สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (อังกฤษ: Austro-Prussian War) หรือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ (อังกฤษ: Seven Weeks' War) หรือ สงครามรวมชาติ (อังกฤษ: Unification War) หรือ สงครามพี่น้อง (อังกฤษ: Brothers War) เป็นสงครามในปีค.ศ. 1866 ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในสมาพันธรัฐเยอรมัน บรรดารัฐเล็กน้อยต่างๆได้แตกออกเป็นสองขั้วคือ รัฐเยอรมันที่อยู่ฝ่ายปรัสเซีย และรัฐเยอรมันที่อยู่ฝ่ายออสเตรีย

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย
ส่วนหนึ่งของ การรวมชาติเยอรมัน
An oil painting of a battlefield, with several mounted cavalry in black; an indistinct city burning on the horizon.
ยุทธการเคอนิจแกรทซ์ ปี 1866
วันที่14 มิถุนายน – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1866
(2 เดือน และ 9 วัน)
สถานที่
ผล ชัยชนะของฝ่ายปรัสเซียและอิตาลี
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง

ปรัสเซียเข้าครอบครองบางส่วนของบาวาเรีย, ฮันโนเฟอร์, เฮ็สเซิน-คัสเซิล, บางส่วนของเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัดด์, ฮ็อลชไตน์, ชเลสวิช, นัสเซา, และฟรังฟวร์ท

คู่สงคราม

รัฐของสมาพันธรัฐเยอรมันที่นำโดยปรัสเซีย

ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี

รัฐของสมาพันธรัฐเยอรมันที่นำโดยออสเตรีย

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ราชอาณาจักรปรัสเซีย วิลเฮล์มที่ 1
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ออทโท ฟอน บิสมาร์ค
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เฮลมุท ฟอน มอลท์เคอ
ราชอาณาจักรอิตาลี วิตโตรีโอเอมานูเอเลที่ 2
ราชอาณาจักรอิตาลี อัลฟองโซ เฟอเรอโร ลา มาร์โมรา

ราชอาณาจักรอิตาลี เบตติโน ริคาโซลี
กำลัง

637,262 นาย[1]

  • ราชอาณาจักรปรัสเซีย 437,262
  • ราชอาณาจักรอิตาลี 200,000

517,123 นาย[2]

  • จักรวรรดิออสเตรีย 407,223
  • 38,000
  • 26,500
  • 20,000
  • 18,400
  • 7,000
  • 5,000
ความสูญเสีย
39,990 นาย[3] 132,414 นาย[2]

ฝ่ายปรัสเซียอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่ามาก ในขณะที่ฝ่ายออสเตรียที่กำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยจากการที่เผชิญกับการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848 และสงครามปลดแอกอิตาลีครั้งที่สอง สงครามจึงจบลงที่ชัยชนะอย่างง่ายดายของฝ่ายปรัสเซีย ทำให้ปรัสเซียกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจครอบงำรัฐเยอรมันเล็กน้อยต่างๆ ปรัสเซียได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นมาแทนที่ โดยปรัสเซียกีดออสเตรียออกไปจากสมาพันธรัฐที่สถาปนาขึ้นใหม่นี้

ในสงครามครั้งนี้ ปรัสเซียได้อิตาลีมาเป็นพันธมิตรจากการที่อิตาลีต้องการทวงคืนดินแดนอิตาลีที่อยู่ภายใต้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรีย ซึ่งหลังสงครามอิตาลีก็ได้แคว้นเวเนโตและบางส่วนของแคว้นฟรียูลีไปจากออสเตรีย

ชนวนเหตุ แก้

เป็นเวลากว่าหลายศตวรรษ ที่ภูมิภาคยุโรปกลางถูกแบ่งออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยของหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ละรัฐก็มีอิสรภาพเป็นของตนเองด้วยความช่วยเหลือจากรัฐมหาอำนาจอื่นๆ ออสเตรียเป็นดินแดนที่ปกครองโดยราชวงศ์ที่เก่าแก่และทรงอิทธิพลอย่างราชวงศ์ฮับส์บูร์ก และรัฐเยอรมันเล็กน้อยเหล่านี้ก็ต่างยอมรับราชวงศ์ฮับส์บูร์กเป็นผู้นำของชนชาติที่พูดภาษาเยอรมัน จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 18 ราชอาณาจักรปรัสเซียก็เริ่มมีอิทธิพลขึ้นมาและกลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ทำให้ภาวะผู้นำของราชวงศ์ฮับส์บูร์กเริ่มสั่นคลอน

ต้นศตวรรษที่ 19 เกิดสงครามนโปเลียนขึ้นในยุโรปภาคพื้นทวีป นโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศสได้นำกองทัพใหญ่เข้ายึดครองรัฐเยอรมันต่างๆจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กจำยอมต้องลงนามในสนธิสัญญาเชินบรุนน์ในปี 1806 เพื่อยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน แม้ฮับส์บูร์กจะเหลือรัฐเยอรมันในปกครองอยู่อีกหลายรัฐแต่ก็ฮับส์บูร์กก็เสื่อมอิทธิพลลงมาก จนกระทั่งเมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจในปี 1815 บรรดารัฐเยอรมันก็กลับมารวมกลุ่มกันอีกครั้งอย่างหลวมๆในชื่อสมาพันธรัฐเยอรมันโดยมีจักรพรรดิออสเตรียเป็นองค์ประธาน[4]

ในปี 1864 ออสเตรียกับปรัสเซียได้เป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามกับเดนมาร์กและได้รับชัยชนะ ทำให้เดนมาร์กต้องสูญเสียรัฐชเลสวิช, ฮ็อลชไตน์ และเลาเอินบวร์ค ซึ่งทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียว่าใครจะปกครองชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ออสเตรียตัดสินใจนำข้อพิพาทเข้าสู้ที่ประชุมสภาเยอรมันและเรียกประชุมรัฐสภาฮ็อลชไตน์ ฝ่ายปรัสเซียตอบโต้โดยการประกาศว่าข้อตกลงต่างๆเกี่ยวกับกรณีพิพาทที่เคยทำไว้กับออสเตรียในคราวการประชุมกัสชไตน์ถือเป็นโมฆะและส่งกองทัพปรัสเซียเข้ารุกรานฮ็อลชไตน์ เมื่อสภาเยอรมันมีมติให้เรียกระดมกำลังพลเพื่อต่อต้านปรัสเซีย นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ออกมากล่าวว่าสมาพันธรัฐเยอรมันได้จบลงแล้ว

 
  จักรวรรดิออสเตรีย
  พันธมิตรของออสเตรีย
  ราชอาณาจักรปรัสเซีย
  พันธมิตรของปรัสเซีย
  ดินแดนในพิพาท
  รัฐที่วางตัวเป็นกลาง

อ้างอิง แก้

  1. Clodfelter 2017, p. 182.
  2. 2.0 2.1 Clodfelter 2017, p. 183.
  3. Clodfelter 2017, pp. 183–184.
  4. Wawro 2003, p. 16.