ศีลอด หรือภาษามลายูปัตตานีว่า ปอซอ[1] หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และงดการร่วมประเวณี ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน

ประเภทของศีลอด แก้

การถือศีลอดมีหลายประเภทเช่น

  1. ศีลอดภาคบังคับ ที่ชายหญิงมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะต้องปฏิบัติในเดือนรอมะฎอนทุกปี
  2. ศีลอดภาคสมัครใจ ที่ชายหญิงมุสลิมถือศีลอดในวันอื่น ๆ นอกเดือนรอมะฎอน

มุสลิมที่ต้องถือศีลอดเดือนรอมะฎอน แก้

  1. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ หรือที่เรียกว่า บรรลุศาสนภาวะ ด้วยเหตุนี้ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (เด็กต้องมีอายุ 15 ปีจันทรคติบริบูรณ์หรือมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่นฝันเปียกหรือมีประจำเดือน)
  2. มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม
  3. ไม่เมาหรือหมดสติ
  4. ไม่เจ็บป่วย เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย
  5. ไม่มีประจำเดือนหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร

สาเหตุทำให้ศีลอดเสีย แก้

หมายถึง ผู้ถือศีลอดคนใดคนหนึ่งได้กระทำในสิ่งดังต่อไปนี้ถือว่า ศีลอดของเขาเสียทันที และจะต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลังจากเดือนรอมะฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่ทำให้ศีลอดเสียมีดังต่อไปนี้

  1. ตั้งใจกิน ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
  2. ตั้งใจดื่ม ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
  3. ร่วมประเวณี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
  4. ตั้งใจให้ฝุ่นละออง หรือควัน หรือไอน้ำที่มีจำนวนมากเข้าไปในลำคอ
  5. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง
  6. การสวนทวารด้วยของเหลวทุกชนิด
  7. การตั้งใจอาเจียน.

อ้างอิง แก้

  1. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2552). ทักษะวัฒนธรรม (PDF). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. p. 81-82.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้