สถานีศาลาแดง (อังกฤษ: Sala Daeng station; รหัส: S2) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับเหนือถนนสีลมใกล้กับทางแยกศาลาแดง ในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสีลมของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในเวลาเร่งด่วนจะเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานเป็นอันดับที่ 2 รองจากสถานีสยาม เนื่องจากเป็นสถานีที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารสำนักงานจำนวนมาก

ศาลาแดง
S2

Sala Daeng
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′42.63″N 100°32′2.88″E / 13.7285083°N 100.5341333°E / 13.7285083; 100.5341333พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′42.63″N 100°32′2.88″E / 13.7285083°N 100.5341333°E / 13.7285083; 100.5341333
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
การเชื่อมต่อ สีลม
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS2
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (1999-12-05)
ผู้โดยสาร
25643,043,054
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ราชดำริ สายสีลม ช่องนนทรี
มุ่งหน้า บางหว้า
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สามย่าน
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน
เชื่อมต่อที่ สีลม
ลุมพินี
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

ถนนสีลม ด้านหน้าศูนย์การค้าสีลมคอมเพลกซ์ ใกล้กับทางแยกศาลาแดง (จุดบรรจบถนนพระรามที่ 4) ในพื้นที่แขวงสีลมและแขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (ช่องนนทรี)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (ราชดำริ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-6, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,
เซ็นทรัล สีลมคอมเพล็กซ์ และ สีลมคอมเพล็กซ์, ธนิยะ พลาซ่า
ทางเดินเชื่อมไปยัง   สีลม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, สีลม เอดจ์
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง,โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
, ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สีลม, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

รูปแบบของสถานี แก้

 
ประตูกั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีศาลาแดง

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา รวมทั้งมีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

ทางเข้า-ออก แก้

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้ทางวิ่งรถไฟฟ้า (skywalk) ได้แก่

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หน้าอาคารสีบุญเรือง

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[1]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.37 00.20
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.49 00.09
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.54

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง แก้

เหตุการณ์สำคัญ แก้

ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 20.00 น. เกิดการยิงเอ็ม 79 จำนวน 5 ลูก ในเหตุการณ์การเผชิญหน้าระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน และกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อหลากสี ระเบิดยิงเข้าบริเวณสถานีศาลาแดงและธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสีลม โดยสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดงเสียหายหลังคาเป็นรู ส่วนขบวนรถไฟฟ้าได้รับความเสียหายเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน จากสะเก็ดระเบิด[2] มีผู้บาดเจ็บ 87 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 27 ราย อาการสาหัส 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย

รถโดยสารประจำทาง แก้

ถนนสีลม แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ผู้ให้บริการ ประเภทของรถที่ให้บริการ หมายเหตุ
15 (2)   BRT ราชพฤกษ์ บางลําภู 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
21E (4-7E)   (1) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1..รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
76 (3)   อู่แสมดำ ประตูน้ำ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

77 (2) เซ็นทรัลพระราม 3   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

505 (3) ปากเกร็ด สวนลุมพินี 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
514 (1)   อู่มีนบุรี สีลม 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
77 (3-45)   เซ็นทรัลพระราม 3   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
115 (1-45)   สวนสยาม บางรัก บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
163 (4-55)   ศาลายา สนามกีฬาแห่งชาติ บจก.ไทยสมายล์บัส
167 (4-26)   เคหะธนบุรี สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
167 (4-26) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
504 (1-18E)   รังสิต บางรัก รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
3-52   เซ็นทรัลพระราม 3   สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) บจก.ไทยสมายล์บัส เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
4-68   สวนผัก ถนนตก
  • ถนนสีลม รถขสมก. สาย 15 76 77 514 รถเอกชน สาย 167 504 547

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน แก้

โรงแรม แก้

  • ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (กำลังก่อสร้าง) (โรงแรมดุสิตธานีเดิม)
  • โรงแรมคราวน์ พลาซา แบงค็อก ลุมพินี พาร์ค (โรงแรมแพน แปซิฟิก กรุงเทพเดิม)
  • โรงแรมสวิสลอดจ์
  • โรงแรมเซ็นเตอร์ พอยต์ สีลม
  • โรงแรมมณเฑียรกรุงเทพ
  • โรงแรมวอลล์สตรีท อินน์
  • โรงแรม โวโค กรุงเทพฯ สุรวงศ์ (ชื่อเดิม: โรงแรมตวันนากรุงเทพ)

อ้างอิง แก้

  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  2. รถไฟฟ้า-รถใต้ดินปรับเดินรถ
  3. "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย". www.chulalongkornhospital.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-18. สืบค้นเมื่อ 2016-04-02.