ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา (อังกฤษ: Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ

  • ปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive phenomenology) - นักวิชาการตะวันตกได้พบในคำสอนของพระพุทธเจ้า ความรู้ในเรื่องจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ (phenomenological psychology) ซึ่งเป็นการตรวจสอบจิตใจของตัวเองอย่างละเอียด โดยเฉพาะจากพระอภิธรรม
  • เป้าหมาย/ความหมายของจิตบำบัด - นักจิตวิทยามนุษยนิยมได้เริ่มใช้แนวคิดไม่แบ่งเป็นสอง (nondualism) และประสบการณ์รู้ความจริงของธรรมชาติ โดยเป็นเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงตนเอง การฟื้นจากโรค และของชีวิต มีการเผยแพร่ทฤษฎีที่แสดงความเชื่อมต่อกันเช่นนี้ในปี 2536[1]
  • การใช้ในการรักษา - ผู้บำบัดรักษาทางสุขภาพจิตในปัจจุบันพบว่า การปฏิบัติของศาสนาพุทธ (เช่นการเจริญสติ) สามารถบำบัดปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีหลักฐาน
  • จิตวิทยาหรือเรื่องทางจิตวิญญาณยอดนิยม (ของโลกตะวันตก) - จิตวิทยาได้กลายเป็นเรื่องนิยม แล้วผสมกับเรื่องทางจิตวิญญาณจนกลายเป็นความเชื่อสมัยใหม่ที่เรียกในโลกตะวันตกว่านิวเอจ (New Age) แนวคิดพุทธต่าง ๆ เป็นส่วนผสมที่สำคัญของความเชื่อนี้

จิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์จากศาสนาพุทธ แก้

ศาสนาพุทธเกิดขึ้นกว่า 2,000 ปีก่อนสาขาจิตวิทยา ดังนั้น การตรวจสอบศาสนาพุทธจากมุมมองทางจิตวิทยาจึงเป็นเรื่องสร้างขึ้นในปัจจุบัน[a] ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อนักอินเดียวิทยาชาวอังกฤษเริ่มแปลคัมภีร์พระอภิธรรมของพุทธเถรวาทจากคัมภีร์บาลีและคัมภีร์สันสกฤต ส่วนผู้นำพุทธวัชรยาน เช่น Chogyam Trungpa และองค์ทะไลลามะที่ 14 ได้ทำงานระยะยาวเพื่อเปรียบเทียบเรื่องทางจิตจากคัมภีร์อภิธรรมกับวิทยาศาสตร์อิงหลักฐานของชาวตะวันตก

ภาพรวมของพระอภิธรรม แก้

คำสอนของพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในคัมภีร์ที่แบ่งออกเป็น 3 ภาคคือพระไตรปิฎก โดยปิฎกที่สามเป็นพระอภิธรรม พระภิกษุโพธิ (Jeffrey Block) ภิกษุเถรวาทสายศรีลังกาชาวอเมริกันผู้เป็นประธานของ Buddhist Publication Society (สมาคมสิ่งตีพิมพ์พุทธ) ให้ภาพรวมของพระอภิธรรมดังต่อไปนี้ คือ

 
ส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกที่บันทึกเป็นอักษรไทยบนแผ่นใบลาน

ระบบที่คัมภีร์พระอภิธรรมแสดงอย่างชัดเจนเป็นทั้งปรัชญา จิตวิทยา และจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน ทั้งหมดประสานเป็นโครงสร้างทางดำเนินเพื่อความหลุดพ้น (แต่)ความพยายามเข้าใจธรรมชาติของความจริงที่คัมภีร์แสดง โดยตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกของโลกตะวันตก ไม่ได้เริ่มจากมุมมองของผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง ๆ ผู้กำลังมองโลกภายนอก จุดประสงค์หลักของพระอภิธรรมก็เพื่อจะเข้าใจธรรมชาติของประสบการณ์ และดังนั้นความจริงที่สนใจก็คือความจริงที่รับรู้ เพราะเหตุนี้ ส่วนที่เป็นปรัชญาของพระอภิธรรมจึงน้อมไปทางจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ (phenomenological psychology) เพื่ออำนวยความเข้าใจของความจริงที่ประสบ คัมภีร์จึงเริ่มด้วยการวิเคราะห์จิตอย่างละเอียดพิสดาร เป็นจิตดังที่ปรากฏเมื่อพินิจพิจารณาภายใน คัมภีร์จัดจิตออกเป็นหลายชนิด กำหนดองค์ประกอบและหน้าที่ของแต่ละอย่าง สัมพันธ์ทั้งหมดนั้นกับอารมณ์ของจิต (สิ่งที่จิตรู้) และรูปที่เป็นฐานของจิต และแสดงการเชื่อมต่อกันของจิตประเภทต่าง ๆ กับทั้งจิตด้วยกันเองและกับรูป ที่เป็นกระบวนการก่อประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง[2]: 3–4 

