สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Guerres de la Révolution française; อังกฤษ: French Revolutionary Wars) เป็นหนึ่งในความขัดแย้งทางทหารที่แผ่กระจายอย่างกว้างขวางอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1802 และเป็นผลที่เกิดมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสต้องต่อสู้รบกับบริเตน ออสเตรีย ปรัสเซีย รัสเซีย และระบอบกษัตริย์อื่น ๆ อีกมายมาย พวกเขาได้แบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา: สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1792-97) และสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สอง (ค.ศ. 1798-1802) ในช่วงแรกจำกัดได้เพียงเฉพาะยุโรป การสู้รบก็ค่อย ๆ เสแสร้งว่าได้ขยายขนาดไปทั่วโลก ภายหลังจากทศวรรษของการทำสงครามอย่างต่อเนื่องและการทูตที่ดุเดือด ฝรั่งเศสได้ยึดครองดินแดนในคาบสมุทรอิตาลี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และไรน์ลันท์ในยุโรป และละทิ้งลุยเซียนาในอเมริกาเหนือ ฝรั่งเศสได้ประสบความสำเร็จในความขัดแย้งเหล่านี้ทำให้หลักการของการปฏิวัติได้เผยแพร่ไปทั่วยุโรป

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
วันที่20 เมษายน 1792 - 27 มีนาคม 1802
สถานที่
ผล สาธารณรัฐฝรั่งเศสได้รับชัยชนะ; สาธารณรัฐฝรั่งเศสอยู่รอด; ก่อตั้งรัฐบริวารของฝรั่งเศสหลายรัฐ
สนธิสัญญาลูเนอวิลล์ และ สนธิสัญญาอาเมียงส์
คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

จักรวรรดิออสเตรีย จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1
จักรวรรดิออสเตรีย อาร์ชดยุกคาร์ล
จักรวรรดิออสเตรีย ไมเคิล ฟอน เมลาส
จักรวรรดิออสเตรีย József Alvinczi
จักรวรรดิออสเตรีย Dagobert Sigmund von Wurmser
จักรวรรดิออสเตรีย Peter Quasdanovich
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เจ้าชายแห่งโฮเอินโลเออ
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส เจ้าชายแห่งกงเด
สหราชอาณาจักร เจ้าชายเฟรเดอริค ดยุคแห่งยอร์ค
สหราชอาณาจักร โฮราชิโอ เนลสัน
สหราชอาณาจักร Ralph Abercromby
สหราชอาณาจักร William Sidney Smith
จักรวรรดิรัสเซีย จักรพรรดิพอลที่ 1

จักรวรรดิรัสเซีย อะเลคซันดร์ ซูโวรอฟ

ฝรั่งเศส มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์
นโปเลียน โบนาปาร์ต
ชาร์ล ปีชกรู
ฌ็อง-บาติสต์ ฌูร์ด็อง
อ็องเดร มาเซนา
ฌ็อง วิกตอร์ มารี มอโร
ฟร็องซัว ดูมอริเย
ปีแยร์ โอเฌอโร
ฝรั่งเศส คริสต็อฟ แกแลร์มาน

Wolfe Tone

Jan Henryk Dąbrowski

เดนมาร์ก พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
  1. บางส่วนของจักรวรรดิออสเตรียเช่นเนเธอร์แลนด์ของออสเตรียและอาณาจักรดยุคแห่งมิลานอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรียโดยตรง นอกจากนั้นก็รวมรัฐอิตลาลีอีกหลายรัฐ และรัฐที่ปกครองโดยฮับส์บูร์ก เช่นแกรนด์ดัชชีตอสคานา
  2. เป็นกลางหลังสนธิสัญญาบาเซิลในปี ค.ศ. 1795
  3. เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801
  4. ประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส ค.ศ. 1799, แต่ออกในปีเดียวกัน
  5. เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1796 หลังจากสนธิสัญญาซานอิลเดฟอนโซที่ 2
  6. รัฐอิตลาลีแทบทั้งหมดรวมทั้นรับเป็นกลาง รวมทั้งอาณาจักรพระสันตะปาปาและสาธารณรัฐเวนิสถูกพิชิตหลังจากการรุกรานในปี ค.ศ. 1796 ของนโปเลียน และกลายเป็นรัฐบริวารของฝรั่งเศส
  7. กองกำลังส่วนใหญ่หนีแทนที่จะเข้าร่วมในการรุรานของกองทัพฝรั่งเศส เป็นเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1795 ในฐานะสาธารณรัฐปัตตาเวียหลังจากสนธิสัญญาสันติภาพบาเซิล
  8. เริ่มการปฏิวัติไอร์แลนด์ ค.ศ. 1798 เพื่อต่อต้านการปกครองของอังกฤษ
  9. มาถึงฝรั่งเศสหลังจากการยุบเลิกเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย หลังจากการแบ่งแยกครั้งที่สามค.ศ. 1795
  10. เป็นกลางอย่างเป็นทางการแต่เดนมาร์กถูกโจมตีโดยบริเตนในยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน

ในช่วงแรก ค.ศ. 1791 ระบอบกษัตริย์อื่น ๆ ของยุโรปได้มองเห็นถึงการปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยความเจ็บแค้น และพวกเขาต่างคิดว่าสมควรที่จะเข้าแทรกแซง รวมทั้งให้การสนับสนุนแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เพื่อขัดขวางการแพร่กระจายของการปฏิวัติ หรือเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์จากความโกลาหลในฝรั่งเศส ออสเตรียได้ส่งทหารเข้ามาประจำการที่ชายแดนฝรั่งเศสและร่วมมือกับปรัสเซีย ในการออกคำประกาศที่ฟิลนิทซ์ ซึ่งได้ทำการข่มขู่อย่างรุนแรง หากเกิดขึ้นสิ่งใดกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชชินีมารี อ็องตัวแน็ต ภายหลังจากที่ออสเตรียได้ปฏิเสธที่จะถอนกองกำลังทหารของตนออกจากชายแดนฝรั่งเศสและเพื่อตอบสนองจากการรับรู้ถึงการข่มขู่ว่าจะมีการใช้กำลัง ฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับออสเตรียและปรัสเซียในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1792 ทั้งสองประเทศจึงตอบโต้ด้วยประสานงานร่วมมือกันในการบุกครอง ซึ่งในที่สุดก็ได้ล่าถอยกลับไปในยุทธการที่วาลมีในเดือนกันยายน ด้วยชัยชนะในครั้งนี้ทำให้สภากงว็องซียงแห่งชาติได้ทำการล้มล้างระบอบกษัตริย์ หนึ่งในชัยชนะโดยกองทัพฝรั่งเศสใหม่ได้ยุติลงอย่างกระทันหันด้วยความปราชัยที่เนียร์วินเด็นในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1793 ฝรั่งเศสได้ประสบความพ่ายแพ้เพิ่มเติมในปีที่เหลืออยู่ และช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ทำให้สโมสรฌากอแบ็งก้าวขึ้นสู่อำนาจและกำหนดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวเพื่อรวมชาติให้เป็นหนึ่งเดียว

ใน ค.ศ. 1794 สถานการณ์ได้กลับมาดีขึ้นอย่างมากสำหรับฝรั่งเศส เนื่องจากชัยนะครั้งใหญ่ที่ Fleurus ต่อออสเตรียและที่ Black Mountain ต่อสเปน เป็นการส่งสัญญาณถึงจุดเริ่มต้นของช่วงระยะครั้งใหม่ในสงคราม ใน ค.ศ. 1795 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย และสาธารณรัฐดัตช์ ฝรั่งเศสยังทำให้สเปนและปรัสเซียออกจากสงครามด้วยสนธิสัญญาสันติภาพบาเซิล นายพลที่ไม่เป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านี้นามว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ริเริ่มการทัพครั้งแรกของเขาในอิตาลี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1796 ในเวลาอย่างน้อยกว่าหนึ่งปี กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียนได้ทำลายล้างกองทัพฮัมบวร์คและขับไล่พวกเขาออกไปจากคาบสมุทรอิตาลี ได้รับชัยชนะในการรบทุกครั้งและจับกุมเชลยจำนวน 150,000 นาย เมื่อกองทัพฝรั่งเศสได้กรีธาทัพไปจนถึงกรุงเวียนนา ออสเตรียได้เรียกร้องสันติภาพและยินยอมที่จะลงนามสนธิสัญญาแคมโพฟอร์มิโอ เป็นอันยุติของสหสัมพันธมิตรครั้งหนึ่งในการต่อต้านสาธารณรัฐ

สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1798 ด้วยการบุกครองอียิปต์ของฝรั่งเศส ภายใต้การนำโดยนโปเลียน ฝ่ายพันธมิตรได้ใช้โอกาสที่ได้ถูกแสดงให้เห็นถึงความพยายามของฝรั่งเศสในตะวันออกกลางเพื่อทวงดินแดนที่สูญเสียไปในสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่งกลับคืนมา สงครามได้เริ่มต้นขึ้นอย่างดีสำหรับฝ่ายพันธมิตรในยุโรป ที่พวกเขาได้ค่อย ๆ ผลักดันฝรั่งเศสออกจากอิตาลีและเข้ารุกรานสวิตเซอร์แลนด์ - กวาดคว้าชัยชนะที่มักนาโน คาสซาโน และโนวีไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ความพยายามของพวกเขาส่วนใหญ่ได้มลายไปพร้อมกับชัยชนะของฝรั่งเศสที่ซูริกในเดือนกันยายน ค.ศ. 1799 ซึ่งทำให้รัสเซียต้องถอนตัวออกจากสงคราม ในขณะเดียวกัน กองทัพนโปเลียนได้ทำลายล้างหนึ่งในกองทัพของอียิปต์และออตโตมันในยุทธการที่พีระมิด ภูเขาทาบอร์ และอาบูคีร์ ด้วยชัยชนะเหล่านี้ในอียิปต์ยิ่งทำให้ความนิยมของนโปเลียนเพิ่มพูนขึ้นไปอีก และเขาได้เดินทางกลับมาพร้อมด้วยการฉลองชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1799 แม้ว่าการทัพอียิปต์จะจบลงด้วยความล้มเหลวในที่สุด นอกจากนี้ ราชนาวียังได้เอาชนะในยุทธนาวีที่แม่น้ำไนล์ใน ค.ศ. 1798 เป็นการเสริมความแข็งแกร่งในการควบคุมทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของบริติซ และทำให้กองทัพเรือฝรั่งเศสอ่อนแอลง

การเดินทางกลับจากอียิปต์ของนโปเลียนนำไปสู่การล่มสลายของคณะดีแร็กตัวร์ในการก่อรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ พร้อมด้วยนโปเลียนสถาปนาตนเองเป็นกงสุล นโปเลียนจึงได้จัดตั้งกองทัพฝรั่งเศสและเปิดฉากการโจมตีครั้งใหม่ต่อออสเตรียในอิตาลีในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1800 สิ่งนี้นำมาซึ่งชัยชนะอย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในยุทธการที่มาเรนโกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1800 ภายหลังจากที่ออสเตรียได้ถอนตัวออกจากคาบสมุทรอีกครั้ง ด้วยชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของฝรั่งเศสที่โฮเฮ็นลินเด็นในบาวาเรียได้บีบบังคับให้ออสเตรียต้องการสันติภาพเป็นครั้งที่สอง ซึ่งนำไปสู่สนธิสัญญาลูว์เนวีลใน ค.ศ. 1801 เมื่อออสเตรียและรัสเซียได้ออกจากสงคราม บริเตนต้องพบว่าตนเองอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้นและยินยอมที่จะลงนามสนธิสัญญาอาเมียงส์กับรัฐบาลของนโปเลียนใน ค.ศ. 1802 ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดของสงครามการปฏิวัติ อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดที่ดูยืดเยื้อได้พิสูจน์แล้วว่ายากเกินกว่าจะควบคุมได้ และสงครามนโปเลียนได้เริ่มต้นขึ้นในอีกหนึ่งปีต่อมาด้วยการก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม เป็นความต่อเนื่องของหนึ่งในสงครามสหสัมพันธมิตร

อ้างอิง แก้

  • Doyle, William. The Oxford History of The French Revolution. Oxford: Oxford University Press, 1989. pp 191-192.

ดูเพิ่ม แก้