พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย (20 มิถุนายน พ.ศ. 2460 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554) อดีตรองนายกรัฐมนตรี (2 สมัย) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย และ อดีตรองผู้บัญชาการทหารเรือ

สนธิ บุณยะชัย
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มิถุนายน พ.ศ. 2460
เสียชีวิต4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 (94 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงผคุณ บุณยะชัย

ประวัติ แก้

พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2460 เป็นบุตรของขุนอนุสิทธิ์พิรุฬการ (ไชยา บุณยะชัย) และนางต่วน บุณยะชัย[1] เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส.ก.5991 และ โรงเรียนนายเรือ สมรสกับคุณหญิงผคุณ บุณยะชัย มีบุตร-ธิดา 2 คน

การทำงาน แก้

พลเรือเอก สนธิ เริ่มรับราชการทหารเรือ ยศเรือตรี เมื่อ พ.ศ. 2483 และมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ เสนาธิการ กรมนาวิกโยธิน เจ้ากรมการเงินทหารเรือ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร รองผู้บัญชาการทหารเรือ และตุลาการศาลทหารสูงสุด[2]ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2520

งานการเมือง แก้

พลเรือเอก สนธิ เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ สมาชิกวุฒิสภา ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งซ่อม พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2526 รวม 2 สมัย [3]

พลเรือเอก สนธิ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี 2 สมัย เมื่อ พ.ศ. 2526[4] และ พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

พลเรือเอกสนธิ บุณยะชัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 (เลือกตั้งซ่อม) กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการปอดอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สิริอายุรวม 94 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือ วัดเครือวัลย์วรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย ร.น.. 2555
  2. ภาพข่าวในพระราชสำนัก[ลิงก์เสีย]
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 60ง วันที่ 16 พฤษภาคม 2528
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 71 ตอนที่ 4 หน้า 181, 12 มกราคม 2497