น วาร์เนอร์, พ.บ., บธ.ม. เป็นประธานสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาในปีงบประมาณ ค.ศ. 2017–18[4]

ประวัติ แก้

ค.ศ. 1915–คริสต์ทศวรรษ 1980: การก่อตั้งและช่วงปีแรก แก้

 
ผู้ประสานงานการส่งเสริมสุขภาพที่กิจการกองเรือซาเซโบะ จากออกัสตา รัฐจอร์เจีย ตรวจสอบความดันโลหิตของกะลาสีระหว่างแคมเปญรณรงค์โรคหัวใจ "โกเรดฟอร์วีเมน" สำหรับผู้หญิงในปี ค.ศ. 2009

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาเติบโตขึ้นจากกลุ่มผู้นำกลุ่มเล็ก ๆ ผู้นำหลักคือสมาคมเพื่อการป้องกันและบรรเทาอาการโรคหัวใจ ที่ก่อตั้งขึ้นในนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1915 เพื่อศึกษาว่าผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ องค์กรที่คล้ายกันหลายแห่งได้รับการก่อตัวหรือพัฒนาขึ้นในบอสตัน, ฟิลาเดลเฟีย และชิคาโกในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยตระหนักถึงความต้องการขององค์กรระดับชาติในการแบ่งปันการวิจัยและการส่งเสริมผลการวิจัย สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1924 โดยมีผู้ชำนาญโรคหัวใจ 6 คนซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้นำหลายกลุ่ม[1]

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกายังคงมีขนาดเล็กจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1940 เมื่อได้รับเลือกสำหรับการสนับสนุนโดยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ผ่านทางธุรกิจของพวกเขา จากรายชื่อองค์กรการกุศลที่แจ้งความจำนง พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ให้เงิน 1.5 ล้านดอลลาร์จากรายการวิทยุทรูธออร์คอนซีเควนส์ เพื่อให้องค์กรสามารถออกไปทำงานระดับประเทศได้[5]

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจำกัดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลเกิดขึ้นจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และหลักเกณฑ์การบริโภคอาหารของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1957 และ 1961 ส่วนรายงานสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา ค.ศ. 1957 ประกอบด้วย: (1) อาหารอาจมีบทบาทสำคัญในการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (2) ปริมาณไขมันและแคลอรีทั้งหมดในอาหารอาจเป็นปัจจัยสำคัญ (3) อัตราส่วนระหว่างไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวอาจเป็นปัจจัยพื้นฐาน และ (4) จจัยอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือไขมัน ทั้งอาหารและและขาดโภชนาการอาจมีความสำคัญ โดยในปี ค.ศ. 1961 การค้นพบเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่คำแนะนำใหม่ของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาใน ค.ศ. 1961 ได้แก่: (1) รักษาน้ำหนักตัวให้ถูกต้อง (2) ออกกำลังกายในระดับปานกลาง เช่น การเดินเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก (3) ลดปริมาณไขมัน, ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลทั้งหมด เพิ่มปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (4) ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งชัดเจนควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนอาหาร และ (5) การเปลี่ยนแปลงอาหารควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ คำแนะนำเหล่านี้ยังคงมีความแม่นยำมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ถึง 1980 แต่ยังคงเป็น "การเชื่อมโยงกันทั่วไปในหมู่พวกเขา"[6]

คริสต์ทศวรรษ 1990–คริสต์ทศวรรษ 2000: การณรงค์ให้ความรู้ แก้

ในปี ค.ศ. 1994 นิตยสารเดอะโครนิเคิลออฟฟิแลนโธรฟี ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ เผยแพร่ผลการค้นคว้าที่ใหญ่ที่สุดขององค์การการกุศลและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรรวมทั้งความน่าเชื่อถือ การค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับการจัดอันดับให้เป็น "องค์การการกุศล/ไม่แสวงหาผลกำไรในอเมริกาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด" อันดับ 5 จากองค์การการกุศลกว่า 100 แห่ง กับ 95 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่มีอายุเกินกว่า 12 ปีที่เลือกหมวดหมู่ในลักษณะ รัก และ ชอบมาก สำหรับสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา[3]

