สถานีย่อย:สงครามกลางเมืองซีเรีย

แก้ไข   

บทนำ

สงครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ

ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน"

ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย (บทความเต็ม...)

แก้ไข   

บทความที่คัดเลือก

สมาชิกของของสภาทหารอัลบ๊าบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางทางยุทธวิธีฮาวาร์คีลิสของกองทัพแห่งชาติซีเรีย ในช่วงยุทธการที่อัลบ๊าบ

กองทัพแห่งชาติซีเรีย (อาหรับ: الجيش الوطني السوري‎; อังกฤษ: Syrian National Army; อักษรย่อ: SNA) หรือที่เรียกว่า กองทัพปลดปล่อยซีเรียที่มีตุรกีหนุนหลัง (อังกฤษ: Turkish-backed Free Syrian Army; อักษรย่อ: TFSA) เป็นโครงสร้างฝ่ายค้านซีเรียที่ติดอาวุธ โดยจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ที่ตุรกียึดครอง ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการโล่ยูเฟรทีส กองทัพแห่งชาติซีเรียยังได้จัดตั้งการปรากฏตัวในเขตผู้ว่าการอิดลิบในช่วงการรุกทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย ค.ศ. 2019 และรวมการปรากฏตัวที่นั่นเมื่อแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเข้าร่วมกองทัพแห่งชาติซีเรียเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2019

รูปขบวนของกองทัพแห่งชาติซีเรียได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2017 ที่เมืองออซอซ จุดมุ่งหมายอย่างเป็นทางการของโครงสร้างนี้คือเพื่อช่วยเหลือสาธารณรัฐตุรกีในการสร้าง "เขตปลอดภัย" ในประเทศซีเรีย และจัดตั้ง "กองทัพแห่งชาติ" ในขณะที่กองทัพแห่งชาติซีเรียเพียงในนามมีโครงสร้างแบบรวมที่ตอบสนองต่อรัฐบาลชั่วคราวของซีเรีย ซึ่งฝ่ายองค์ประกอบได้คงรูปแบบก่อนที่จะมีกองทัพแห่งชาติซีเรียของพวกเขา รวมถึงแต่ละคำขานรับโดยตรงต่อตุรกี

แก้ไข   

อุบัติการณ์และเหตุการณ์

แก้ไข   

การทูต

ชาวมุสลิมและคริสเตียนในการประชุมกับกลุ่มผู้ดูแลสันนิบาตอาหรับในเมืองดามัสกัสเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2012

การทูตระหว่างประเทศ แก้

ข้อเสนอสันติภาพ แก้

แก้ไข   

บุคคล

ซีเรีย บัชชาร อัลอะซัด
ซีเรีย มาฮิร อัลอะซัด (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
ซีเรีย ฟะฮด์ ญาซิม อัลฟรัยจญ์
ซีเรีย อะลี อับดุลลอฮ์ อัยยูบ
ซีเรีย อิศอม ฮัลลาก
ซีเรีย ฆ็อสซาน อิสมาอีล
ซีเรีย มุฮัมมัด อัชชะอาร (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
ฝ่ายค้านซีเรีย ญอรจญ์ ศ็อบเราะฮ์
ฝ่ายค้านซีเรีย ฆ็อสซาน ฮีตตู
ฝ่ายค้านซีเรีย ซะลีม อิดรีส
ฝ่ายค้านซีเรีย มุศเฏาะฟา อัลชัยค์
ฝ่ายค้านซีเรีย ริยาฎ อัลอัสอัด (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
ฝ่ายค้านซีเรีย มุอาษ อัลเคาะฏีบ
ฝ่ายค้านซีเรีย อับดุลบาซิฏ ซีดา
ฝ่ายค้านซีเรีย บุรฮาน ฆ็อลยูน
อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี
อะบู อุมัร อัชชีชานี
อะบู มุฮัมมัด อัลญูลานี (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
อะบู ยูซุฟ อัตตุรกี 
ฝ่ายปกครองตนเองซีเรียเหนือและตะวันออก ฮะดียะฮ์ ยูซุฟ
ฝ่ายปกครองตนเองซีเรียเหนือและตะวันออก มันศูร ซะลูม
ฝ่ายปกครองตนเองซีเรียเหนือและตะวันออก ศอเลียะห์ มุสลิม มุฮัมมัด

แก้ไข   

ต่าง ๆ นานา

ผลกระทบต่อมรดกทางประวัติศาสตร์ แก้

สถานที่มรดกที่เสียหาย

ผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัย แก้

ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในประเทศเลบานอน เดือนกันยายน ค.ศ. 2012
ผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย
ค่ายผู้ลี้ภัย
วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
แก้ไข   

