สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (อังกฤษ: Embassy of the United States, Tehran; เปอร์เซีย: سفارت ایالات متحده آمریکا، تهران) เป็นที่ตั้งของคณะผู้แทนทางทูตจากประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยจักรวรรดิอิหร่าน. มีหน้าที่เป็นคณะผู้แทนทางทูตระหว่างสองประเทศ จนถึงปีค.ศ.1979 ในช่วงการปฏิวัติอิหร่าน และมีการบุกสถานทูตในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1979[1][2]

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
เปอร์เซีย: سفارت ایالات متحده آمریکا، تهران

มหาลัญจกรสหรัฐที่ถูกทำลาย
ที่ตั้งอิหร่าน เตหะราน, ประเทศอิหร่าน
พิกัด35°42′29″N 51°25′26″E / 35.708°N 51.424°E / 35.708; 51.424
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะรานตั้งอยู่ในประเทศอิหร่าน
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน
ตำแหน่งที่ตั้งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเตหะรานในประเทศอิหร่าน

ประวัติ แก้

 
ตึกแชนเซลีย์ที่มองจากถนนตาเลฆานีในปี ค.ศ.2005 มีป้ายที่อ่านว่า "ความตายจงประสบกับอเมริกา"

สถานทูตนี้ ออกแบบโดย Ides van der Grachtในปี ค.ศ.1948 คนเดียวกันที่ออกแบบสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศตุรกี โดยเป็นตึกยาวสองที่ ตัวตึกทำมาจากอิฐ เหมือนกับไฮสกูลแบบอเมริกันในช่วงทศวรรษที่ 1930s และ 1940s บางครั้งตึกนี้มีชื่อเล่นว่า "เฮนเดอร์สัน ไฮ" โดยคนในสถานทูต ซึ่งอ้างอิงถึง ลอย ดับเบิลยู. เฮนเดอร์สัน ผู้ที่เป็นเอกอัคราชทูตคนแรกของสหรัฐประจำประเทศอิหร่านในปีค.ศ.1951[3]

หลังจากสถานทูตถูกยึดแล้ว ทางกลุ่มผู้ปฏิวัติใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมของกองทัพต่อ[4] และเป็นที่เก็บหนังสือกับพิพิธภัณท์[5] บางส่วนของสถานทูตกลายเป็นพิพิธภัณท์ต่อต้านอเมริกา[6] ในเดือนมกราคม ค.ศ.2017 มีการเปิดเขตนี้ต่อสาธารณะชนและชาวต่างชาติ มหาลัญจกรสหรัฐได้รับความเสียหายอย่างมาก แต่ยังคงเห็นเป็นลาง ๆ ได้

และกลุ่มนักศึกษาชาวมุสลิมที่ตามอิหม่ามได้เผยแพร่เอกสารในตอนที่บุกสถานทูต (รวมถึงเอกสารที่ถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ) ในหนังสือเรื่อง "เอกสารจากห้องจารกรรมของสหรัฐ" (เปอร์เซีย: اسناد لانه جاسوس امریكا, Asnād-e lāneh-e jasusi Amrikā).[7] โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับโทรเลข, จดหมาย และรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกับสำนักข่าวกรองกลาง ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นความลับในปัจจุบัน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Former American Embassy in Iran Attracts Pride and Dust". The New York Times. 2013-10-31.
  2. "Former U.S. Embassy in Iran: mistrust endures where hostages held". CNN. 2014-01-30.
  3. The architecture of diplomacy: building America's embassies ADST-DACOR diplomats and diplomacy series. Jane C. Loeffler. Publisher Princeton Architectural Press, 1998. ISBN 1-56898-138-4 p. 56
  4. "The Great Satan's Old Den: Visiting Tehran's U.S. Embassy". Time. 2009-07-14.
  5. Inside The Former US Embassy In Tehran, Iran
  6. Pleitgen, Fred (July 1, 2015). "Inside the former U.S. Embassy in Tehran". CNN.
  7. Documents from the U.S. Espionage Den

แหล่งข้อมูลอื่น แก้