สภาสังคายนาสากล

ในศาสนาคริสต์ สภาสังคายนาสากล[1][2] (อังกฤษ: Ecumenical council หรือ oecumenical council หรือ general council) คือการประชุมบรรดามุขนายกและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์จากคริสตจักรทั่วโลก เพื่อสังคายนาหรือหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่องหลักความเชื่อและการปฏิบัติที่ขัดแย้งกันอยู่ในขณะนั้น

คำว่า “Οικουμένη” เป็นภาษากรีกแปลว่า “โลกที่อยู่อาศัย” หรือในความหมายแคบคือจักรวรรดิโรมันนั่นเอง เพราะการประชุมในสมัยแรก ๆ ริเริ่มโดยจักรพรรดิโรมัน แต่ต่อมาคำนี้ก็นำมาใช้กันโดยทั่วไปในความหมายที่หมายถึง “คริสตจักร” หรือประชาคมคริสต์ศาสนิกชน “ทั่วโลก” หรือในแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์

สภาสังคายนาครั้งสุดท้ายที่เป็นที่ยอมรับจากทั้งฝ่ายโรมันคาทอลิกและออร์ทออดกซ์คือสังคายนาไนเซียครั้งที่สองปี ค.ศ. 787 ซึ่งถือเป็นสังคายนาครั้งที่ 7 ฉะนั้นสภาสังคายนาสากลเจ็ดครั้งแรกนี้จึงมีความสำคัญเพราะผลจากการประชุมทั้ง 7 ครั้งนั้นก็ที่เป็นที่ยอมรับกันในหลายนิกายที่รวมทั้งฝ่ายโปรเตสแตนต์ด้วย ฉะนั้นตามความคิดเห็นสมัยใหม่การประชุมสภาสังคายนา หรือ “Ecumenical council” ที่แท้จริงก็คือการประชุมทั้ง 7 ครั้งแรกที่กล่าวนี้เท่านั้น “สภาควินิเซ็กซท์” (Quinisext Council) ไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็น “สังคายนาแห่งควินนิเซ็กซท์” โดยโรมันคาทอลิกแต่อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ถือว่าเป็น “สภาสังคายนา” หรือที่เรียกว่าการประชุมสังคายนาแห่งคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่ 3 เมื่อปี ค.ศ. 680 (Third Council of Constantinople)

ถ้าการประชุมเป็นการประชุมท้องถิ่นก็จะเรียกว่า “ซีนอด” (synod) คำว่า “σύνοδος” มาจากคำว่า “syn” และ “odos” ในภาษากรีก “σύν” และ “οδος” ซึ่งแปลว่า “ทาง” หรือ “ถนน” ฉะนั้นจึงหมายถึงผู้ที่มาพบปะกันระหว่างผู้ที่มีพื้นฐานอย่างเดียวกัน ในกรณีนี้คือนักบวชในคริสต์ศาสนา

เอกสารจากการประชุม แก้

เอกสารจากสภาสังคายนาก็คล้ายคลึงกับระบบงานในสำนักงาน ระหว่างการประชุมก็จะออกเอกสารเวียน กล่าวและโต้สุนทรพจน์ ออกเสียง และในที่สุดก็ออกบัญญัติและแจกจ่ายเอกสารให้แก่ผู้เหมาะสม เช่นการประกาศว่าความเชื่อใดที่ถือว่านอกรีต

กฎหมายที่ออกโดยสภาเรียกว่า “Canon” มาจากคำว่าในภาษากรีก “κανονες” - “kanones” ซึ่งแปลว่า “กฎ” หรือ “การดำเนินตามกฎ” ที่พิมพ์ขึ้น ซึ่งก็ยังมีหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน ในบางกรณีก็พร้อมด้วยเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายจากสภาสังคายนาเป็นรากฐานสำคัญของการวิวัฒนาการของ “กฎหมายศาสนจักร” (Canon law) โดยเฉพาะการวิจัยกฎบางข้อที่ขัดแย้งกันเองหรือการจัดแบ่งความสำคัญของกฎบัตรแต่ละข้อ กฎหมายศาสนจักรจะประกอบด้วยคำแถลงการณ์และบทลงโทษทางวินัยถ้ากฎถูกละเมิด สภาสังคายนามักจะทำการลงโทษทางวินัยในทันที่ที่มีการละเมิดกฎ ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ถือว่ากฎบัตรที่ออกโดยสภาสังคายนาเป็นกฎตายตัวและมีอำนาจครอบคลุมคริสตจักรที่อยู่ในเครือข่ายในขณะที่การลงโทษจะขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ซึ่งกฎบัตรอาจจะมีหรือไม่มีความหมายต่อสถานะการณ์ก็ได้

รายชื่อสภาสังคายนา แก้

สภาสังคายนาแห่งเยรูซาเลม แก้

หนังสือกิจการของอัครทูตบันทึกว่าสังคายนาเยรูซาเลมซึ่งเป็นการกล่าวปราศัยถึงความตึงเครียดระหว่างการพยายามรักษาจารีตของชาวยิวในศาสนาคริสต์ยุคแรกและผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ แม้ว่ามติของที่ประชุมเป็นที่ยอมรับในคริสตจักร[3] และต่อมาคำจำกัดความของสภาสังคายนาก็ดูจะสอดคล้องกับสภาพระคัมภีร์ (Biblical Council) แต่การประชุมครั้งนี้ไม่นับว่าอยู่ในรายการการประชุมสภาสังคายนาอย่างเป็นทางการ

สภาสังคายนาเจ็ดครั้งแรก แก้

สภาสังคายนาครั้งที่แปด แก้

สภาสังคายนาของอีสเติร์นออร์โธดอกซ์ แก้

สภาสังคายนาของโรมันคาทอลิก แก้

อ้างอิง แก้

  1. อารัมภบทบรรทัดที่ 1 ของคำแถลงของสภาสังคายนาเรื่องการอบรมตามหลักพระคริสตธรรม
  2. บัญญัติศัพท์, เขตมิสซังกรุงเทพฯ, หน้า 12
  3. Karl Josef von Hefele's commentary on canon II of Gangra notes: "We further see that, at the time of the Synod of Gangra, the rule of the Apostolic Synod with regard to blood and things strangled was still in force. With the Greek Orthodox Church, indeed, it continued always in force as their Euchologies still show. Theodore Balsamon also, the well-known commentator on the canons of the Middle Ages, in his commentary on the sixty-third Apostolic Canon, expressly blames the Latins because they had ceased to observe this command. What the Latin Church, however, thought on this subject about the year 400, is shown by St. Augustine in his work Contra Faustum, where he states that the Apostles had given this command in order to unite the heathens and Jews in the one ark of Noah; but that then, when the barrier between Jewish and heathen converts had fallen, this command concerning things strangled and blood had lost its meaning, and was only observed by few. But still, as late as the eighth century, Pope Gregory the Third 731 forbade the eating of blood or things strangled under threat of a penance of forty days. No one will pretend that the disciplinary enactments of any council, even though it be one of the undisputed Ecumenical Synods, can be of greater and more unchanging force than the decree of that first council, held by the Apostles at Jerusalem, and the fact that its decree has been obsolete for centuries in the West is proof that even Ecumenical canons may be of only temporary utility and may be repealed by disuser, like other laws."