สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

ศาสตราภิชาน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) ประธานกรรมการบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประธานพรรคสร้างอนาคตไทยอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานกรรมการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ อดีตรองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และอดีตรองประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ อดีตเคยดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีดร.ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย และยังเป็นที่ปรึกษาและอดีตสมาชิกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557)

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าธารินทร์ นิมมานเหมินท์
ถัดไปสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ถัดไปทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าทนง พิทยะ
ถัดไปเกริกไกร จีระแพทย์
รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปสุวิทย์ เมษินทรีย์ (รัฐมนตรีว่าการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544–2550)
รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2554)
พลังประชารัฐ[2] (2561–2563)
สร้างอนาคตไทย[3] (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ชื่อเล่นชื่อว่า กวง[4] เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2496 ที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนครเป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษาปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์การคลัง และ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า และปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่ Kellogg School of Management, มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ศาสตราภิชาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์") ในปี 2550 มีบุตร 3 คน ได้แก่ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ (สมรสกับ อาจารย์วณิศรา บุญยะลีพรรณ) ดร. ณพล จาตุศรีพิทักษ์ (สมรสกับ ภาวิณี ปราณีประชาชน) และ นาย ณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นาย ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อภิรดี ตันตราภรณ์

การทำงาน แก้

งานการเมือง แก้

  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ทนง พิทยะ)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ศ.สม จาตุศรีพิทักษ์)
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • 17 กุมภาพันธ์ 2544 – 9 ตุลาคม 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 9 ตุลาคม 2544 – 3 ตุลาคม 2545 รองนายกรัฐมนตรี
  • 3 ตุลาคม 2545 – 8 กุมภาพันธ์ 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 8 กุมภาพันธ์ 2546 – 9 มีนาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี
  • 10 มีนาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 11 มีนาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี[5]
  • 11 มีนาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 2 สิงหาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[6]
  • 15 กุมภาพันธ์ 2550 – 21 กุมภาพันธ์ 2550 ประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ชีวิตภายหลังการรัฐประหาร 2549 แก้

สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยม หรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของสมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง

หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้ทำการลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย ต่อมาในปี 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[7] จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค

ในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 เขาขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป้นโจทก์ฟ้องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฉ้อโกง ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้อง[8]

สมคิด ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[9]

หลังการรัฐประหาร 2557 แก้

สมคิด ได้เข้ารับหน้าที่ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดูแลรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 2558 สมคิดจึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และปรับให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เขาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กรณีกระทรวงการคลังไล่ออกสาธิต รังคสิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประวัติ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เปิดหน้าชิงนายกรัฐมนตรี ลงเลือกตั้ง". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-05-15.
  3. "เปิดชื่อ 16 กรรมการบริหารพรรคสร้างอนาคตไทย สมคิด แคนดิเดตนายกฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-04-20.
  4. กุนซือมือ1 แยบยลกลเศรษฐกิจ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" คนเก่งอยู่ได้ทุกรัฐบาล
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๒๒ ง หน้า ๑, ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๕๗ ง หน้า ๑, ๒ สิงหาคม ๒๕๔๘
  7. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  8. ขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  9. "บุญจง ยัน ภท.มีเอกภาพ ปัดสมคิด เป็นหัวหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-19. สืบค้นเมื่อ 2019-01-14.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๔๓ ง หน้า ๗, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ถัดไป
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ยงยุทธ ยุทธวงศ์
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 6162)
(19 สิงหาคม 2558 – 14 กรกฎาคม 2563)
  สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
สุวิทย์ คุณกิตติ   รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(9 ตุลาคม 2544 – 3 ตุลาคม 2545)
  จาตุรนต์ ฉายแสง
นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
วิษณุ เครืองาม
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
พินิจ จารุสมบัติ
สมศักดิ์ เทพสุทิน
  รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 55)
(11 มีนาคม 2548 – 19 กันยายน 2549)
  หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 54)
(17 กุมภาพันธ์ 2544 – 8 กุมภาพันธ์ 2546)
  ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 5455)
(10 มีนาคม 2548 – 2 สิงหาคม 2548)
  ทนง พิทยะ
ทนง พิทยะ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 55)
(2 สิงหาคม 2548 – 19 กันยายน 2549)
  เกริกไกร จีระแพทย์