สนธิสัญญาแวร์ซายน้อย

สนธิสัญญแวร์ซายน้อย (อังกฤษ: Little Treaty of Versailles) หรือ สนธิสัญญาน้อยโปแลนด์ (อังกฤษ: Polish Minority Treaty) เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาน้อยสองฝ่ายที่ลงนามระหว่างประเทศขนาดเล็กกับสันนิบาตชาติ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สนธิสัญญาโปแลนด์ได้รับการลงนามในวันที่ 28 มิถุนายน 1919 ซึ่งถือว่าเป็นสนธิสัญญาน้อยฉบับแรกและเป็นแม่แบบในสนธิสัญญาหลายฉบับในเวลาต่อมา รวมไปถึงในมาตราที่ 87-93 ของสนธิสัญญาแวร์ซายได้เป็นการรับรองโปแลนด์ให้เป็นประเทศเอกราชในเวทีโลก[1][2][3]

เบื้องหลัง แก้

โปแลนด์ได้รับเอกราชอีกครั้งหนึ่ง (เป็นสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง) หลังจากการแบ่งประเทศที่กินเวลานานกว่า 123 ปี ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศฝ่ายชนะสงครามได้ตัดสินใจมอบเอกราชให้เนื่องจากปัญหาชนกลุ่มน้อยที่สำคัญในดินแดนโปแลนด์และการสู้รบในท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจากสงคราม (ประกอบด้วย สงครามโปแลนด์-ยูเครน ในปี 1918-1919 และ สงครามโปแลนด์-โซเวียต ในปี 1919-1920) ซึ่งประเทศฝ่ายชนะสงครามมองว่า โปแลนด์สมควรที่จะเป็นประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญาน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นความต้องการที่จะรับรองเอกราชของโปแลนด์และเปิดโอกาสให้โปแลนด์ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอรมนี นอกจากนั้น สนธิสัญญาดังกล่าวยังให้โปแลนด์ได้รับเงินจ่ายค่าหนี้จากรัฐรัสเซีย

สนธิสัญญา แก้

สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการลงนามจากผู้แทนโปแลนด์ (Roman Dmowski และ Ignacy Daszyński) ที่แวร์ซาย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 รัฐสภาของโปแลนด์ได้อนุมัติสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 1919 และทำให้มั่นคงขึ้นในวันที่ 10 มกราคม 1920 โปแลนด์ประกาศยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าวในที่ประชุมสันนิบาติชาติที่เจนีวาเมื่อวันที่ 13 กันยายน 1934

เชิงอรรถ แก้

  1. Lauterpacht, Elihu Lauterpacht, C. J. Greenwood, A.G. Oppenheimer, International Law Reports, Cambridge University Press, 1998, ISBN 0521580706, Google Print, p.537
  2. Christian L. Wiktor, Multilateral Treaty Calendar: Répertoire Des Traités Multilatéraux, 1648-1995, Martinus Nijhoff Publisher, 1998, ISBN 9041105840, Google Print, p.188
  3. Thomas D. Grant, The Recognition of States: Law and Practice in Debate and Evolution, Praeger/Greenwood, 1999, ISBN 0275963500Google Print, p.114

อ้างอิง แก้