ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู

ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู (สกุลเดิม ศุภศิริ) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และแบบบัญชีรายชื่อหลายสมัย ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]

ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2538–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู

ประวัติ แก้

ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เกิดวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรสาวของนายศานิตย์ หรือพ่อเลี้ยงศานิตย์ ศุภศิริ อดีตนักการเมืองจังหวัดแพร่ชื่อดังในอดีต กับนางวัลลีย์ หรือแม่เลี้ยงวัลลีย์ ศุภศิริ มีพี่น้อง 5 คน คือ

  • นางศุภวัลย์ (รุธีรยุทธ) ศุภศิริ (แม่เลี้ยงไก่) ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด
  • นายสุรพงษ์ ศุภศิริ
  • นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู (แม่เลี้ยงติ๊ก)
  • นางภาวนา โชติกเสถียร
  • นายพงษ์สวัสดิ์ ศุภศิริ (โกปี้) ประธานสโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด อดีตประธานสภาองค์บริหารส่านจังหวัดแพร่

ศิริวรรณ เป็นนักการเมืองสตรีที่มีบทบาทโดดเด่น และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้รับมอบหมายให้ดูแลการเลือกตั้ง ของพรรคประชาธิปัตย์ ในโซน 1 (ภาคเหนือตอนบน 11 จังหวัด) ร่วมกับ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ และนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ นางศิริวรรณมีชื่อเล่นว่า ติ๊ก จึงมีชื่อที่ทุกคนเรียกกันจนติดปากว่า แม่เลี้ยงติ๊ก ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 มีบุตรชาย 1 คน คือ นายปารย์ ปราศจากศัตรู (ท่านขุน)

การศึกษา แก้

ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร[2] การศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร[3]

การทำงาน แก้

ร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ แก้

ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เป็นทายาทนักการเมืองของจังหวัดแพร่ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2538, 2539, 2544 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นางศิริวรรณเป็นฝ่ายแพ้ให้แก่ นายอนุวัธ วงศ์วรรณ จากพรรคไทยรักไทย ลูกชายนายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ศิริวรรณลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้ให้กับทีมผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2554 ศิริวรรณได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคเหนือ[4] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[5] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[6] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2562[7]

ศิริวรรณ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (คำรณ ณ ลำพูน) เป็นเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (สุเทพ เทือกสุบรรณ) และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (วิทยา แก้วภราดัย) ในปี พ.ศ. 2551

ร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ แก้

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ.2566 นางศิริวรรณ พร้อมด้วยหลานชายและหลานสาวอีก 2 คน ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เธอได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์[8]

งานสังคม แก้

ศิริวรรณ ยังได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2538 และเป็นกรรมการบริหารชมรมสมาชิกสภาสตรีไทย ปี พ.ศ. 2543

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ (เลื่อนแทน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประยุทธ์ลาราชการเข้าพรรครวมไทยสร้างชาติทำบุญใหญ่ สวมเสื้อต้อนรับอดีต ส.ส. และสมาชิกใหม่อีก 40 คน
  2. สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ ราย), เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ง หน้า ๑๗๗ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  7. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ัง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  8. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู พรรครวมไทยสร้างชาติ)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น แก้