สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย

สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย หรือสงครามเซาท์ออสซีเชีย (ในรัสเซียมีอีกชื่อหนึ่งว่า สงครามห้าวัน) เป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ระหว่างจอร์เจียฝ่ายหนึ่ง กับรัสเซียและรัฐบาลผู้แบ่งแยกของเซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซียอีกฝ่ายหนึ่ง

สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย

ตำแหน่งที่ตั้งของจอร์เจีย (รวมทั้งเซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซีย) และคอเคซัสเหนือของรัสเซีย
วันที่7 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สถานที่
ผล
  • ชัยชนะของรัสเซีย เซาท์ออสซีเชีย นอร์ทออสเซเตีย อับฮาเซีย
  • สหพันธรัฐรัสเซียและนิคารากัวยอมรับว่า เซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซียเป็นสาธารณรัฐอิสระ[1][2]
  • การขับผู้มีเชื้อสายจอร์เจียส่วนมากจากอดีตมณฑลปกครองตนเองเซาท์ออสซีเชียและจากหุบโคโดรี (Kodori Gorge)[3][4][5][6]
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
จอร์เจียสูญเสียการควบคุมเหนือบางส่วนของอับฮาเซีย (25%) และอดีตมณฑลปกครองตนเองเซาท์ออสซีเชีย (40%) ที่ถือครองอยู่เดิม พื้นที่ราว 20% ของจอร์เจีย (รวมทั้งอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชีย) ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอีกต่อไป
คู่สงคราม
รัสเซีย รัสเซีย
เซาท์ออสซีเชีย เซาท์ออสซีเชีย
อับฮาเซีย อับฮาเซีย
ประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เซาท์ออสซีเชีย เอดูอาร์ด โคคอยตี
รัสเซีย ดมิตรี มิดเวเดฟ
รัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน
รัสเซีย อะนาโตลี ครูลิออฟ
รัสเซีย วลาดีมีร์ ชามานอฟ
รัสเซีย มารัต คูลัคเมตอฟ
รัสเซีย เวียเชสลัฟ บอรีซอฟ
อับฮาเซีย เซียร์เกย์ บากัปช์
ประเทศจอร์เจีย มีเคอิล ซาคัชวีลี
ประเทศจอร์เจีย ดาวิต เคเซรัชวีลี
ประเทศจอร์เจีย ซาซา กอกาวา
กำลัง
รัสเซีย ในเซาท์ออสซีเชีย:
10,000 นาย
ในอับฮาเซีย:
9,000 นาย[7][8][9]
เซาท์ออสซีเชีย ทหารประจำการ 2,900 นาย[10]
อับฮาเซีย ทหารประจำการ 5,000 นาย[11]

ประเทศจอร์เจีย ในเซาท์ออสซีเชีย: 10,000–12,000 นาย
รวมมีทหาร 18,000 นาย และทหารกองหนุน 10,000 นาย[12]
ขณะนั้นมีทหารอีก 2,000 นายอยู่ในอิรัก[13] ซึ่งกลับประเทศไม่นานก่อนความขัดแย้งจะสิ้นสุด

เจ้าหน้าที่กำลังตำรวจพิเศษ 810 นาย[14]
ความสูญเสีย

รัสเซีย เสียชีวิต 72 นาย บาดเจ็บ 283 นาย สูญหาย 3 นาย เป็นเชลย 5 นาย[15][16][17]
เซาท์ออสซีเชีย เสียชีวิต 36 นาย บาดเจ็บ 79 นาย เป็นเชลย 27 นาย [18][15]

อับฮาเซีย เสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 2 นาย[19]
เสียชีวิต 171 นาย บาดเจ็บ 1,147 นาย สูญหาย 11 นาย เป็นเชลย 39 นาย[20][15][18][21]

ความสูญเสียฝ่ายพลเรือน:
เซาท์ออสซีเชีย: รัสเซียระบุ 162 คน เซาท์ออสซีเชียระบุว่า พลเรือนและทหารเสียชีวิตรวมกัน 365 คน[22][23][24]
จอร์เจีย: พลเรือนเสียชีวิต 224 คน สูญหาย 15 คน บาดเจ็บ 542 คน[25]
พลเรือนต่างชาติเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 3 คน[26]