การยอมรับคัมภีร์อภิธรรมทางด้านจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ของชาวตะวันตก จึงเริ่มต้นเกินกว่าศตวรรษก่อนเพราะงานของนักอินเดียวิทยาชาวอังกฤษ

งานวิชาการของนางไรส์ เดวิดส์ (พ.ศ. 2443) แก้

 
นางแคโรไลน ออกัสตา โฟลีย์ ไรส์ เดวิดส์ เป็นบุคคลแรก ๆ ที่มองคัมภีร์พุทธจากมุมมองทางจิตวิทยา

ในปี พ.ศ. 2443 นักอินเดียวิทยานางแคโรไลน ออกัสตา โฟลีย์ ไรส์ เดวิดส์ พิมพ์ผ่านสำนักพิมพ์สมาคมคัมภีร์บาลี (Pali Text Society) การแปลคัมภีร์แรกของพระอภิธรรมคือคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยตั้งชื่อว่า Buddhist Manual of Psychological Ethics (คู่มือพุทธเรื่องจริยธรรมทางจิต)[3] ในอารัมภบทของงานทรงอิทธิพลนี้ ผู้เขียนได้กล่าวว่า

...

ปรัชญาชาวพุทธเป็นเรื่องจริยธรรมจากต้นจนจบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เถียงไม่ได้ แต่จริยธรรมแบบต่าง ๆ ก็ต่างกันราวกับฟ้าดินในความสำคัญที่ให้ต่อเรื่องของจิตที่นำไปสู่จริยธรรม ชาวพุทธมีความก้าวหน้าบางอย่างในเรื่องจิตที่เกี่ยวกับจริยธรรมยิ่งกว่าอาริสโตเติลเสียอีก เป็นความก้าวหน้าที่ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ โดยปฏิเสธสมมติฐานเรื่องวิญญาณ (psyche) และอะไรที่ยิ่งกว่านั้น ชาวพุทธพอใจที่จะแยกแยะจิตของบุคคลที่มีจริยธรรม "ตามที่เห็น" ออกเป็นปรากฏการณ์ทางอัตวิสัยที่เชื่อมต่อกันอย่างซับซ้อน กลุ่มของธรรมะที่แยกแยะได้ซึ่งก็คือสภาวะหรือสภาพจิต "เกิดขึ้น" ทุกครั้งกับจิต ตามกฎปัจจยาการที่แน่นอน ทั้งโดยรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งโดยที่สุดแล้วเป็นการเกิดโดยเป็นผลของสภาวะที่เกิดขึ้นก่อน ๆ ของจิต ... ดังนั้น ศาสนาพุทธ โดยเริ่มตั้งแต่พัฒนาการยุคต้น ๆ ได้ตั้งตนเพื่อวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ของกระบวนการทางจิตด้วยปัญญาและความหลักแหลมอันยอดเยี่ยม[3]: xvi–xvii  [b]

การแสดงศาสนาพุทธในแนวจิตวิทยาเป็นสิ่งที่นางไรส์ เดวิดส์ทำต่อเนื่องเป็นทศวรรษ ๆ ดังที่พบได้ในงานปี 2457[4] และ 2479[5]

Trungpa Rinpoche และสถาบันนาโรปา (2517) แก้

- Chogyam Trungpa Rinpoche, 2517[c]

ในอารัมภบทของหนังสือปี 2518 Glimpses of the Abhidharma (ประกายแห่งพระอภิธรรม) รินโปเช Chogyam Trungpa เขียนว่า

นักจิตวิทยาปัจจุบันจำนวนมากได้พบว่า สิ่งที่พบในคัมภีร์อภิธรรมตรงกับสิ่งที่ตนค้นพบและไอเดียที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ เหมือนอย่างว่า พระอภิธรรมที่สอนเมื่อ 2,500 ปีก่อน ได้พัฒนาขึ้นใหม่โดยใช้สำนวนปัจจุบัน"[7]: 2 

หนังสือของ Trungpa ยังกล่าวถึงลำดับปรากฏการณ์ในระดับนาโนวินาทีที่เกิดการรู้สัมผัสทางกาย โดยใช้แนวคิดในเรื่องขันธ์ 5

ในปี 2517 Trungpa ได้ตั้งสถาบันนาโรปา ปัจจุบันเรียกว่ามหาวิทยาลัยนาโรปา และเริ่มตั้งแต่ปี 2518 มหาวิทยาลัยที่มีการรับรองนี้ได้ให้ปริญญาในสาขา "จิตวิทยาแบบพิจารณา (contemplative psychology)"[8][d]

