ศาสนามันดาอี (มันดาอิกคลาสสิก: ࡌࡀࡍࡃࡀࡉࡉࡀ, ถอดเป็นอักษรโรมัน: mandaiia; อาหรับ: مَنْدَائِيَّة, Mandāʾīya) หรือ ศาสนาศอบิอ์ (อาหรับ: صَابِئِيَّة, Ṣābiʾīyah) เป็นศาสนาชาติพันธุ์เอกเทวนิยมและไญยนิยม[1]: 4 [2]: 1  ที่นับถือโดยชาวมันดาอีซึ่งอาศัยอยู่ที่ราบตะกอนน้ำพาทางใต้ของเมโสโปเตเมีย ชาวมันดาอีนับถืออาดัม อาเบล เสท เอโนช โนอาห์ เชม อารัมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งยอห์นผู้ให้บัพติศมา ชาวมันดาอีถือว่าอาดัม เสท โนอาห์ เชมและยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นผู้เผยพระวจนะ โดยมีอาดัมเป็นศาสดาและยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นผู้เผยพระวจนะคนสุดท้าย[3]: 45 [4] ชาวมันดาอีพูดภาษามันดาอิกซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในภาษาแอราเมอิกตะวันออก ชื่อมันดาอีมาจากภาษาแอราเมอิก manda หมายถึงความรู้[5][6] ชาวมันดาอีรู้จักในตะวันออกกลางในนามศอบิอ์ (อาหรับ: صُبَّة Ṣubba, เอกพจน์: Ṣubbī) ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาแอราเมอิกที่เกี่ยวข้องกับพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน มีการกล่าวถึงศอบิอ์ในอัลกุรอานสามครั้งร่วมกับชาวยิวและคริสตชน บางคราวชาวมันดาอีรู้จักในชื่อ "คริสตชนแห่งนักบุญจอห์น"[7]

กินซารับบา คัมภีร์ที่ยาวที่สุดของศาสนามันดาอี

โยรันน์ ยาคอบเซน บัคลีย์และนักวิชาการศาสนามันดาอีเสนอว่าชาวมันดาอีมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคปาเลสไตน์-อิสราเอลเมื่อสองพันปีก่อน ก่อนจะอพยพหนีการเบียดเบียนมาทางตะวันออก[8][9][10] ขณะที่บางส่วนเชื่อว่าชาวมันดาอีมีต้นกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมโสโปเตเมีย[11][12] นักวิชาการบางส่วนมองว่าศาสนามันดาอีมีอายุเก่าแก่และอยู่มาก่อนศาสนาคริสต์[13] ด้านชาวมันดาอียืนยันว่าศาสนาตนอยู่มาก่อนศาสนายูดาห์ คริสต์และอิสลามในฐานะศาสนาเอกเทวนิยม[14] ชาวมันดาอีเชื่อว่าพวกตนสืบเชื้อสายโดยตรงมาจากเชม บุตรของโนอาห์ในเมโสโปเตเมีย[15]: 186  และสาวกกลุ่มนาโซรีมันดาอี (Nasoraean Mandaean) ดั้งเดิมของยอห์นผู้ให้บัพติศมาในเยรูซาเลม

มีการนับถือศาสนามันดาอีทางตอนล่างของแม่น้ำคอรูน แม่น้ำยูเฟรทีสและแม่น้ำไทกริส รวมถึงบริเวณรอบ ๆ แม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบ ทางใต้ของอิรักและจังหวัดฆูเซสถานในอิหร่าน ประมาณการชาวมันดาอีทั่วโลกอยู่ที่ 60,000–70,000 คน[16] เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในอิรักก่อนเกิดสงครามอิรัก[17] ต่อมาชาวมันดาอีจำนวนมากลี้ภัยออกนอกประเทศหลังเกิดความวุ่นวายจากการบุกครองและยึดครองอิรักโดยกองทัพสหรัฐ รวมถึงความรุนแรงทางศาสนาที่เพิ่มสูงขึ้นจากกลุ่มหัวรุนแรง[18] ในค.ศ. 2007 ประชากรชาวมันดาอีในอิรักลดลงเหลือประมาณ 5,000 คน[17]