ผู้ลี้ภัย:
พลเรือนอย่างน้อย 158,000 คนพลัดถิ่น[27] (รวมทั้งชาวเซาท์ออสซีเชีย 30,000 คนที่อพยพไปยังนอร์ทออสเซเตีย ประเทศรัสเซีย และชาวจอร์เจีย 56,000 คนจากโกรี ประเทศจอร์เจีย และชาวจอร์เจีย 15,000 คนจากเซาท์ออสซีเชียไปยังจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท ตามข้อมูลของ UNHCR[28][29] ศูนย์ประสานงานกิจการมนุษยชนจอร์เจียประเมินไว้อย่างน้อย 230,000 คน[30][31][32]

สงครามเซาท์ออสซีเชียเมื่อ พ.ศ. 2534–2535 ระหว่างเชื้อชาติจอร์เจียกับออสเซเตียได้สิ้นสุดลงด้วยพื้นที่เกินกว่าครึ่งเล็กน้อยของเซาท์ออสซีเชียอยู่ภายใต้การควบคุมโดยพฤตินัยของรัฐบาลที่รัสเซียหนุนหลัง หากนานาชาติมิได้ให้การรับรองแต่อย่างใด[33] เซาท์ออสซีเชียส่วนที่เชื้อชาติจอร์เจียอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่นั้นยังอยู่ภายใต้การควบคุมของจอร์เจีย (เขตอะฮัลโกรี และหมู่บ้านส่วนมากรอบซคินวาลี) โดยมีกำลังรักษาสันติภาพร่วมจอร์เจีย นอร์ทออสเซเตียและรัสเซียประจำอยู่ในพื้นที่ สถานการณ์คล้ายคลึงกันอุบัติขึ้นในอับฮาเซียหลังจากสงครามในอับฮาเซียเมื่อ พ.ศ. 2353–2536 ความตึงเครียดได้บานปลายขึ้นระหว่างฤดูร้อนของ พ.ศ. 2551 และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม รัสเซียตัดสินใจที่จะป้องกันเซาท์ออสซีเชียอย่างเป็นทางการ[34]

ระหว่างคืนวันที่ 7 และ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 จอร์เจียเปิดฉากการรุกทางทหารขนานใหญ่ต่อเซาท์ออสซีเชีย ในความพยายามที่จะยึดพื้นที่คืน[35] จอร์เจียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการสนองต่อเหตุโจมตีต่อผู้รักษาสันติภาพและหมู่บ้านของตนในเซาท์ออสซีเชีย และรัสเซียกำลังเคลื่อนหน่วยทหารที่มิใช่เพื่อการรักษาสันติภาพเข้ามาในพื้นที่ การโจมตีของจอร์เจียเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียในบรรดาผู้รักษาสันติภาพรัสเซีย ผู้ซึ่งต้านทานการโจมตีร่วมกับทหารอาสาสมัครออสเซเตีย จอร์เจียยึดซคินวาลีได้สำเร็จในไม่กี่ชั่วโมง รัสเซียสนองโดยการจัดวางกำลังกองทัพที่ 58 ของรัสเซีย และกำลังพลร่มรัสเซียในเซาท์ออสซีเชีย และเปิดฉากโจมตีทางอากาศต่อกำลังจอร์เจียในเซาท์ออสซีเชียและเป้าหมายทางทหารและการส่งกำลังบำรุงในดินแดนจอร์เจีย รัสเซียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการแทรกแซงทางมนุษยธรรมและการบังคับใช้สันติภาพที่จำเป็น[36][37]

กำลังรัสเซียและออสเซเตียสู้รบกับกำลังจอร์เจียทั่วเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาสี่วัน โดยมีการสู้รบหนักที่สุดในซคินวาลี วันที่ 9 สิงหาคม ทัพเรือของรัสเซียปิดล้อมชายฝั่งจอร์เจียบางส่วน และยกนาวิกโยธินขึ้นบกบนชายฝั่งอับฮาเซีย[38] ทัพเรือจอร์เจียพยายามจะขัดขวาง แต่พ่ายแพ้ในการปะทะกันทางทะเล กำลังรัสเซียและอับฮาเซียเปิดแนวรบที่สองโดยการโจมตีหุบโคโดรีที่จอร์เจียครองอยู่[39] กำลังจอร์เจียต้านทานได้เพียงเล็กน้อย และต่อมา กำลังรัสเซียได้ตีโฉบฉวยฐานทัพหลายแห่งในทางตะวันตกของจอร์เจีย หลังการสู้รบอย่างหนักในเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาห้าวัน กำลังจอร์เจียก็ร่นถอย ทำให้รัสเซียสามารถกรีธาเข้าสู่จอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาทและยึดครองนครต่าง ๆ ของจอร์เจียได้จำนวนหนึ่ง[40]

