ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศ

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 3 และมีเพียงประมาณร้อยละ 0.63 ของประชากรบังกลาเทศทั้งหมด[1][2] กล่าวกันว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมายังภูมิภาคเบงกอลตะวันออกเพื่อเผยแพร่หลักคำสอน และทำให้คนท้องถิ่นหันมาเข้ารีตเป็นชาวพุทธได้สำเร็จ โดยเฉพาะในภาคจิตตะกอง และภายหลังจักรวรรดิปาละเผยแผ่และอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทั่วดินแดนเบงกอล[3] ประชากรประมาณ 1 ล้านในบังกลาเทศนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[4] โดยประชากรพุทธมากกว่าร้อยละ 65 อาศัยอยู่ในภูมิภาคพื้นที่เนินเขาจิตตากอง โดยเป็นศาสนาหลักของชาวยะไข่, จักมา, Marma, Tanchangya, จุมมาอื่น และ Barua ส่วนร้อยละ 35 เป็นชาวพุทธเชื้อสายเบงกอล ชุมชนพุทธตั้งอยู่ในใจกลางเมืองของบังกลาเทศ โดยเฉพาะในจิตตะกองและธากา

โสมปุระมหาวิหารเป็นสถาบันพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศบังกลาเทศ
พุทธธาตุเจดีย์ วัดที่Bandarban

ประวัติ แก้

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่เมืองจิตตะกอง ของบังกลาเทศ สันนิษฐานว่ามาในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นช่วงที่พุทธศาสนาแพร่หลายจนถึงทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย สมณทูตสมัยนั้นเดินทางจากมคธโดยเรือ และพักที่เมืองจิตตะกอง ทำให้พุทธศาสนาเถรวาท เจริญรุ่งเรืองจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แม้ลัทธิอื่นก็มีนับถือกันแล้ว ดังพระถังซัมจั๋งได้จาริกผ่านมาแล้วบันทึกไว้ว่า "แคว้นสมตฏะ อยู่ติดมหาสมุทร...ชาวเมืองนับถือพระพุทธศาสนาและลัทธินอกจากนี้ มีพระสงฆ์กว่า 2,000 รูป ศึกษาธรรมฝ่ายเถรวาท พำนักอยู่อารามกว่า 30 แห่ง กลุ่มไม่นับถือพุทธปะปนกัน แต่นิครันถ์มีจำนวนมากกว่า"

บัณฑิตวิหาร แก้

นักปราชญ์ทั้งหลายสันนิษฐานว่า ระหว่างรัฐตรีปุระซึ่งอยู่ทางเหนือ และเมืองอาระกันซึ่งอยู่ทางใต้ มีแคว้นชื่อรัมมเทศ และมีเมืองหลวงชื่อ ศรีจัฏฏละ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ 14 คือ บัณฑิตวิหารคณาจารย์ในรัมมเทศก็ได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ศึกษาเล่าเรียน ดังปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าบัณฑิตวิหารนอกจากจะเป็นศูนย์การค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสังฆิการาม หรือวัด ในพระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งพระสงฆ์จากต่างชาติเข้ามาอาศัยศึกษาในบัณฑิตวิหาร หลังจากมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลายแล้ว สถาบันแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 300 ปี ในกลางพุทธศตวรรษที่ 15 มีบุตรพราหมณ์เมืองจิตตะกองเป็นอาจารย์ใหญ่ของสถาบันนี้ คือ สิทธะปัญญาภัททะ (ติโลปะ) เป็นพระมหายานแบบตันตระ มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า และเวทมนตร์ต่างๆ ท่านได้แต่งคัมภีร์ไว้ศึกษาในสถาบันนี้จำนวนมาก เช่น ศรีสรัชสำพาราธิษฐาน จัตตุโรปเทศ ปาสันนทีป อาจินตามหามุทรานาม มหามุทโรปเทส โทหโกษ และสฬธัมโมปเทส เป็นต้น

ต่อมาศิษย์ของท่านชื่อว่า สิทธะนาฬาปาทะ (นโรปะ) ได้แปลคัมภีร์ "สฬสธัมโมปเทส" เป็นภาษาบาลี และก็มีลูกศิษย์ของท่านชื่อว่า รัตนเถระ และคณาจารย์จากสถาบันนี้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบตด้วย คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงของสถาบันแห่งนี้ คือ สิทธะนโรปะ สิทธะหลุยปาทะ สิทธะอานังควัชระ สิทธะตาฆนะ สิทธะสาวรีปาทะ สิทธะอาวธูตปาทะ สิทธะนานาโพธะ สิทธะญาณวัชระ สิทธะพุทธญาณปาทะ สิทธะอโมฆนาถะ และสิทธะธรรมสิริเมไตร เป็นต้น ซึ่งบางรูปก็เป็นชาวจิตตะกอง