ในปี ค.ศ. 2003 ได้มีการตีพิมพ์ “รายงานฉบับที่เจ็ดของคณะกรรมการร่วมแห่งชาติว่าด้วยการป้องกัน, ตรวจจับ, การประเมินผล และการรักษาความดันโลหิตสูง” (เจเอ็นซี 7)[7]

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2009 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาและสภาการโฆษณาได้เปิดตัวประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะเกี่ยวกับซีพีอาร์แบบใช้มือเท่านั้นและเว็บไซต์[8] เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ประกาศรณรงค์สร้างความตื่นตัวถึงกรณีหัวใจหยุดเต้นขึ้นใหม่โดยให้ชื่อว่าบีเดอะบีท[9] จุดมุ่งหมายของการรณรงค์คือการสอนเด็กที่มีอายุ 12 ถึง 15 ปีได้สนุกกับการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและวิธีใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ

ในปี ค.ศ. 2010 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้เปิดตัวการรณรงค์ "โกเรดฟอร์วีเมน" ในอดีตผู้ชายเป็นหัวข้อหลักของโรคหัวใจและการวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง "โกเรดฟอร์วีเมน" จึงมุ่งเน้นเฉพาะสตรีที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและการดำเนินการที่พวกเธอสามารถทำได้เพื่อปกป้องสุขภาพของตนเอง รายได้ทั้งหมดจากการรณรงค์ท้องถิ่นและระดับชาติสนับนำไปใช้เพื่อสนุนการรับรู้, การวิจัย, การศึกษา และโครงการชุมชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสตรี[10]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับรองนินเท็นโดวีคอนโซล โดยมีไอคอนสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาปรากฏบนกล่องคอนโซล เช่นเดียวกับวีฟิตพลัส และวีสปอร์ตรีสอร์ต

ค.ศ. 2012–15: อีเวนต์และกิจกรรมล่าสุด แก้

 
ภาพกิจกรรมกระโดดเชือกเพื่อหัวใจในปี ค.ศ. 2014 โดยอาสาสมัครจากฝูงบินที่ 6 และกรมทหารม้าที่ 8 ได้ช่วยนักเรียนในการฉลองการสิ้นสุดกิจกรรม "กระโดดเชือกเพื่อหัวใจ" ซึ่งเป็นอีเวนต์การระดมทุนของโรงเรียน เพื่อระดมทุนสำหรับสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการรณรงค์ในปี ค.ศ. 2012 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนเกี่ยวกับวิธีการทำซีพีอาร์แบบใช้มือเท่านั้น[11][12][13] การณรงค์ในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งเริ่มในนครนิวยอร์ก มีเจนนิเฟอร์ คูลิดจ์ เป็นโฆษก[14]

ในปี ค.ศ. 2012 มิเชลล์ วิลเลียมส์ ซึ่งเป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงและนักแสดงหญิงได้เป็นทูตในการรณรงค์ พาวเวอร์ทูเอ็นสโตรก ในบทพูดของเธอ-เธอได้กล่าวว่า "ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นพันธมิตรกับการรณรงค์ [...] พ่อของฉันเป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี ค.ศ. 2005 เนื่องจากการสูบบุหรี่, เบาหวาน และการลดน้ำหนักในแบบที่อาจทำลายสุขภาพ รวมถึงย่าของฉันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี ค.ศ. 2006 เมื่อเธอไปหาหมอเพื่อรับการรักษาผู้ป่วยนอกแบบง่าย ๆ ฉันนำความรู้มาสู่ผู้คนเพื่อให้รู้ว่าโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ มาดูแลตัวเองกันเถอะ…ขั้นตอนแรกคือความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของคุณ"[15]

ส่วนในปี ค.ศ. 2014 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ออกแนวทางแรกในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในสตรี[2]

สำหรับในปี ค.ศ. 2015 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับการรับรองการรณรงค์โทแบคโค 21 อย่างเป็นทางการ โดยการแนะนำภายในเมือง, รัฐ และรัฐบาลแห่งชาติในการเพิ่มอายุการจำหน่ายยาสูบและนิโคตินแก่บุคคลที่อายุตั้งแต่ 18 ถึง 21 ปี[16]