สหภาพยุโรปที่มีฝรั่งเศสเป็นประธานเข้าไกล่เกลี่ยสถานการณ์ และคู่กรณีบรรลุความตกลงหยุดยิงขั้นต้นในวันที่ 12 สิงหาคม โดยจอร์เจียลงนามเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมในกรุงทบิลิซี และรัสเซียลงนามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมในกรุงมอสโก หลายสัปดาห์ให้หลังการลงนามในความตกลงหยุดยิงดังกล่าว รัสเซียเริ่มถอนทหารส่วนมากออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท รัสเซียได้สถาปนาเขตกันชนรอบอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชีย ตลอดจนตั้งจุดตรวจในดินแดนจอร์เจีย ท้ายที่สุด กำลังเหล่านี้ได้ถูกถอนออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตะวันตกบางคนยืนยันว่า ทหารเหล่านี้ไม่ได้กลับไปประจำยังแนวที่ประจำอยู่เดิมก่อนหน้าที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้นตามที่ระบุไว้ในแผนสันติภาพ[41][42] กำลังรัสเซียยังประจำอยู่ในอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียความตกลงสองฝ่ายกับรัฐบาลทั้งสองดินแดน[43]

ภูมิหลังประวัติศาสตร์ แก้

บรรพบุรษของชาวออสซีเซียนั้นมาจากอิหร่าน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ตามลำแม่น้ำดอน แต่ต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่เทือกเขาคอเคซัสเพราะถูกบุกรุกโดยจักรวรรดิมองโกลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ภายหลังจากถูกขับไล่ออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด ชาวออสซีเซียได้ตั้งรกรากถาวรอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ที่บริเวณสาธารณรัฐนอร์ทออสซีเซีย-อาลาเนีย (ปัจจุบันเป็นดินแดนของรัสเซีย) และเซาท์ออสซีเซีย (ปัจจุบันเป็นดินแดนของจอร์เจีย)[44]

ในปี พ.ศ. 2537 ขณะที่สหภาพโซเวียตกำลังจะล่มสลายนั้น ผู้ที่ต่อต้านสหภาพโซเวียตคือ ซเวียด กัมซาคูร์เดีย ปรากฏตัวเป็นผู้นำของจอร์เจียเป็นคนแรก ในการรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีบนเวทีปราศรัยแห่งชาติ[45] เขาได้สร้างภาพว่าชาวจอร์เจียพื้นเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดว่าเป็นประชาชนผู้รักชาติอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการทำให้ฐานะของชาวเซาท์ออสซีเซียตกต่ำลง

ปลายปี พ.ศ. 2537 ศาลฎีกาของจอร์เจียตัดสินให้ดินแดนเซาท์ออสซีเซียเป็นรัฐอิสระ จึงได้แยกตัวออกมา หลังจากนั้นรัฐบาลในกรุงทบิลิซีกำหนดให้ภาษาจอร์เจียเป็นภาษาประจำชาติ ในขณะที่ชาวออสซีเซียใช้ 2 ภาษาหลักคือ ภาษารัสเซียและภาษาออสซีเซีย[45]

ท่ามกลางความตึงเครียดเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติที่เพิ่มขึ้น สงครามเซาท์ออสซีเซียปะทุขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2534 จากเหตุที่กำลังทหารของจอร์เจียบุกเข้าไปในเมืองหลวงซคินวาลี ผลจากสงครามเชื่อกันว่าประชาชนประมาณ 2,000 คนถูกฆ่าตาย[45][46] สงครามนี้ทำให้เกิดดินแดนเซาท์ออสซีเชียที่แยกตัวออกมาจากจอร์เจียและได้เอกราชมาอย่างไม่เป็นทางการ ดินแดนนี้มีชาวจอร์เจียประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด (70,000 คน)[47] หลังจากที่มีคำสั่งหยุดยิงในปี พ.ศ. 2535 ซคินวาลีถูกทอดทิ้งจากดินแดนของจอร์เจียรอบข้าง และรายงานข่าวการทารุณกรรม (ที่มีทั้งการข่มขืนและการฆ่าอย่างทารุณ) เพื่อต่อต้านชาวออสซีเซียนั้นก็วนเวียนอย่างไม่รู้จบ[45] ทหารประจำการของจอร์เจีย รัสเซีย และเซาท์ออสซีเซีย เข้าประจำฐานภายใต้คำสั่งของเจซีซี (JCC) ที่สั่งให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่[48][49] คำสั่งหยุดยิงในปี พ.ศ. 2535 นั้นยังได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ของความขัดแย้งรอบเมืองหลวงของเซาท์ออสซีเซีย คือ ซคินวาลี และแนวเขตรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2549 มีการลงประชามติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระของเซาท์ออสซีเซีย ปรากฏว่ามีจำนวนผู้ออกเสียงสนับสนุนให้เซาท์ออสซีเซียเป็นอิสระถึงร้อยละ 99 ทั้ง ๆ ที่ชาวจอร์เจียพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงประชามติด้วยเลย และทางจอร์เจียยังกล่าวหารัสเซียด้วยว่า อาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้น ถือว่าเป็นการทำให้ดินแดนตรงส่วนนั้นถูกรับรองระหว่างประเทศ และการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดที่นำโดยเอดูอาร์ด โคคอยตี ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้รับราชการทหารอยู่ใน หน่วยปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (FSB) และกองทัพรัสเซีย[50][51][52][53] ส่วนการกลับคืนมาของเซาท์ออสซีเซียและอับฮาเซียเพื่อไปอยู่ในอาณัติของจอร์เจียนั้น ได้เป็นเป้าหมายของประธานาธิบดีดมิตรี มิดเวดิฟ ตั้งแต่การปฏิวัติกุหลาบ[54]

