สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นคอลัมนิสต์ประจำเว็บไซด์ประชาไท[1]นักกิจกรรมแรงงาน ประธานสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตย, แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, และบรรณาธิการบริหารนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศกล่าวปาฐกถาในการชุมนุมครบรอบ 1 ปี จากความจริงสู่ความหวัง ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564
เกิด20 กันยายน พ.ศ. 2504 (62 ปี)
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพนักเขียน, นักหนังสือพิมพ์, นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
มีชื่อเสียงจากนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน
รางวัล

ประวัติ แก้

สมยศจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีประวัติเคลื่อนไหวด้านแรงงานเรื่อยมา โดยเป็นคนคุมแรงงานออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องกับรัฐบาลในหลายครั้ง เคยเขียนบทความต่อต้านรัฐบาลทักษิณในเว็บไซต์ของ Thai NGO ชื่อบทความ "พฤติกรรมเผด็จการรัฐบาลทักษิณ"

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 สมยศได้รับเลือกให้เป็นแกนนำชุดที่ 2 ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นอกจากนี้เขายังเป็นประธานกลุ่ม 24 มิถุนา และเจ้าของนิตยสารและสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ อีกด้วย บล็อก Anti-Corruption Center อ้างว่าเขาคือ "ประดาบ" คอลัมนิสต์ออนไลน์ชื่อดังแห่งเว็บ ไฮ-ทักษิณ ภายในวันเดียวกันที่ เว็บไซต์ผู้จัดการได้นำเอาข่าวจากบล็อก Anti-Corruption Center มาเปิดเผยตัวตนของประดาบนั้นเอง ประดาบออกมาเขียนบทความ "ประดาบก็คือประดาบ" ตอบโต้ในเว็บไซต์ไฮ-ทักษิณ เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่สมยศ และยินดีจะเปิดเผยตัวตนเมื่อ วาระแห่งกาลอวสานของเผด็จการ

ร่วมผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม แก้

ขณะที่สมยศทำงานเป็นนักกิจกรรมแรงงาน เขาได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดัน พรบ ประกันสังคม ในยุครัฐบาลชาติชาย จนเกิดเป็นกฎหมายในที่สุด[2]

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แก้

การถูกจับกุมครั้งแรก แก้

เวลาประมาณ 12:00 ของวันที่ 30 เมษายน 2554 สมยศถูกควบคุมตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประทศ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งต่อเขาว่า เขาถูกออกหมายจับโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในข้อหาตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (หรือรู้จักในชื่อทั่วไปว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ")[3]โดยในขณะที่สมยศเป็นบรรณาธิการว๊อยซ์ออฟทักษิณ ได้มีบทความ บางบทความ ที่มีลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อาทิ บทความ บ้านจะดีต้องเริ่มที่พ่อ[4] ผู้เขียนได้แก่ ดร.ชนาธิป ศิริปัญญาวงค์ เขาซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกจับกุมในขณะที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ได้รับการปล่อยตัวในรัฐบาลเผด็จการทหาร

ทนายความของสมยศได้พยายามติดต่อขอประกันตัวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ไม่ได้ประกันตัว[5]

ภายหลังที่สมยศถูกจับ มีการออกแถลงการณ์คัดค้านการคุกคามเสรีภาพของประชาชนโดยใช้กฎหมายนี้ จากกลุ่ม Article 112[6] และสหภาพแรงงานประเทศเนปาล ได้ส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นให้ปล่อยตัวทันที หรือ ขอให้ได้รับการประกันตัว[7]เขาได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมจำคุก 7 ปี โดยโทษจำคุกนี้รวมคดีหมิ่นประมาท พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร แล้ว

ในระหว่างรับโทษจำคุกเขาจบปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปี 2558

การถูกจับกุมครั้งที่ 2 โทษฐานยุยงปลุกปั่นและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แก้

สมยศถูกออกหมายจับตามความผิดมาตรา 116 และถูกจับกุมในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 จากการปราศรัยในการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8] โดยได้รับการปล่อยตัวครั้งแรกจากการยกคำร้องขอฝากขังในเวลาเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พร้อมด้วย อานนท์ นำภา เอกชัย หงส์กังวาน และ สุรนาถ แป้นประเสริฐ[9]

ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้มีการนัดหมายพิจารณาสำนวนคดีการชุมนุม ประกอบด้วยข้อหาหลักคือความผิดตามมาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น และมาตรา 112 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา จากการปราศรัยในการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 กันยายน พ.ศ. 2563 [10] ร่วมกับ พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำพา และ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม โดยศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว[11]

ระหว่างการรับโทษ ในการนัดตรวจพยานหลักฐานที่พนักงานอัยการเป็นโจทย์ฟ้องเมื่อวันที่ 29 มีนายคม พ.ศ. 2564 สมยศได้ขอให้ศาลตัดสินโทษประหารชีวิตแก่ตัวเขา เพื่อยุติปัญหาทั้งหมด เนื่องจากไม่ได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาคดี ทั้งในส่วนของการประกันตัวเพื่อต่อสู้ รวมถึงมีอายุมากแล้ว คิดว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่คดีสิ้นสุด ซึ่งต่อให้คดีสิ้นสุดแล้วผลออกมาว่าศาลยกฟ้อง ตนและคนอื่น ๆ ก็ถือว่าถูกจำคุกไปแล้ว หากศาลฟ้อง ตนก็ถูกจำคุกอยู่ดี จึงต้องการให้ตัดสินโทษประหารชีวิต เพื่อช่วยลดระยะเวลาการพิจารณาคดีให้คนอื่นได้เร็วขึ้น และไม่ต้องมีประชาชนต้องบาดเจ็บเนื่องจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่เพื่อประท้วงให้ปล่อยตัวตน[12]

ภายหลังได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พร้อมกันกับนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน[13]

รางวัลและเกียรติยศ แก้

  • รางวัลเกียรติยศชุนแตอิล ครั้งที่ 24[14] โดยสมาพันธ์แรงงานเกาหลี (2559)[15]

อ้างอิง แก้

  1. สมยศ พฤกษาเกษมสุข: สมควรลงโทษประหารชีวิตพวกเศษเดนมนุษย์หรือไม่ ?
  2. สมยศเล่าเรื่องความเป็นมาของ พรบ ประกันสังคม
  3. รวบ "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ที่ด่านอรัญ แจ้งข้อหา112 เตรียมส่ง "ดีเอสไอ"
  4. แค้นฟ้า! “สื่อทักษิณ” เดินหน้ากดดันเบื้องสูงหนัก
  5. สมยศไม่ได้ประกันคดีหมิ่นฯยันสู้ต่อยกเลิก112 ทนายเผยเกมการเมืองช่วงเลือกตั้งเจตนาโยงทักษิณ
  6. กลุ่ม article 112 ออกแถลงการณ์กรณี ‘สมยศ’ ค้านการใช้กฎหมายหมิ่นฯ คุกคามประชาชน
  7. สหภาพแรงงานประเทศเนปาล ส่งสารถึงนายกรัฐมนตรีไทย
  8. "สมยศ กับ ม.112 ครั้งที่ 2: "ไม่มีอะไรซับซ้อน สิ่งที่เราเคยพูดก็พูดต่อ"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  9. "ปล่อยตัวทนายอานนท์ และนักกิจกรรม 3 คน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  10. "การชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร". freedom.ilaw.or.th.
  11. "ศาลไม่ให้ประกัน "เพนกวิน-อานนท์-สมยศ-หมอลำแบงค์"". Thai PBS. 2021-02-09.
  12. Bhattarada (2021-03-29). ""สมยศ" จำเลย 112 ขอศาลตัดสิน "โทษประหารชีวิต" เพื่อยุติปัญหา". ประชาชาติธุรกิจ.
  13. matichon (2021-04-23). "ปล่อยตัว 'สมยศ-ไผ่ ดาวดิน' มวลชนแห่ให้กำลังใจ". มติชนออนไลน์.
  14. "Newsletter - KHMU INFO <9> November 15, 2016 Thai Prisoner of Conscience Somyot Prueksakasemsuk Is Awarded The Jeon Tae Il Labour Prize". bogun.nodong.org (ภาษาเกาหลี). 2016-11-15.
  15. Ltd.Thailand, VOICE TV. "สมาพันธ์แรงงานเกาหลีมอบรางวัล 'สมยศ'". VoiceTV.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้