จิตตะกองขึ้นกับอาระกัน แก้

นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า กษัตริย์แคว้นนี้เคยนับถือพุทธศาสนามาก่อน แล้วจึงหันไปนับถือศาสนาอิสลามในหลังยุคเสนวงศ์ มีกษัตริย์ฮินดูนามว่า มาธุเสนะ ทรงให้อิสระแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา จนถึงยุคของพระเจ้าจันทรวงศ์ ซึ่งเป็นชาวพุทธ ได้ปกครองจิตตะกองในปี พ.ศ. 1772 และมีกษัตริย์พุทธอีกหลายพระองค์ ต่อมาปี พ.ศ. 1822 กษัตริย์ตรีปุระ พระนามว่า รัตนผา ได้ยึดครองจิตตะกอง ทำให้กษัตริย์องค์สุดท้ายต้องไปพำนักอยู่ในเทวคามภูเขาลูกหนึ่ง ปัจจุบันเรียกว่าเทวังปหารในจิตตะกอง และในพุทธศตวรรษที่ 10 กษัตริย์แคว้นอารากัน พระนามว่าไชยจันทร์ ได้ยึดเมืองจิตตะกองมีพระราชวังอยู่ที่จักรศาลาพระองค์ได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาด้วยวัดหลายแห่ง เช่น เทวัง จักรศาลา และรามู เป็นต้น

ยุคเสื่อม แก้

พุทธศาสนามหายานแบบตันตระ[5] ได้แพร่หลายไปทั่วอาระกัน ที่เมืองหลวงมีฮัน ชาวเมืองสักการบูชาเคารพพระรูปเทวีมคเธรสวี ซึ่งเป็นรูปเคารพ และยังแพร่หลายไปถึงพม่าด้วยในปี พ.ศ. 2181 กษัตริย์อาระกันขัดแย้งกับเมืองจิตตะกอง ทำให้กษัตริย์มกุฏราย ยอมขึ้นกับราชวงศ์โมกุล ส่วนทางใต้ของแม่น้ำกัณณฟูลี และรามู ยังตกเป็นของอาระกัน จากนั้นก็ตกเป็นของโมกุลหมด ถือว่าอิสลามได้ครองอำนาจเหนือกษัตริย์พุทธเต็มรูปแบบในชมพูทวีป แต่ก็มีชาวพุทธเล็กน้อยในจิตตะกอง แม้มหายานตันตระก็มีอยู่ไม่มาก บัณฑิตวิหารก็ถูกทำลายสิ้น ชาวพุทธก็หลบหนีไปอย่ตามเมืองต่างๆ เมื่อไม่ที่พึ่งทางใจก็หันไปนับถืออิสลามไปมากก็มาก ชาวพุทธส่วนมากหันไปนับถือลัทธิไวศณพ ชาวพุทธที่เป็นปุโรหิตก็นับถือได้ง่าย เพราะบูชาพระแม่กาลี พระพิฆเนศ ฯลฯ อยู่แล้ว

ปัจจุบัน แก้

 
พุทธสถานมหาสธานคร (Mahasthangarh), เมืองโบกรา

พระพุทธศาสนาในจิตตะกองได้รับการฟื้นฟูจากคณะสงฆ์เถรวาท นำโดยพระสังฆราชเมืองยะไข่ ในปี พ.ศ. 2408-2421 พระองค์ได้วางรากฐานแบบเถรวาทในจิตตะกอง โดยจัดพิธีอุปสมบทภิกษุแล้วให้ศึกษาอบรมพระธรรมวินัย ตลอดอายุกาลของพระองค์ แม้สมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อมาก็ได้สืบสานนโยบายต่อไป จนมีบรรพชาอุปสมบทมากขึ้นตามลำดับ ต่อมา พ.ศ. 2473 ในสมัยพระสังฆราชอาจริยะญาณลังการมหาเถระ สถิต ณ มหามุนีปาหารตอลี เมืองจิตตะกอง ท่านทัสสนาจาริยะบัณฑิตธรรมธารมหาเถระ ก็ได้จัดตั้ง "สังฆราชภิกขุมหาสภา"ขึ้น ปัจจุบันเรียกว่า "บังกลาเทศสังฆภิกขุมหาสภา" โดยมีพระสงฆ์จากปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ จนปัจจุบันนี้มีสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 โดยปัจจุบันนี้ชาวพุทธในบังกลาเทศส่วนใหญ่เป็นแบบเถรวาท[6]

เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานข่าวว่ามีชาวมุสลิมบังกลาเทศราว 25,000 คน ก่อจลาจล เผาวัดพุทธ 5 แห่ง และบ้านเรือนร่วม 100 หลังคาเรือนในเมืองรามู ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 29 กันยายน โดยอ้างว่าเป็นการตอบโต้ผู้ใช้เฟซบุ้กชาวพุทธบังกลาเทศคนหนึ่งนาม อัตตาม พารัว ที่โพสต์รูปภาพตนขณะเหยียบคัมภีร์อัลกุรอาน[7]

