สถานีสุทธิสาร (อังกฤษ: Sutthisan Station, รหัส BL17) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านอาคารที่พักอาศัย โรงแรม สถานเริงรมย์บนถนนรัชดาภิเษก และสถานบันเทิงย่านสุทธิสาร

สุทธิสาร
BL17

Sutthisan
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL17
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 19 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25643,593,015
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ห้วยขวาง
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน รัชดาภิเษก
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

ถนนรัชดาภิเษก บริเวณกลางทางแยกรัชดา-สุทธิสาร จุดบรรจบถนนรัชดาภิเษกและถนนสุทธิสารวินิจฉัย ในพื้นที่แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง, แขวงห้วยขวาง และแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

บริเวณโดยรอบสถานีสุทธิสารเป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมือง โดยมีถนนสุทธิสารวินิจฉัยเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อกับถนนวิภาวดีรังสิต ในเขตดินแดง และเชื่อมต่อกับซอยลาดพร้าว 64 (ซอยเกตุนุติ) ไปยังชุมชนต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ตามโครงข่ายถนนซอยของถนนลาดพร้าว ในพื้นที่เขตห้วยขวางและวังทองหลาง

แผนผังสถานี แก้

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร
อาคารเมืองไทย-ภัทรคอมเพล็กซ์
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี แก้

สีสัญลักษณ์ของสถานี แก้

ใช้สีแดงตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีในย่านธุรกิจหรือตลาด [1]

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 19 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ความโดดเด่นของโครงสร้างสถานี แก้

 
อุโมงค์ลอดทางแยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร อยู่เหนือสถานีสุทธิสาร

มีพื้นที่ภายในสถานีเพียง 2 ชั้น คือชั้นออกบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา เนื่องจากพื้นที่ชั้นบนสุดของสถานีถูกนำไปก่อสร้างเป็นอุโมงค์ลอดทางแยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร ตามแนวถนนรัชดาภิเษก

ทางเข้า-ออก แก้

 
ทางเข้า-ออกที่ 3
  • 1 สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
  • 2 อาคารปรีชา , คอนโด Life@รัชดา-สุทธิสาร ,ซอยรัชดาภิเษก 20, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง (บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
  • 3 อาคารเมืองไทย-ภัทรคอมเพล็กซ์, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง (บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
  • 4 อาคารกฤษดาพลาซ่า, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว (บันไดเลื่อนขึ้น)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี แก้

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 2 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 1 (สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร)

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:57 23:45
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:59 23:45
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:54 23:52
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 23:52
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:06

รถโดยสารประจำทาง แก้

  • ถนนรัชดาภิเษก สาย 73 136 137 179 185 206 514 517


ถนนรัชดาภิเษก แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
73 (3)   อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ขสมก.
สนามกีฬาห้วยขวาง
136 (1) อู่คลองเตย สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
137 (2) วงกลม : รามคำแหง อู่พระราม 9 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

179 (3) อู่พระราม 9 สะพานพระราม 7 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
185 (3)   อู่รังสิต อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
206 (3)   อู่เมกาบางนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
514 (1)   อู่มีนบุรี   สีลม 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

 
แผนผังบริเวณสถานี

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน แก้

โรงแรม แก้

เหตุการณ์สำคัญในอดีต แก้

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลาประมาณ 18.20 น. รถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีสุทธิสารมุ่งหน้าสถานีหัวลำโพงได้เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคและหยุดวิ่งกะทันหัน โดยมีการประกาศแจ้งให้ผู้โดยสารออกจากขบวนรถทั้งระบบ ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างอยู่ตามสถานีต่าง ๆ จำนวนมาก สาเหตุเกิดจากมีสัญญาณไฟแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบระบบบางอย่างที่อาจขัดข้อง จึงต้องปิดระบบไฟฟ้าในช่วงระหว่างสถานีสุทธิสารและสถานีห้วยขวาง และต้องปรับเปลี่ยนการเดินรถโดยเปิดเดินรถเพียงอุโมงค์เดียวในช่วงระหว่างสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ถึงสถานีพหลโยธิน ผู้โดยสารจึงต้องใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 20 นาที จากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากระบบบ่อรับน้ำตัน ทำให้เกิดสัญญานเตือนให้หยุดรถชั่วคราวเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยเจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขและเดินรถได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น [3]

อ้างอิง แก้

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  3. หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ วันที่ 6 สิงหาคม 2551

แหล่งข้อมูลอื่น แก้