อ้างอิง แก้

  1. "Statement by President of Russia Dmitry Medvedev". Russia's President web site. 2008-08-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-02. สืบค้นเมื่อ 2008-08-26.
  2. "El Presidente de la República Nicaragua Decreto No. 47-2008" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-10. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  3. Tavernise, Sabrina; Siegel, Matt (2008-08-16). "Looting and 'ethnic cleansing' in South Ossetia as soldiers look on". Melbourne: Theage.com.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-17. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  4. Hider, James (2008-08-28). "Russian-backed paramilitaries 'ethnically cleansing villages'". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  5. "World Report 2009 Book" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-08. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  6. RIA Novosti (2008-08-15). "World — S. Ossetia says Georgian refugees unable to return to region". En.rian.ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-05. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  7. "The Chronicle of a Caucasian Tragedy". Spiegel.de. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  8. Barabanov, Mikhail (2008-09-12). "The August War between Russia and Georgia". Moscow Defense Brief. Centre for Analysis of Strategies and Technologies. 3 (13). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-22. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
  9. Russia's rapid reaction เก็บถาวร 2009-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Institute for Strategic Studies
  10. Krasnogir, Sergey (8 August 2008). "Расстановка сил" (ภาษารัสเซีย). Lenta.Ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
  11. "Милитаризм по-кавказски", Nezavisimaya Gazeta
  12. Liklikadze, Koba. "Lessons And Losses Of Georgia'S Five-Day War With Russia – The Jamestown Foundation". Jamestown.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  13. "Full scale war: Georgia fighting continues over South Ossetia – Nachrichten English-News – Welt Online" (ภาษาเยอรมัน). Welt.de. 2008-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  14. "Georgiaupdate.gov.ge". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
  15. 15.0 15.1 15.2 "Up In Flames" (PDF). Human Rights Watch. 2009-01-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-09.
  16. "Russia lost 64 troops in Georgia war, 283 wounded". Uk.reuters.com. 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  17. "Georgia holds 12 Russian servicemen captive – RT Top Stories". Rt.com. 2008-08-18. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.[ลิงก์เสีย]
  18. 18.0 18.1 Civil.Ge | Official Interim Report on Number of Casualties
  19. Rusia interviene en el Cáucaso para quedarse y controlar su espacio vital, El País, 2008-08-17 (สเปน)
  20. "List of Killed and Missing Military Servicemen during the Georgian-Russian WAR". Georgia Ministry of Defense. 2012-06-08. สืบค้นเมื่อ 2012-06-08.
  21. "12 Georgian soldiers exchanged for convicted criminal". The Messenger. 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  22. Conclusion of the Investigating Committee of the Russian Prosecutor's Office เก็บถาวร 2011-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 3 July 2009
  23. "Deceased victims list". Ossetia-war.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  24. List of killed South Ossetian citizens as of 04.09.08 เก็บถาวร 2008-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Список погибших граждан Южной Осетии на 04.09.08, 4 September 2008 (รัสเซีย); Russia scales down Georgia toll, BBC News, 20 August 2008; Russia says some 18,000 refugees return to S. Ossetia, RIA Novosti 21 August 2008. Accessed 2009-05-28. Archived 2009-05-28.
  25. "Ministry of Foreign Affairs of Georgia - CONSEQUENCES OF RUSSIAN AGGRESSION IN GEORGIA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
  26. "A Summary of Russian Attack". Ministry of Foreign Affairs of Georgia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 August 2014.
  27. "Russia trains its missiles on Tbilisi". The Australian. 2008-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-20. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
  28. "UNHCR secures safe passage for Georgians fearing further fighting". UNHCR. 15 สิงหาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2019.
  29. "UNHCR: 100 tys. przemieszczonych z powodu konfliktu w Gruzji". Polska Agencja Prasowa (ภาษาโปแลนด์). 2008-08-12.
  30. Fawkes, Helen (2008-08-20). "Despair among Georgia's displaced". BBC News. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
  31. "Human Rights Watch Counts South Ossetian Casualties, Displaced". Deutsche Welle. 11 August 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  32. Roots of Georgia-Russia clash run deep, The Christian Science Monitor, 12 August 2008
  33. "Charles King, The Five-Day War" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-01. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  34. "Russia vows to defend S Ossetia". BBC News. 2008-08-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
  35. King, Charles (2009-10-11). "Clarity in the Caucasus?". Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
  36. "Russia and Eurasia". Heritage.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  37. Kramer, Andrew E.; Barry, Ellen (2008-08-13). "Russia, in Accord With Georgians, Sets Withdrawal". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
  38. Roy Allison, Russia resurgent? Moscow's campaign to ‘force Georgia to peace’ เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in International Affairs, 84: 6 (2008) 1145–1171. Accessed 2009-09-02. 2009-09-05.
  39. "Abkhazia launches operation to force Georgian troops out". Thaindian.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  40. "Day-by-day: Georgia-Russia crisis". BBC News. 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  41. "Microsoft Word – Russia follow up FINAL sent to TSO _2_.doc" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  42. Interview de M. Bernard Kouchner à la radio "Echo de Moscou" (1er octobre 2009) เก็บถาวร 2010-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ฝรั่งเศส)
  43. "Russia completes troop pullout from S.Ossetia buffer zone". Moscow: RIA Novosti. 8 October 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-09. สืบค้นเมื่อ 2008-10-10.
  44. "Q&A: Violence in South Ossetia". BBC News. 2008-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  45. 45.0 45.1 45.2 45.3 As Soviet Union Dissolved, Enclave’s Fabric Unraveled NYTimes Retrieved on 06-09-08
  46. "We are at war with Russia, declares Georgian leader". The Independent. 2008-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  47. Associated Press (2008-08-08). "Facts about South Ossetia". International Herald Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
  48. http://sojcc.ru/eng_news/911.html เก็บถาวร 2008-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน South-Ossetian part of JCC draws attention to the activities of the Georgian JPKF battalion
  49. South Ossetia: Mapping Out Scenarios
  50. «Осетины не имеют никакого желания защищать режим Кокойты», Svoboda News, 2008-08-08 (รัสเซีย)
  51. Войсками Южной Осетии командует бывший пермский военком генерал-майор เก็บถาวร 2008-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UralWeb.ru, 11 August 2008 (รัสเซีย)
  52. Миндзаев, Михаил: Министр внутренних дел непризнанной республики Южная Осетия, Lenta.Ru, 17.08.2008 (รัสเซีย)
  53. Georgia blames Russia of a territorial annexation, Utro, January 18, 2005
  54. "Saakashvili: Returning of Abkhazia is the main goal of Georgia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

จอร์เจีย

รัสเซีย

หน่วยงานระหว่างประเทศ

สื่อมวลชน

สารคดี