ซึ่งบริเวณเมืองรามูดังกล่าวเป็นพื้นที่ตรึงเครียดเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับรัฐยะไข่ของพม่าซึ่งมีการประท้วงมาก่อนหน้านี้ ทั้งยังเป็นช่วงเดียวกับที่ชาวบังกลาเทศมุสลิมได้ประท้วงภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง "เดอะอินโนเซนส์ออฟมุสลิมส์" ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้[7]

ภาพรวมประชากร แก้

ประชากรพุทธในอดีต
ปีประชากร±%
1951 294,437—    
1961 355,634+20.8%
1974 428,871+20.6%
1981 522,722+21.9%
1991 637,893+22.0%
2001 862,063+35.1%
2011 898,634+4.2%
2022 1,007,467+12.1%
ที่มา: หน่วยงานสำรวจสำมะโนประชากร รัฐบาลบังกลาเทศ[8][9]

ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศแบ่งตามช่วงทศวรรษ[8][10]

ปี ร้อยละ เพิ่มขึ้น
1951 0.7% -
1961 0.7% -0%
1974 0.6% -0.1%
1981 0.6% -0%
1991 0.6% -0%
2001 0.7% +0.1%
2011 0.6% -0.1%
2022 0.63% +0.03%
ประชากรพุทธทั่วบังกลาเทศ[11]
ภาค ร้อยละ (%) ประชากรพุทธ ( ) ประชากรทั้งหมด
บอรีชัล 0.18% 14,348 8,173,818
จิตตะกอง 7.08% 1,719,759 24,290,384
ธากา 0.39% 152,274 39,044,716
ขุลนา 0.68% 99,995 14,705,229
ราชชาฮี 0.36% 58,877 16,354,723
รังปุระ 0.34% 47,080 13,847,150
สิเลฏ 0.02% 1,621 8,107,766
มัยมันสิงห์ 0.62% 27,999 11,370,102

นิกายปัจจุบัน แก้

คณะสงฆ์จิตตะกอง ในบังกลาเทศมี 2 นิกาย ได้แก่

  • มาเถ หรือมหาเถรนิกาย หรือมหาสตภีรนิกาย นิกายมาเถ ถือว่าเป็นนิกายเก่าแก่ มีพระภิกษุ 40-50 รูป อยู่ที่ ตำบลราวซาน (রাউজান) ตำบลรางคุนิยา (রাঙ্গুনিয়া) ตำบลโบวาลขลี বোয়ালখালী) และตำบลปาจาไลช (পাঁচলাইশ)
  • สังฆราชนิกาย หรือนิกายสังฆราช นิกายสังฆราช เกิดหลังนิกายมาเถ 100 ปีเศษ มีสมเด็จพระสังฆราชสารเมธมหาเถระ เป็นผู้ให้กำเนิด มีพระสงฆ์อยู่ทั่วประเทศ การปฏิบัติของนิกายนี้เคร่งครัดตามแบบเถรวาท ส่วนพิธีการทางศาสนาจะแตกต่างกับนิกายแรก ในสมัยสมเด็จพระสงฆราชองค์ที่ 7 ได้พยายามตกลงกับผู้ใหญ่ของนิกายมาเถ ลงนามในที่ประชุม เพื่อรวมเป็นนิกายเดียวกัน แต่ไม่สำเร็จ เพราะแต่ละนิกายต่างมีทิฏฐิของตนอยู่มากจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. "Census 2022: Bangladesh population now 165 million". 27 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2022. สืบค้นเมื่อ 29 July 2022.
  2. "Bangladesh : AT A GLANCE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
  3. "Bangladesh Buddhists Live in the Shadows of Rohingya Fear - IDN-InDepthNews | Analysis That Matters". www.indepthnews.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  4. "Census 2022: Bangladesh population now 165 million". 27 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2022. สืบค้นเมื่อ 29 July 2022.
  5. Banerjee, S. C. Tantra in Bengal: A Study in Its Origin, Development and Influence. Manohar. ISBN 8185425639.
  6. "BANGLADESH: COUNTRY PROFILE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
  7. 7.0 7.1 "สลด!เผา 'วัดพุทธ' บังกลาเทศวอด" (Press release). คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 "Bangladesh- Population census 1991: Religious Composition 1901-1991". Bangladeshgov.org. 2 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2016. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
  9. "Census 2022: Bangladesh population now 165 million". 27 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2022. สืบค้นเมื่อ 29 July 2022.
  10. "Census 2022: Bangladesh population now 165 million". 27 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2022. สืบค้นเมื่อ 29 July 2022.
  11. "Mymensingh District - Banglapedia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.