สกังก์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนกลาง–ปัจจุบัน
สกังก์ลายแถบ (Mephitis mephitis) เป็นสกังก์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดและนิยมเป็นสัตว์เลี้ยง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
อันดับย่อย: Caniformia
วงศ์ใหญ่: Musteloidea
วงศ์: Mephitidae
Bonaparte, 1845
สกุล
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Mephitinae Bonaparte, 1845
  • Myadina Gray, 1825
  • Mydaina Gray, 1864

สกังก์ (อังกฤษ: skunk) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อ ที่อยู่ในวงศ์ Mephitidae

สกังก์เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น วีเซล, มาร์เทิน, หมาหริ่ง, หมูหริ่ง, แบดเจอร์ ซึ่งสกังก์เคยถูกเป็นวงศ์ย่อยใช้ชื่อว่า Mephitinae[1] แต่ปัจจุบันได้มีการศึกษาทางพันธุศาสตร์พบว่าสกังก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงศ์เพียงพอน จึงแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก[3][4]

ลักษณะ แก้

โดยทั่วไปแล้ว สกังก์จะมีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ถึง 70 เซนติเมตร และน้ำหนักที่มีตั้งแต่ 0.5 กิโลกรัม ถึง 10 กิโลกรัม แตกต่างออกไปตามแต่ชนิด มีร่างกายที่ยาวพอสมควร มีขาที่ล่ำสัน และมีกรงเล็บหน้าที่ยาวซึ่งทำให้สามารถขุดดินได้เป็นอย่างดี มีขนหางยาวฟูเป็นพวง สีของขนที่พบได้มากที่สุด คือ สีดำที่มีริ้วเป็นสีขาวคล้ายรูปตัววี สกังก์ทุกตัวจะมีริ้วลายตั้งแต่เกิด ถึงแม้ว่ารูปแบบของริ้วลายจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับชนิด ในฤดูหนาวสกังก์จะไม่จำศีลแต่จะเคลื่อนไหวน้อยลง[5]

สกังก์มีประสาทสัมผัสการดมและการได้ยินที่ดีเยี่ยม ทว่ามีประสาทสายตาที่แย่ และเมื่อหลงทางไม่สามารถจดจำทางถิ่นที่อยู่ของตนเองได้ [6]

สกังก์เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน แต่ส่วนมากแล้วจะกินเนื้อสัตว์ เช่น ไส้เดือน, หนอน, ดักแด้, หอยทาก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก หากมีความจำเป็นยังกินผลไม้ป่าและเมล็ดพืชต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยจะอาศัยอยู่ในสภาพแลดล้อมที่เป็นทุ่งหญ้าโล่งหรือป่าละเมาะ และอาจจะเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองของมนุษย์ได้ เช่น เข้าไปอยู่ในท่อระบายน้ำหรือโพรงที่ผู้ขุดไว้ ถือว่าเป็นสัตว์รังควานจำพวกหนึ่ง[5]

การป้องกันตัว แก้

สกังก์เป็นสัตว์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการป้องกันตัว ด้วยการฉีดสารเคมีสีเหลืองที่มีกลิ่นฉุนมาก ตลบอบอวลไปในอากาศได้เป็นเวลานาน ซึ่งสารเคมีนี้ปล่อยมาจากต่อมลูกกลมคล้ายลูกองุ่น 2 ต่อมใกล้ก้น เมื่อสกังก์จะปล่อยจะใช้กล้ามเนื้อบีบพ่นออกมา ซึ่งสามารถพุ่งได้ไกลถึง 25 ฟุต[6] แม้จะหันหลังให้ก็ตาม แต่ก็สามารถปล่อยได้แม่นยำโดยเฉพาะใส่บริเวณใบหน้าและดวงตาของผู้รุกราน ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้รู้สึกแสบร้อน และตาบอดไปชั่วขณะ เพื่อที่สกังก์จะได้มีเวลาหนี แต่ก็ไม่สามารถใช้ได้กับสัตว์นักล่าทุกประเภท เช่น นกเค้าใหญ่ซึ่งไม่มีประสาทดมกลิ่นและจู่โจมเหยื่อส่วนหลังจากบนอากาศอย่างเงียบเฉียบ และหากสกังก์ปล่อยสารเคมีนี้แล้ว ต้องใช้เวลานานถึง 10 วัน ที่จะผลิตสารนี้ให้เต็ม ดังนั้นสกังก์จึงไม่ใช้วิธีนี้บ่อย ๆ หากไม่จำเป็นจริง ๆ[7]

สกังก์ มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ มีระยะเวลาการตั้งท้องประมาณ 9 สัปดาห์ โดยปกติแล้วจะออกลูกเพียงแค่ครอกเดียวต่อปี และโดยปกติแล้วจะมีลูกประมาณ 3-4 ตัวต่อครอก ลูกสกังก์จะไม่เปิดตาจนกระทั่งมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และหย่านมเมื่ออายุได้ 2 เดือน อายุขัยโดยเฉลี่ยในธรรมชาติ สกังก์มีอายุอยู่ได้ได้ระหว่าง 5-6 ปี แต่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานมากขึ้นอย่างมากหากอยู่ในที่เลี้ยง[5]

ซึ่งสารเคมีที่สกังก์ปล่อยออกมาสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า

 

การจำแนก แก้

สกังก์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 สกุล 12 ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วไปในอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้ และพบบางชนิดในเอเชีย คือ เกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

สัตว์เลี้ยง แก้

 
สกังก์ขนสีขาวล้วนที่เป็นสัตว์เลี้ยงตามบ้าน

ปัจจุบัน ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเอาสกังก์มาเป็นสัตว์เลี้ยงตามบ้าน มีการตั้งชมรมเกี่ยวกับสกังก์ ซึ่งสกังก์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงนี้จะถูกตัดต่อมกลิ่นออกแล้ว และมีสีขนที่หลากหลายกว่าในธรรมชาติ เช่น ขาวล้วน หรือสีน้ำตาล

อ้างอิง แก้

หรือ

  1. 1.0 1.1 1.2 itis.gov
  2. "FAMILY Mephitidae". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 2013-01-10.
  3. Don E. Wilson & DeeAnn M. Reeder (2005). Mammal Species of the World. A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed). Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-8221-0.
  4. Dragoo and Honeycutt; Honeycutt, Rodney L (1997). "Systematics of Mustelid-like Carnvores". Journal of Mammalogy. Journal of Mammalogy, Vol. 78, No. 2. 78 (2): 426–443. doi:10.2307/1382896. JSTOR 1382896.
  5. 5.0 5.1 5.2 สกังก์ คู่มือสัตว์รบกวน
  6. 6.0 6.1 Pets 101: Pet Skunks, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2556
  7. 10 การป้องกันตัวแปลกประหลาดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้