สถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์

สถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์ (อังกฤษ: Brutalist architecture) มีช่วงรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 1951 ถึง 1975 เป็นสถาปัตยกรรมที่สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20[1] คำว่า Nybrutalism (New Brutalism) เดิมมีต้นกำเนิดจากสถาปนิกชาวสวีเดน ฮันส์ แอสพลันด์ (Hans Asplund) ในปี 1950 เพื่ออธิบายถึงอาคารวิลลาเกิท (Villa Göth) ในอุปซอลา[2] สถาปนิก อลิสันและปีเตอร์ สมิทสัน เป็นผู้แนะนำคำว่า "Brutalism" ให้กับหมู่ผู้พูดภาษาอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950[3] จนมีการใช้อย่างกว้างขวางหลังนักวิจารณ์สถาปัตยกรรมชาวอังกฤษ เรย์เนอร์ แบนัม (Reynor Banham) ในบทความปี 1955 ที่ชื่อบทความ The New Brutalism โดยใช้คำว่า "Brutalism" เพื่ออธิบายจรรยา (ethic) และรูปแบบความงาม (aesthetic style)[4] ในบทความเดียวกัน เขายังใช้คำนี้กับ ศิลปะดิบ (Art Brut) และงาน béton brut (คอนกรีตเปลือย) ของเลอกอร์บูซีเยในฝรั่งเศส โดยถือเป็นการใช้คำนี้เป็นครั้งแรก[2][5][6] ปัจจุบันคอนกรีตถือเป็นวัสดุที่ใช้การทั่วไปของสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์ แต่ก็อาจมีการใช้วัสดุอื่นเช่น อิฐ กระจก เหล็ก หินตัดหยาบ ๆ

แฮบิแทต 67 ประเทศแคนาดา
อาคารรูปแบบบรูทัลลิสต์แห่งหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง แก้

  1. Đorđe, Alfirević & Simonović Alfirević, Sanja: Brutalism in Serbian Architecture: Style or Necessity? Facta Universitatis: Architecture and Civil Engineering (Niš), Vol. 15, No. 3 (2017), pp. 317–331.
  2. 2.0 2.1 Meades, Jonathan (2014-02-13). "The incredible hulks: Jonathan Meades' A-Z of brutalism". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-10.
  3. Bull, Alun (2013-11-08), What is Brutalism?, สืบค้นเมื่อ 2018-10-10
  4. Review, Architectural (2014-05-15). "The New Brutalism". On Architecture. สืบค้นเมื่อ 2018-10-10.
  5. McClelland, Michael, and Graeme Stewart, "Concrete Toronto: A Guide to Concrete Architecture from the Fifties to the Seventies," Coach House Books, 2007, p. 12.
  6. British Brutalism. World Monument Fund.