สงครามจีน-อินเดีย

สงครามจีน-อินเดีย (ฮินดี: भारत-चीन युद्ध, Bhārat-Chīn Yuddh)(จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: Zhōng-Yìn Biānjìng Zhànzhēng) เป็นสงครามระหว่างจีนและอินเดียที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2505 ข้อพิพาทชายแดนหิมาลัยเป็นสาเหตุหลักสำหรับการทำสงคราม แต่ก็มีสาเหตุอื่น ๆ ในพ.ศ. 2502 เกิดการก่อจลาจลในทิเบต อินเดียได้สนับสนุนทิเบตและให้ที่ลี้ภัยแก่องค์ดาไลลามะ อินเดียเริ่มมีนโยบายวางทหารตามแนวชายแดนรวมทั้งอีกหลายทางตอนเหนือของถนนสายเมคมาฮอน ส่วนทางทิศตะวันออกของสายควบคุมโดยจีน

สงครามจีน-อินเดีย

เขตแดนพิพาทระหว่างจีนและอินเดีย
วันที่20 ตุลาคม[1] – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505
สถานที่
อักไสชิน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของชายแดนฃองอินเดีย
ผล ชัยชนะของจีน
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
กองทัพอินเดียออกจากอักไสชิน, จีนเข้าควบคุม
คู่สงคราม
 อินเดีย  จีน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

อินเดีย บริจ โมฮัน กูล
อินเดีย สรวปัลลี ราธากฤษณัน
อินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู
อินเดีย วี. เค. กฤษณะ เมนนท์

อินเดีย ปราณ นาท ธาปาร์
จีน หลัว รุ่ยฉิง (เสนาธิการกองทัพปลดปล่อยประชาชน)[2]
จีน ฉาง กัวหัว (ผู้บัญชาการภาคสนาม)[3]
จีน เหมา เจ๋อตง
จีน หลิว โบเฉิง
จีน หลิน เปียว
จีน โจว เอินไหล
กำลัง
10,000–12,000 นาย 80,000 นาย[4][5]
ความสูญเสีย
ตาย 1,383 นาย[6]
บาดเจ็บ 1,047 นาย[6]
สูญหาย 1,696 นาย[6]
ถูกจับกุม 3,968 นาย[6]
ตาย 722 นาย[6]
บาดเจ็บ 1,697 นาย[6][7]
แผนที่แสดงการอ้างสิทธิ์ของอินเดียและจีนเกี่ยวกับพรมแดนในภูมิภาค Aksai Chin สาย Macartney-MacDonald สายการสำนักงานต่างประเทศตลอดจนความคืบหน้าของกองกำลังจีนในขณะที่พวกเขายึดครองพื้นที่ในช่วงสงครามจีน - อินเดีย

ไม่มีทางที่สามารถยุติปํญหาในดินแดนพิพาทตามแนวชายแดนหิมาลัย 3,225 กิโลเมตรได้[8] จีนได้นำกองกำลังโจมตีพร้อมกันในลาดัคห์และทั่วทั้งถนนสายเมคมาฮอนในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2505 เข้ายึดเมือง Rezang La ในทางภาคตะวันตก เช่นเดียวกับ Tawang ทางภาคตะวันออก สงครามสิ้นสุดลงเมื่อจีนประกาศพักรบเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 และพร้อมประกาศถอนตัวออกจากพื้นที่พิพาท

สงครามจีน-อินเดียที่โดดเด่นคือการสู้รบตามภูเขาที่ระดับความสูงกว่า 4,000 เมตร (14,000 ฟุต)[9] และไม่มีการส่งกองทัพเรือหรือกองทัพอากาศทั้งสองฝ่าย

เป็นที่น่าสังเกตเกิดขึ้นพร้อมกับช่วง 13 วันในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (16-28 ตุลาคม 1962) ที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเผชิญหน้ากัน อินเดียจึงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองมหาอำนาจนี้มากนัก จนวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาได้ยุติลง

อ้างอิง แก้

  1. Webster's Encyclopedic Unabridged Dictionary of the English language: Chronology of Major Dates in History, page 1686. Dilithium Press Ltd., 1989
  2. http://indianstrategicknowledgeonline.com/web/china%20decision%20for%201962%20war%202003.pdf เก็บถาวร 2009-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน China's Decision for War with India in 1962 John W. Garver
  3. Garver, John W. (2006), "China's Decision for War with India in 1962" (PDF), ใน Robert S. Ross (บ.ก.), New Directions in the Study of China's Foreign Policy, Stanford University Press, pp. 86–, ISBN 978-0-8047-5363-0, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2017
  4. H.A.S.C. by United States. Congress. House Committee on Armed Services — 1999, p. 62
  5. War at the Top of the World: The Struggle for Afghanistan, Kashmir, and Tibet by Eric S. Margolis, p. 234.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 The US Army [1] เก็บถาวร 2012-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน says Indian wounded were 1,047 and attributes it to Indian Defence Ministry's 1965 report, but this report also included a lower estimate of killed.
  7. Mark A. Ryan; David Michael Finkelstein; Michael A. McDevitt (2003). Chinese warfighting: The PLA experience since 1949. M.E. Sharpe. pp. 188–. ISBN 978-0-7656-1087-4. สืบค้นเมื่อ 14 April 2011.
  8. "Indo-China War of 1962".
  9. Calvin, James Barnard (April 1984). "The China-India Border War". Marine Corps Command and Staff College. สืบค้นเมื่อ 2011-10-15.