สถานีรถไฟขอนแก่น

สถานีรถไฟประจำจังหวัดขอนแก่น

สถานีรถไฟขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen Railway Station, อักษรย่อ: ขอ.) เป็นสถานีรถไฟหลักประจำจังหวัดขอนแก่นในสังกัดการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในจุดเชื่อมต่อสำคัญของโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์ประจำภาคอีสาน เป็นสถานีรถไฟยกระดับชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ชุมทางถนนจิระหนองคาย) อยู่ระหว่างสถานีรถไฟท่าพระ และสถานีรถไฟสำราญ ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 449.75 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ถนนดรุณสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ใช้สัญญาณแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์และสัญญาณไฟสีสามท่า

สถานีรถไฟขอนแก่น
สถานีรถไฟระหว่างเมือง
สถานีรถไฟยกระดับขอนแก่น
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนดรุณสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
พิกัด16°25′08″N 102°49′27″E / 16.4189846°N 102.8241263°E / 16.4189846; 102.8241263
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา2 (ยกระดับ)
ราง4
การเชื่อมต่อ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ระดับชานชาลาชั้นพิเศษ
ที่จอดรถด้านข้างสถานี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี2163 (ขอ.)
เว็บไซต์บัญชีเฟซบุ๊กทางการ
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 เมษายน พ.ศ. 2476; 91 ปีก่อน (2476-04-01)
สร้างใหม่13 มีนาคม พ.ศ. 2562; 5 ปีก่อน (2562-03-13)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ท่าพระ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สำราญ
มุ่งหน้า หนองคาย
ขอนแก่น
Khon Kaen
กิโลเมตรที่ 449.75
ท่าพระ
Tha Phra
−9.94 กม.
สำราญ
Samran
+10.96 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟขอนแก่นเป็นสถานีรถไฟยกระดับแห่งแรกของภาคอีสาน และเป็นสถานีรถไฟขนาดใหญ่พิเศษแห่งแรกของภาคอีสานเช่นกัน[1] อีกทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟขอนแก่นเป็นพื้นที่โดยรอบขนส่งมวลชนในแผนการพัฒนาเมืองต้นแบบหรือ TOD ประจำภูมิภาค[2]

ประวัติ แก้

สถานีรถไฟขอนแก่นก่อสร้างโดยกรมรถไฟหลวง เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2476[3] แรกเริ่มเป็นสถานีระดับดิน อาคารชั้นเดียว สถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ หลังคาทรงมะนิลากระเบื้องว่าว มีทางประธาน 1 ทาง ทางหลีก 6 ทาง โรงรถจักรขนาดเล็ก 1 โรง (อยู่ทางทิศใต้) แต่เดิมตัวอาคารสถานีขอนแก่นมีความยาว 22 เมตรตามแบบ แต่มีการปรับปรุง จนมีความยาว 40 เมตร ภายหลังได้สร้างหลังคาคลุมชานชลาระหว่างทาง 1 และ ทาง 2 และได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2546 เพื่อรองรับการประชุมเอเปค ทั้งนี้สถานีขอนแก่นได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการคมนาคมทางรถไฟที่ได้มีการขยายเส้นทางขึ้นมาจากนครราชสีมาสู่หนองคาย เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว[4]

ต่อมาใน พ.ศ. 2503 นายยง สุทธรัตน์ วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตขอนแก่น(วบข.ขอ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำขอนไม้ตะเคียนทองที่ถูกตัดทิ้งไว้หลังสถานีรถไฟบ้านหัน มาวางไว้หลังสถานีรถไฟขอนแก่น ต่อมานายสวาสดิ์ เศวตจินดา เป็นวบข.ขอ. ได้เชิญอาจารย์ธิติ เฮงรัศมี มาออกแบบสวนหย่อมบริเวณหลังสถานีพร้อมขอนไม้ และได้สลักคำว่า "ขอนแก่น Khon Kaen" ไว้บนขอนไม้ดังกล่าว เวลาผ่านไปขอนไม้ดังกล่าวกลายเป็นภาพจำแก่ประชาชนทั่วไปว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำสถานี อีกทั้งยังมีความหมายสอดคล้องไปกับชื่อสถานีรถไฟ "ขอนแก่น"[5]

พ.ศ. 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับงบประมาณในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ–ขอนแก่น จึงมีความจำเป็นต้องรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟหลังเก่า เพื่อก่อสร้างใหม่ให้ทันสมัย สามารถรองรับโครงข่ายรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต[3]

ต่อมาใน พ.ศ. 2560 จึงได้เริ่มดำเนินการรื้อถอนและปรับปรุงสถานี ในช่วงการก่อสร้างได้ย้ายจุดจอดรถไฟไปยังสถานีชั่วคราว บริเวณหลังห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขาขอนแก่น ในเขตเทศบาลเมืองเมืองเก่า[6] จากนั้นวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น จึงได้เปิดใช้งานสถานีใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้น เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยสร้างใหม่เป็นสถานียกระดับ 2 ชั้น 4 ชานชาลา สถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ หลังคาทรงจั่วอนุรักษ์ตามแบบสถานีหลังเดิม ทำให้สถานีรถไฟขอนแก่นเป็นสถานีรถไฟยกระดับแห่งแรกของภาคอีสาน[1] ส่วนขอนไม้เก่าแก่ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟขอนแก่นได้ถูกนำมาตั้งไว้บริเวณวงเวียนด้านหน้าสถานี

