สถานีสุรศักดิ์ (อังกฤษ: Surasak station; รหัส: S5) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม โดยโครงสร้างสถานีอยู่เหนือถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ในพื้นที่เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร

สุรศักดิ์
S5

Surasak
สถานีสุรศักดิ์จากมุมสูง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′9.26″N 100°31′17.32″E / 13.7192389°N 100.5214778°E / 13.7192389; 100.5214778
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS5
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25641,198,528
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
เซนต์หลุยส์ สายสีลม สะพานตากสิน
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

อยู่เหนือคลองสาทรและถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ ด้านทิศตะวันออกของทางแยกสาทร–สุรศักดิ์ ใกล้ทางแยกสาทร–ประมวญ หน้าหอการค้าไทย–จีน ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (สะพานตากสิน)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (เซนต์หลุยส์)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
หอการค้าไทย–จีน และอาคารไทยซีซี

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง โดยที่ระดับความสูงชานชาลาจะมากกว่าปกติที่ 19 เมตร เนื่องมาจากเส้นทางรถไฟฟ้าจากด้านตะวันตกจะต้องข้ามทางพิเศษศรีรัชก่อนถึงสถานี

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

ทางเข้า-ออก แก้

 
คอนโด เดอะแบงค็อก สาทร

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หน้า เดอะ แบงค็อก สาทร และ ทางออก 4 บริเวณหน้าปากซอยสาทร 15

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[1]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.42 00.27
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.43 00.01
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.48

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น แก้

รถโดยสารประจำทาง แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
21E (4-7E)   5 (กปด.15) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) ขสมก. รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขสวัสดิ์ ลงด่านสาทร)
77 4 (กปด.24) เซ็นทรัลพระราม 3   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
77 รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
17 (4-3)   บิ๊กซีพระประแดง   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
77 (3-45)   เซ็นทรัลพระราม 3   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
149 (4-53)   บรมราชชนนี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
167 (4-26)   เคหะธนบุรี สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
167 (4-26) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
  • ถนนสาทรเหนือ-สาทรใต้ รถขสมก. สาย 77 รถเอกชน สาย 17 149

รถโดยสารอื่น ๆ แก้

  • รถรับส่งนักศึกษาและบุคลากรระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์การศึกษาในเมือง (Bangkok CODE) กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน
  • รถรับส่ง (shuttle bus) บริเวณทางออก 4 (ด้านหน้าอาคารไทยซีซี) ระหว่างสถานีสุรศักดิ์ - เทอร์มินอล 21 พระราม 3 ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 09.30 - 21.30 น. (เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 2565 เป็นต้นไป)[2]
  • ในอดีตเคยมีรถรับส่ง (shuttle bus) สายสุรศักดิ์ - วงเวียนใหญ่ ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.30 - 22.30 น. ในเส้นทางสถานีสุรศักดิ์ (S5) - ถนนเจริญนคร - ถนนลาดหญ้า - วงเวียนใหญ่ - ถนนตากสิน - ถนนกรุงธนบุรี - รพ.บางรัก - รพ.เซ็นหลุยส์ (จอดรับเฉพาะผู้โดยสารที่เข้าสถานี และส่งผู้โดยสารออกจากสถานีเท่านั้น) แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว

อุบัติเหตุ แก้

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เกิดเหตุผู้โดยสารลื่นล้มบันไดเลื่อนบริเวณทางเข้า-ออกที่ 3 ทำให้ล้มทับคนที่กำลังขึ้นสู่ด้านบนลงสู่ด้านล่างในลักษณะคล้ายโดมิโน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 27 ราย[3] สาเหตุจากสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมา และอยู่ในช่วงหลังจบคอนเสิร์ตครบรอบการก่อตั้งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย 170 ปี ทำให้บริเวณดังกล่าวมีความหนาแน่น[4] ต่อมาบีทีเอสซีชี้แจงว่าขณะเกิดเหตุนั้นบันไดเลื่อนไม่ได้ขัดข้อง และพร้อมดูแลผู้บาดเจ็บทุกคนอย่างดีที่สุด[5]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

 
ตึกไทยซีซี และ ภัตตาคารและโรงเรียนสอนประกอบอาหารไทย บลูเอเลฟเฟ่นท์

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน แก้

โรงแรม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  2. เปิดแล้ว ‘เทอร์มินอล 21 พระราม 3’ มหานครแห่งไลฟ์สไตล์ แลนด์มาร์กใหม่ติดเจ้าพระยา
  3. matichon (2022-08-20). "ตร.เผย #BTSสุรศักดิ์ วัยรุ่นเที่ยวงานรร.ดัง ขากลับเบียดขึ้นบันไดเลื่อน ลื่นตก เจ็บ 27". มติชนออนไลน์.
  4. "คืบหน้าล่าสุดอุบัติเหตุบันไดเลื่อนบีทีเอส สถานีสุรศักดิ์ คนกลับบ้านแน่นล้มเป็นโดมิโน". mgronline.com. 2022-08-20.
  5. ""บีทีเอส" ชี้แจงกรณีผู้โดยสารล้มจากบันไดเลื่อนบริเวณสถานีสุรศักดิ์". bangkokbiznews. 2022-08-20.