สถานีย่อยที่เกี่ยวข้อง

แก้ไข   

ชีวประวัติที่คัดเลือก

สตัฟฟัน เด มิสตูรา (อิตาลี: Staffan de Mistura) เป็นนักการทูตอิตาลี-สวีเดนที่มีประสบการณ์ยาวนานและอดีตสมาชิกของรัฐบาลอิตาลี หลังจากอาชีพ 40 ปีในหลายหน่วยงานของสหประชาชาติ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวง (รัฐมนตรีชั้นรอง) สำหรับการต่างประเทศในรัฐมนตรีอิตาลีที่นำโดยมารีโอ มอนตี ปัจจุบัน เขาเป็นผู้อำนวยการวิลลาซันมีเกเลในกาปรี และทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติเพื่อรับมือวิกฤติซีเรีย

ตำแหน่งสหประชาชาติของเด มิสตูรา ก่อนหน้าประกอบด้วยผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในประเทศอิรัก (ค.ศ. 2007–2009) และประเทศอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 2010–2011), ผู้แทนส่วนบุคคลของเลขาธิการสหประชาชาติสำหรับเลบานอนตอนใต้ (ค.ศ. 2001–2004) และผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลสหประชาชาติในกรุงโรม (ค.ศ. 2000–2001) งานของเขาได้พาเขาไปสู่จุดที่มีปัญหามากที่สุดในโลกรวมถึงอัฟกานิสถาน, อิรัก, รวันดา, โซมาเลีย, ซูดาน และอดีตยูโกสลาเวีย

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 โมร็อกโกตกลงที่จะแต่งตั้งสตัฟฟัน เด มิสตูรา ทูตส่วนตัวของสหประชาชาติประจำทะเลทรายซาฮาราตะวันตก (บทความเต็ม...)

แก้ไข   

ภาพที่คัดเลือก



พลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บได้มาถึงโรงพยาบาลอะเลปโปในช่วงสงครามกลางเมืองซีเรีย เดือนตุลาคม ค.ศ. 2012

แก้ไข   

ที่ทำสงคราม

สาธารณรัฐอาหรับซีเรียและพันธมิตร แก้

Syrian Ba'ath Party
Jaysh al-Sha'bi
Shabiha
National Defense Force

กองกำลังฝ่ายพันธมิตร:

al-Abbas brigade
Lijan militias
ฮิซบุลลอฮ์
พีเอฟแอลพี-จีซี
กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์

สนับสนุนโดย:

ฝ่ายค้านซีเรีย แก้

ซีเรีย ฝ่ายค้านซีเรีย (เอสอาร์ซีซี)
Free Syrian Army
Army of Mujahedeen
Ajnad al-Sham Islamic Union
Authenticity and Development Front
Jabhat Ansar al-Islam
al-Zenki movement

สนับสนุนโดย:

สันนิบาตอาหรับ
กาตาร์
ซาอุดีอาระเบีย
ตุรกี
กองกำลังตุรกีได้รับการสนับสนุน:
 ตุรกี (ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน)
กองทัพแห่งชาติซีเรีย (ค.ศ. 2017–ปัจจุบัน)
ฝ่ายอิสลาม:
Syrian Islamic Liberation Front (จนถึง ค.ศ. 2013)
Islamic Front (Syria) (ค.ศ. 2013–16)
Ahrar al-Sham
ญัยชุลอิสลาม

ซาลาฟิสต์และกลุ่มพันธมิตร แก้

Army of Conquest (ค.ศ. 2015–17)
Al-Nusra Front
Ahrar al-Sham
Sham Legion

กลุ่มพันธมิตรอื่น ๆ:

Muhajirin wa-Ansar Alliance
Jabhat Ansar al-Din
Tahrir al-Sham (ค.ศ. 2017–ปัจจุบัน)

รัฐอิสลาม แก้

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์
กองทัพรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

โรจาวา แก้

สหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ (เอสดีเอฟ)

กองกำลังฝ่ายพันธมิตร:

สนับสนุนโดย:

กลุ่มต่อต้านไอซิลนานาชาติ แก้

ซีเจทีเอฟ–โอไออาร์

แก้ไข   

อาวุธยุทธภัณฑ์

แก้ไข   

เนื้อหาที่ได้รับการยอมรับ

บทความคัดสรร แก้

บทความคุณภาพ แก้

แก้ไข   

แผนที่ของการควบคุมดินแดนในปัจจุบัน

สถานการณ์ทางทหารปัจจุบันในสงครามกลางเมืองในซีเรีย
  ควบคุมโดยรัฐบาล
  ควบคุมโดยตะห์รีรุชชาม

(สำหรับแผนที่ที่มีรายละเอียดมากขึ้น ดูนครและเมืองในช่วงสงครามกลางเมืองซีเรีย)


สถานีย่อยอื่น :