และในปี ค.ศ. 2018 มีการประกาศว่าสมาคมโรคหัวใจอเมริกันได้ร่วมมือกับแชริตีไดนามิกส์และไมเทค เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการระดมทุนในตลาดเยาวชนแห่งชาติของตน สามารถบริจาคเช็คเงินฝากโดยตรงจากโทรศัพท์มือถือของตนได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย[17]

บุคคลสำคัญ แก้

แนนซี บราวน์ ดำรงตำแหน่งประธานบริหารตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ดูรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่สำคัญของสมาคมและผู้นำอาสาสมัครได้ที่ www.heart.org - เกี่ยวกับสมาคม (https://www.heart.org/en/about-us)

  • เอลเลียต แอนต์แมน, พ.บ., ได้เป็นประธานสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาในปีงบประมาณ ค.ศ. 2014–15 ในฐานะประธาน แอนต์แมนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์อาสาสมัคร โดยรับผิดชอบด้านการแพทย์, วิทยาศาสตร์ และสาธารณสุข เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านการแพทย์และรองคณบดีฝ่ายคลินิก/การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด รวมทั้งเป็นแพทย์อาวุโสแผนกหัวใจและหลอดเลือดของโรงพยาบาลบริกแฮมและสตรีในบอสตัน[ต้องการอ้างอิง]
  • เมลาเนีย ทรัมป์ เป็นประธานหญิงสำหรับเวสต์ปาล์มบีชฮาร์ตบอลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาในปี ค.ศ. 2010[18]
  • ในปี ค.ศ. 2012 มิเชลล์ วิลเลียมส์ นักร้อง-นักแต่งเพลง และนักแสดงหญิง ได้เป็นทูตในการรณรงค์พลังยุติโรคหลอดเลือดสมอง[15]
  • ศหาพุทฺทีน เอช. รหีมโตลา ประธานหทัยวิทยาคลินิก

สิ่งพิมพ์ แก้

วารสาร แก้

มาตรฐาน แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "History of the American Heart Association". heart.org. สืบค้นเมื่อ 11 March 2015.
  2. 2.0 2.1 "First guidelines issued to prevent stroke in women". CBS News.
  3. 3.0 3.1 "The Charities Americans Like Most And Least," The Chronicle of Philanthropy, December 13, 1996 and USA Today, December 20, 1994, "Charity begins with health", FINAL 01D
  4. "President of the American Heart Association". Heart.org.
  5. Tye, Larry (1998). The Father of Spin: Edward L. Bernays & the Birth of Public Relations. p. 74. ISBN 978-0-517-70435-6.
  6. Kritchevsky, David (9 April 1997). History of Recommendations to the Public about Dietary Fat. Experimental Biology 97, Evolution of Ideas about the Nutritional Value of Dietary Fat. New Orleans, LA: American Society for Nutritional Science.
  7. "2017 Guideline for High Blood Pressure in Adults - American College of Cardiology". American College of Cardiology.
  8. "American Heart Association, Ad Council launch Hands-Only CPR campaign". heart.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-08. สืบค้นเมื่อ 2011-07-19.
  9. "Association's Campaign Inspires Teens to Use CPR, AEDs to Save Lives". prnewswire.com.
  10. "About Go Red". goredforwomen.org. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  11. Deena Centofanti (June 6, 2012). "'Stifler's mom' helping promote hands only CPR". Fox 2 Detroit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2012. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
  12. Maria Masters (June 6, 2012). "The New Rules of CPR". Family Circle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2012. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
  13. Pedro F. Frisneda/EDLP (June 6, 2012). "Neoyorquinos aprenden a salvar vidas". ImpreMedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
  14. "Media Center". American Heart Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
  15. 15.0 15.1 Greer, Whitney (April 6, 2012). "Michelle Williams: The Power To End Stroke". BlackDoctor.org. สืบค้นเมื่อ 8 October 2012.
  16. "States Should Heed Strong Support for Raising Tobacco Age of Sale, Says American Heart Association | American Heart Association". newsroom.heart.org.
  17. "Charity Dynamics and Mitek Enhance the Experience for More Than Two Million American Heart Association Fundraisers with Mobile Check Deposit". Mitek (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  18. "Melania Trump - The White House". whitehouse.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-14. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้