สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง

สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง (อังกฤษ: Star Trek: The Motion Picture) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวนิยายวิทยาศาสตร์ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1979 กำกับโดย รอเบิร์ต ไวส์ สร้างจากละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ที่สร้างโดย ยีน รอดเดนเบอร์รี โดยเขายังทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างของภาพยนตร์ด้วย เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในภาพยนตร์ชุด สตาร์ เทรค แสดงนำโดยนักแสดงจากละครโทรทัศน์ดั้งเดิม ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในทศวรรษ 2270 เมื่อกลุ่มเมฆต่างดาวลึกลับที่มีพลังมหาศาลชื่อว่า วี'เจอร์ กำลังมุ่งหน้ามายังโลก และได้ทำลายทุกสิ่งที่มันผ่าน พลเรือเอก เจมส์ ที. เคิร์ก (วิลเลียม แชตเนอร์) รับหน้าที่บัญชาการยานเอ็นเตอร์ไพรส์ที่เพิ่งปรับปรุงใหม่ เพื่อนำไปสู่ภารกิจในการกอบกู้โลกและสืบหาต้นกำเนิดของ วี'เจอร์

สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง
ใบปิดภาพยนตร์ ออกแบบโดยบ็อบ พีก
กำกับรอเบิร์ต ไวส์
บทภาพยนตร์แฮโรลด์ ลิฟวิงสตัน
เนื้อเรื่องแอลัน ดีน ฟอสเตอร์[1]
สร้างจากสตาร์ เทรค
โดย ยีน รอดเดนเบอร์รี
อำนวยการสร้างยีน ร็อดเดนเบร์รี
นักแสดงนำ
กำกับภาพริชาร์ด เอช. ไคลน์
ตัดต่อทอดด์ ซี. แรมซีย์
ดนตรีประกอบเจอร์รี โกลด์สมิท
ผู้จัดจำหน่ายพาราเมาต์พิกเจอส์
วันฉาย7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 (1979-12-07)
ความยาว132 นาที[2]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ทำเงิน139 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]

หลังจากละครโทรทัศน์ดั้งเดิมถูกยกเลิกออกอากาศในปี ค.ศ. 1969 ยีน ร็อดเดนเบร์รี วิ่งเต้นให้ พาราเมาต์พิกเจอส์ ให้ดำเนินเรื่องต่อไปในรูปแบบของภาพยนตร์ ความสำเร็จของละครโทรทัศน์ในการออกอากาศแบบซินดิเคชัน โน้มน้าวให้สตูดิโอเริ่มต้นงานสร้างภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1975 นักเขียนบทหลายคนพยายามเขียนบทที่ "เป็นมหากาพย์อย่างเหมาะสม" แต่ความพยายามดังกล่าว ยังไม่สามารทำให้พาราเมาต์พอใจ ทำให้โครงการถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1977 พาราเมาต์ได้วางแผนที่จะคืนแฟรนไชส์กลับสู่จุดเริ่มต้น ด้วยละครโทรทัศน์ชุดใหม่ชื่อว่า สตาร์ เทรค: เฟส II แต่ความสำเร็จของ มนุษย์ต่างโลก ในบ็อกซ์ออฟฟิศ โน้มน้าวให้พาราเมาต์เชื่อว่าภาพยนตร์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ นอกเหนือจาก สตาร์ วอร์ส จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน ทำให้สตูดิโอยกเลิกการสร้างของ เฟส II และกลับมาเริ่มต้นงานสร้างภาพยนตร์ สตาร์ เทรค

ในปี ค.ศ. 1978 พาราเมาต์จัดงานแถลงข่าวที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งจัดขึ้นที่สตูดิโอตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เพื่อประกาศว่าไวส์จะกำกับภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากละครโทรทัศน์ดั้งเดิม ด้วยทุนสร้าง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังการยกเลิก เฟส II นักเขียนหลายคนรีบดัดแปลงบทจากบทโทรทัศน์ของตอน "In Thy Image" ตอนนำร่องดั้งเดิมของ เฟส II มีการแก้ไขเรื่องราวและบทการถ่ายทำอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นปรับปรุงบทภาพยนตร์เป็นรายชั่วโมงในวันที่ถ่ายทำ ยานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ได้รับการปรับปรุงใหม่ ทั้งภายในและภายนอก รอเบิร์ต เฟลตเชอร์ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย เป็นผู้จัดหาชุดเครื่องแบบใหม่ แฮโรลด์ มิเคลสัน ผู้ออกแบบงานสร้าง เป็นผู้สร้างฉากถ่ายทำ เจอร์รี โกลด์สมิท เป็นผู้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ โดยเขามีส่วนร่วมกับ สตาร์ เทรค จนถึงปี ค.ศ. 2002 เมื่อผู้รับเหมาดั้งเดิมสำหรับเอฟเฟกต์แสง พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ทันเวลา ดักลัส ทรัมบูล ผู้ออกแบบเทคนิคพิเศษ ถูกร้องขอให้ช่วยเหลือ เพื่อให้เสร็จทำกำหนดฉายในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1979 ไวส์นำฟิล์มต้นฉบับของภาพยนตร์ที่เพิ่งเสร็จสมบูรณ์ไปยังงานเปิดตัวในวอชิงตัน ดี.ซี. แต่เขายังรู้สึกว่าภาพยนตร์สุดท้ายที่ฉายนั้นเป็น เป็นภาพยนตร์ที่ตัดมาแบบหยาบ ๆ ของภาพยนตร์ที่เขาต้องการจะสร้าง

ภาพยนตร์ฉายในอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 ภาพยนตร์ได้รับการตอบรับที่หลากหลาย โดยวิจารณ์ในเรื่องการขาดฉากโลดโผนและการพึ่งพาเทคนิคพิเศษมากเกินไป ทุนสร้างของภาพยนตร์เพิ่มสูงขึ้นจนถึง 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำเงินทั่วโลก 139 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าที่พาราเมาต์คาดหวังไว้ แต่ก็เพียงพอที่จะทำภาพยนตร์ภาคต่อโดยใช้ทุนสร้างที่ถูกลง รอดเดนเบอร์รี ถูกบังคับให้ออกจากการเป็นผู้อำนวยการสร้างในภาพยนตร์ภาคต่อ สตาร์ เทรค 2: ศึกสลัดอวกาศ (1982) ในปี ค.ศ. 2001 ไวส์เป็นผู้ดูแลภาพยนตร์ดีวีดีฉบับพิเศษซึ่งได้ปรับปรุงระบบเสียงใหม่ เพิ่มเติมฉากและภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ใหม่

โครงเรื่อง แก้

นักแสดง แก้

อ้างอิง แก้

  1. Gross, Edward; Altman, Mark A. (28 June 2016). The Fifty-Year Mission: The Complete, Uncensored, Unauthorized Oral History of Star Trek: The First 25 Years. St. Martin's Press. pp. 372–374. ISBN 978-1-4668-7285-1.
  2. "STAR TREK - THE MOTION PICTURE (U)". British Board of Film Classification. December 6, 1979. สืบค้นเมื่อ February 26, 2013.
  3. Harmetz, Aljean (November 2, 1986). "NEW 'STAR TREK' PLAN REFLECTS SYMBIOSIS OF TV AND MOVIES". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
  4. Eller, Claudia (1998-12-11). "Lower Costs Energize 'Trek' Film Profits". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2020-05-21.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้