ปัจจุบัน พ.ศ. 2565 สถานีรถไฟขอนแก่นได้มีขบวนรถรับส่งผู้โดยสารดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 14 ขบวน

ข้อมูลทั่วไป แก้

เป็นสถานียกระดับจากผิวดิน 14 เมตร ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นโถงพักผู้โดยสาร ห้องจำหน่ายตั๋ว ห้องควบคุมการเดินรถ และพื้นที่ทางพาณิชย์ ส่วนชั้นบนเป็นชานชลารถไฟทั้งสิ้น 4 ชานชาลา[7] รวมพื้นที่ใช้สอยกว่า 10,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้กว่า 27,000 คนต่อวัน (10 ล้านคนต่อปี)[8] อักษรย่อประจำสถานีคือ ข.อ. มีระยะทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) 449.75 กิโลเมตร และห่างจากสถานีกลางบางซื่อ 442.28 กิโลเมตร

เส้นทาง และตารางเวลาการเดินรถ แก้

หลังจากการเปิดใช้งานสถานีรถไฟยกระดับขอนแก่นตั้งแต่มีนาคม พ.ศ. 2562 มีเส้นทางรถไฟที่จอดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีขอนแก่นดังนี้

เส้นทางในอนาคต

เที่ยวขึ้น แก้

ขบวนรถ ต้นทาง ขอนแก่น ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ด77 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.05 01.48 หนองคาย 03.45 งดเดินรถ
ดพ25 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25 04.10 หนองคาย 06.25
ร133 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.25 05.19 หนองคาย 07.55
ท415 นครราชสีมา 06.20 09.27 หนองคาย 12.05
ท431 ชุมทางแก่งคอย 05.00 11.30 ขอนแก่น 11.20
ด75 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.45 15.30 หนองคาย 17.30
ท417 นครราชสีมา 15.00 19.00 อุดรธานี 20.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวล่อง แก้

ขบวนรถ ต้นทาง ขอนแก่น ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท416 อุดรธานี 05.50 07.50 นครราชสีมา 11.15
ด76 หนองคาย 07.45 09.32 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.35
ท432 ขอนแก่น 13.38 14.30 ชุมทางแก่งคอย 20.15
ท418 หนองคาย 12.55 15.33 นครราชสีมา 18.35
ด78 หนองคาย 18.30 20.26 กรุงเทพอภิวัฒน์ 03.50 งดเดินรถ
ร134 หนองคาย 18.50 21.12 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.30
ดพ26 หนองคาย 19.40 21.49 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

* ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563[9]

แผนผังสถานี แก้

U2 ชั้นชานชาลา
ชานชาลา 1 สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีรถไฟหนองคาย
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีรถไฟหนองคาย
ชานชาลา 3 สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีกรุงเทพ
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 4 สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีกรุงเทพ
G ชั้นขายบัตรโดยสาร ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1 , ห้องบัตรขายโดยสาร, ร้านค้า, ห้องน้ำ
ระดับถนน ระดับถนน ทางออก 1 ถนนดรุณสำราญ ที่จอดรถ/ที่จอดรถจักรยานยนต์

โครงการในอนาคต แก้

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟขอนแก่น (TOD) แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ชาวขอนแก่นตื่นตัว! เตรียมรับ 'บิ๊กตู่' เปิดสถานีรถไฟยกระดับใหญ่สุดในภาคอีสาน". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  2. todthailand. "การจัดทำผังเฉพาะเมืองต้นแบบ TOD ในพื้นที่ขอนแก่น" (PDF). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "ตายายรุ่นเก๋า สวมชุดนักเรียนถ่ายรูปสถานีรถไฟขอนแก่น ก่อนถูกทุบทิ้ง". www.khonkaenlink.info.
  4. "Rotfaithai.Com - Content". portal.rotfaithai.com.
  5. Pink (17 ธันวาคม 2019). "จุดเช็คอิน ขอนไม้เก่าแก่ ที่ขอนแก่น". travel.trueid.net. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "เตรียมใช้งาน สถานีรถไฟขอนแก่น (ชั่วคราว) 20 มี.ค. นี้เป็นต้นไป". www.khonkaenlink.info.
  7. BANGKOK, BLT. "เปิดสถานีรถไฟลอยฟ้าขอนแก่น แห่งแรกในอีสาน คนกรุงไปเที่ยวอีสานได้ใช้บริการแล้ว | BLT BANGKOK". LINE TODAY.
  8. "พาทัวร์ Infrastructure จังหวัดขอนแก่น". Smart City Thailand. 2021-08-18.
  9. สถานีรถไฟขอนแก่น : Khon Kaen Railway Station (8 ธันวาคม 2019). "ประกาศ อัปเดตตารางเดินรถล่าสุด". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

16°25′08″N 102°49′27″E / 16.4189846°N 102.8241263°E / 16.4189846; 102.8241263