สภาอารักษ์ (เปอร์เซีย: شورای نگهبان‎ Guardian Council) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ประกอบด้วยสมาชิกสิบสองคนซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจและอิทธิพลกว้างขวางในประเทศ และมีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายของรัฐสภา

สภาอารักษ์
ประเภท
ประเภท
คณะผู้จัดการเลือกตั้ง
ศาลรัฐธรรมนูญ
คณะผู้ตรวจสอบรัฐสภา
ผู้บริหาร
เลขาธิการ
Ahmad Jannati
ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 1992
สมาชิก12 คน
ที่ประชุม
เตหะราน ประเทศอิหร่าน
เว็บไซต์
Official website

รัฐธรรมนูญอิสลามของอิหร่านบัญญัติให้สภาอารักษ์ประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท ประเภทละหกคน ได้แก่[1]:

  • ปราชญ์กฎหมายอิสลาม (ฟากิฮ์) ได้รับเลือกโดยผู้นำสูงสุด
  • นักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญกฎหมายหลายสาขา ถูกเสนอชื่อโดยประธานศาลสูงสุด และได้รับเลือกโดยรัฐสภาอิหร่าน

สภาอารักษ์รับผิดชอบการวินิจฉัยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของอิหร่าน, กำกับดูแลการเลือกตั้ง, อนุมัติผู้ถูกเสนอชื่อเป็นสมาชิกสมัชชาปราชญ์และประธานรัฐสภา ตลอดจนตรวจพิจารณาว่าบรรดาร่างกฎหมายที่ผ่านรัฐสภา ไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลามและรัฐธรรมนูญ[2]

สภาอารักษ์เป็นสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่กลับมีอำนาจเด็ดขาดเหนือรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน[3] ตลอดเวลาที่ผ่านมา กฎหมายที่เอื้อสิทธิสตรี, การปฏิรูประบบเลือกตั้ง, กฎหมายห้ามการทรมาณกรรม และการให้สัตยาบันในสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับนานาชาติ ตลอดจนกฎหมายที่มีความเปิดกว้างอย่างอื่น ต่างถูกยับยั้งโดยสภาอารักษ์[4]

อ้างอิง แก้

  1. Inc., Manou & Associates. "Iranian Government Constitution, English Text". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-17.
  2. มาตรา 96 และ 94 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
  3. The Iranian Regime: Human Rights and Civil Liberties Under Siege, U.S. State Department Fact Sheet, April 18, 2007. Retrieved September 23, 2008.
  4. "Overview of Human Rights Issues in Iran". Human Rights Watch. 2005-01-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-28.