สถานีรถไฟปากคลองสาน

สถานีรถไฟปากคลองสาน ในอดีตเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง ตั้งอยู่บริเวณตลาดปากคลองสาน เขตคลองสาน เดิมมีทางรถไฟเชื่อมกับท่าแพขนานยนต์ เพื่อใช้ขนส่งขบวนรถ และหัวรถจักรไปซ่อมบำรุงทีสถานีรถไฟบางกอกน้อย หรือสถานีรถไฟมักกะสัน [1]

สถานีรถไฟปากคลองสาน
รถไฟทางไกล
สถานีรถไฟปากคลองสาน ในสมัยรัชกาลที่ 5
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งอำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี
เจ้าของกรมรถไฟ
สายทางรถไฟสายแม่กลอง
ชานชาลา1
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ4 มกราคม พ.ศ. 2447
ปิดให้บริการ1 มกราคม พ.ศ. 2504
ปากคลองสาน
Pak Klong San
วงเวียนใหญ่
Wongwian Yai
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายแม่กลอง

สถานีรถไฟปากคลองสานเปิดให้ประชาชนใช้งานตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) [2] โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดเส้นทางปากคลองสาน-มหาชัย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยเสด็จพระราชดำเนินประทับรถไฟพระที่นั่ง ผ่านทางรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) เพื่อทรงทำพิธีเปิดถนนถวาย ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร[1]

สถานีรถไฟปากคลองสานหยุดการใช้งานมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ [1] ที่ให้ยกเลิกเส้นทางช่วงปากคลองสาน-วงเวียนใหญ่ โดยรางรถไฟยังคงอยู่ แต่ราดยางมะตอยทับไว้ใต้พื้นถนน กลายเป็นถนนเจริญรัถ ส่วนตัวอาคารสถานีได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552. 216 หน้า. ISBN 978-611-7180-00-2
  2. "ประวัติทางรถไฟสายแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-30. สืบค้นเมื่อ 2009-05-31.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°43′45″N 100°30′38″E / 13.7291089°N 100.5105686°E / 13.7291089; 100.5105686