ชาวมันดาอียังคงแยกตัวและรักษาความเป็นส่วนตัวอย่างยิ่ง ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับชาวมันดาอีและศาสนาของพวกเขามาจากบุคคลภายนอกเป็นหลัก โดยเฉพาะยูลีอุส ไฮน์ริช เพเทอร์มันน์ นักบูรพาคดีชาวเยอรมัน นีกอลา ซุฟฟี รองกงสุลฝรั่งเศสในโมซูล[19]: 12 [20] และอี. เอส. โดรเวอร์ นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาวบริติช[21]

อ้างอิง แก้

  1. Buckley, Jorunn Jacobsen (2002). "Part I: Beginnings - Introduction: The Mandaean World". The Mandaeans: Ancient Texts and Modern People. New York: Oxford University Press on behalf of the American Academy of Religion. pp. 1–20. doi:10.1093/0195153855.003.0001. ISBN 9780195153859. OCLC 57385973.
  2. Al-Saadi, Qais; Al-Saadi, Hamed (2019). Ginza Rabba (2nd ed.). Germany: Drabsha.
  3. Brikhah S. Nasoraia (2012). "Sacred Text and Esoteric Praxis in Sabian Mandaean Religion" (PDF).
  4. mandaean الصابئة المندايين (21 November 2019). "تعرف على دين المندايي في ثلاث دقائق". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2 February 2022.
  5. Rudolph 1977, p. 15.
  6. Fontaine, Petrus Franciscus Maria (January 1990). Dualism in ancient Iran, India and China. The Light and the Dark. Vol. 5. Brill. ISBN 9789050630511.
  7. Edmondo, Lupieri (2004). "Friar of Ignatius of Jesus (Carlo Leonelli) and the First "Scholarly" Book on Mandaeaism (1652)". ARAM Periodical. 16 (Mandaeans and Manichaeans): 25–46. ISSN 0959-4213.
  8. Porter, Tom (22 December 2021). "Religion Scholar Jorunn Buckley Honored by Library of Congress". Bowdoin. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
  9. Buckley, Jorunn Jacobsen (2010). Turning the Tables on Jesus: The Mandaean View. In Horsley, Richard (March 2010). Christian Origins. ISBN 9781451416640.(pp94-111). Minneapolis: Fortress Press
  10. Lupieri, Edmondo F. (7 April 2008). "Mandaeans i. History". Encyclopaedia Iranica. สืบค้นเมื่อ 12 January 2022.
  11. มุมมองทางวิชาการส่วนน้อย
  12. "Mandaeanism | religion". Britannica. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  13. Duchesne-Guillemin, Jacques (1978). Etudes mithriaques. Téhéran: Bibliothèque Pahlavi. p. 545.
  14. "The People of the Book and the Hierarchy of Discrimination". United States Holocaust Memorial Museum. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021.
  15. Drower, Ethel Stefana (1937). The Mandaeans of Iraq and Iran. Oxford At The Clarendon Press.
  16. Thaler, Kai (March 9, 2007). "Iraqi minority group needs U.S. attention". Yale Daily News. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  17. 17.0 17.1 Deutsch, Nathaniel (6 October 2007). "Save the Gnostics". The New York Times.
  18. Crawford, Angus (4 March 2007). "Iraq's Mandaeans 'face extinction'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 December 2021.
  19. Lupieri, Edmundo (2001). The Mandaeans: The Last Gnostics. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 9780802833501.
  20. Häberl 2009, p. 18: "In 1873, the French vice-consul in Mosul, a Syrian Christian by the name of Nicholas Siouffi, sought Mandaean informants in Baghdad without success."
  21. Mandaean manuscripts given by Lady Ethel May Stefana Drower. Archives Hub.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้