เทอร์เรนซ์ สตีเวน "สตีฟ" แม็กควีน (อังกฤษ: Terrence Steven "Steve" McQueen; 24 มีนาคม ค.ศ. 1930 - 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980)[4] เป็นนักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน มีชื่อเล่นว่า "ราชาแห่งความเจ๋ง"[5][6] จากบทบาทตัวเอกที่ไม่เข้าข่ายจำพวกฮีโร โดยเฉพาะในช่วงจุดสูงสุดวัฒนธรรมที่แปลกต่างจากที่มีอยู่ในสังคมในช่วงสงครามเวียดนาม ทำให้เขามีบทบาทในภาพยนตร์ที่ขึ้นอันดับ 1 บนบ็อกซ์ออฟฟิสในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970[7] แม็กควีนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากบทบาทในเรื่อง The Sand Pebbles เขายังมีผลงานโด่งดังในภาพยนตร์ The Magnificent Seven, The Great Escape, The Thomas Crown Affair, Bullitt, The Getaway, Papillon, และ The Towering Inferno ในปี ค.ศ. 1974 เขาเป็นดาราที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก[8] ถึงแม้ว่าแม็กควีนจะมักมีปากเสียงกับผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ แต่ความนิยมนี้ทำให้เขาเป็นที่ต้องการสูง และต้องการจ่ายค่าตัวให้เขาอย่างสูง[9]

สตีฟ แม็กควีน
แม็กควีนในเรื่อง The Thomas Crown Affair (1968)
เกิดเทอร์เรนซ์ สตีเวน แม็กควีน[1]: 292 [2]: 233 
24 มีนาคม ค.ศ. 1930(1930-03-24)
บีชโกรฟ รัฐอินดีแอนา สหรัฐ
เสียชีวิต7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980(1980-11-07) (50 ปี)
ซิวดัดฆัวเรซ เม็กซิโก
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1952–1980
คู่สมรสNeile Adams (สมรส 1956; หย่า 1972)
Ali MacGraw (สมรส 1973; หย่า 1978)
Barbara Minty (สมรส 1980)
บุตร2 รวมทั้ง Chad McQueen[3]
ญาติSteven R. McQueen (หลานชาย)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหรัฐ
แผนก/สังกัด เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ
United States Merchant Marine
ประจำการ1946 (Merchant Marine)
1947–1950 (USMC)
ชั้นยศPrivate first class
เว็บไซต์stevemcqueen.com

เขาชอบในการแข่งรถทั้งรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ ขณะที่เขาเรียนการแสดง เขายังได้แข่งรถมอเตอร์ไซค์ในช่วงวันหยุดและเขาซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ตัวเองครั้งแรกพร้อมกับชัยชนะในการแข่งขัน เขายังเป็นที่รู้จักกับการแสดงบทสตันท์ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทขับรถด้วยความเร็วไล่ล่าในภาพยนตร์เรื่อง Bullitt.[10]

แม็กควีนเสียชีวิตเมื่อวัย 50 ปีที่เมืองซิวดัดฮัวเรซ รัฐชีวาวา ประเทศเม็กซิโก หลังจากการผ่าตัดเอาเนื้องอกเนื้อร้ายในช่องท้อง[11]

อ้างอิง แก้

  1. Aaker, Everett (2017). Television Western Players, 1960–1975: A Biographical Dictionary. McFarland. ISBN 978-1-4766-6250-3.
  2. Laurie, Greg (2019). Steve McQueen: The Salvation of an American Icon. Zondervan. ISBN 978-0-310-35620-2.
  3. "Terry Leslie McQueen dies at 38". Variety. March 23, 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2018. สืบค้นเมื่อ January 27, 2018.
  4. Arnold, Gary (November 8, 1980). "Movie Hero Steve McQueen Dies of Heart Attack at Age of 50". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2018. สืบค้นเมื่อ January 8, 2019.
  5. Valetkevitch, Caroline (2007-04-28). "Steve McQueen's Ferrari up for auction". Thomson Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  6. Cullum, Paul (2006-05-14). "Steve McQueen's Dream Movie Wakes Up With a Vrooom!". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  7. Flint, Peter (1980-11-08). "Steve McQueen, 50, Is Dead of a Heart Attack After Surgery for Cancer; Family Was at Bedside Established His Stardom In 'Bullitt' and 'Papillon' Friend Suggested Acting 'Don't Cap Me Up'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  8. Barger, Ralph; Zimmerman, Keith; Zimmerman, Kent (2003). Ridin' High, Livin' Free: Hell-Raising Motorcycle Stories. Harper Paperbacks. p. 37. ISBN 978-0-06-000603-7.
  9. Terrill, Marshall (1993). Steve McQueen: Portrait of an American Rebel. Plexus Press. ISBN 978-1-556-11380-2.
  10. Nolan, William F. McQueen, Berkley, 1984. ISBN 0-425-06566-9, pp. 101-106
  11. Nolan, William F. McQueen, Berkley, 1984. ISBN 0-425-06566-9, pp. 212-213, 215