ทะไลลามะและการสนทนาเรื่องจิตและชีวิต (2530) แก้

ทุก ๆ สองปีตั้งแต่ปี 2530 องค์ทะไลลามะที่ 14 เทนซิน เกียตโซ ได้ทรงจัดตั้งงานประชุม "จิตและชีวิต (Mind and Life)" สำหรับทั้งพุทธศาสนิกชนและนักวิทยาศาสตร์[e] เมื่อพิจารณาย้อนหลังถึงการประชุมหนึ่งเช่นนี้ในเดือนมีนาคม 2543 นักจิตวิทยาแดเนียล โกลแมน ให้ข้อสังเกตว่า

ตั้งแต่พุทธกาลในช่วง 5 ทศวรรษก่อนคริสต์ศักราช การวิเคราะห์จิตและการทำงานของจิตเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติของสาวกพระพุทธเจ้า วิธีการวิเคราะห์เช่นนี้ได้จัดเป็นระบบในช่วง 1,000 ปีแรกหลังจากทรงปรินิพพาน เป็นระบบเรียกเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลว่า พระอภิธรรม ซึ่งหมายความว่า "หลักสอนสุดยอด" พุทธศาสนาทุกนิกายทุกวันนี้จะมีรูปแบบหนึ่งของคำสอนทางจิตวิทยานี้ โดยประกอบกับการขัดเกลาคำสอนของแต่ละนิกาย[6]: 72–73 

ศาสนาพุทธและจิตวิเคราะห์ แก้

ครูสอนการปฏิบัติ ผู้รักษา และนักเขียนรวมทั้ง ไดเซตสึ เทอิทาโร ซูซูกิ, คาร์ล ยุง, เอริก ฟรอมม์, แอลัน วัตส์, Tara Brach, Jack Kornfield, Joseph Goldstein, และ Sharon Salzberg ได้พยายามเชื่อมและรวมจิตวิเคราะห์กับคำสอนจากพุทธศาสนา ทนายอังกฤษนักเขียนหนังสือพุทธคนหนึ่งเรียกการร่วมมือกันในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 20 ของนักจิตวิเคราะห์และนักวิชาการทางพุทธศาสนาว่าเป็นการประชุมกันของ

พลังสองอย่างที่มีอำนาจมากที่สุดที่กำลังทำงานในด้านจิตของชาวตะวันตกในปัจจุบัน"[17]: ปกหลัง 

แต่ว่าหลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติตามศาสนาพุทธได้แสดงความเป็นห่วงว่า การมองพุทธศาสนาผ่านมุมมองของจิตวิทยาแบบตะวันตกทำให้คำสอนการพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้าเสื่อมลง[18]

ซูซูกิ แก้

คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในการเผยแพร่ศาสนาพุทธในโลกตะวันตกก็คือ นักวิชาการพุทธเซนชาวญี่ปุ่น ไดเซตสึ เทอิทาโร ซูซูกิ โดยร่วมมือกับจิตแพทย์ คาร์ล ยุง และนักจิตวิทยา ศ. เอริก ฟรอมม์ และมีอิทธิพลต่อนักปรัชญา มาร์ติน ไฮเดกเกอร์[19]

ซูซุกิและยุง (2491) แก้

นพ. คาร์ล ยุง เขียนคำนำในหนังสือของซูซูกิ คือ ศาสนาพุทธเซนเบื้องต้น (Introduction to Zen Buddhism)[20] [f] ซึ่งเขาเน้นประสบการณ์การรู้แจ้งที่เซนเรียกว่า ซาโตริ (悟り) ว่าเป็น "การแปรสภาพไปสู่เอกภาพที่ไม่มีอะไรเสมอ" สำหรับนักปฏิบัติแบบเซน และแม้ว่าจะยอมรับถึงความความพยายามที่ไม่สมบูรณ์ของชาวตะวันตกที่จะเข้าใจซาโตริผ่านแนวคิดทางปัญญาของชาวตะวันตก[g]

ซูซูกิและฟรอมม์ (2500) แก้

โดยอ้างการร่วมมือกันระหว่าง นพ. ยุง กับซูซูกิ รวมทั้งความพยายามของคนอื่น นักปรัชญามนุษยนิยมและนักจิตวิเคราะห์ ศ. ดร. เอริก ฟรอมม์ ให้ข้อสังเกตว่า

มีความสนใจที่ชัดเจนและเพิ่มขึ้นในพุทธศาสนาแบบเซนจากบรรดานักจิตวิเคราะห์[17]: 77–78  [h]

ในปี 2500 ซูซูกิ ดร. ฟรอมม์ และนักจิตวิเคราะห์อื่น ๆ ได้ร่วมมือกันทำเวิ้ร์กฉ้อปเรื่อง "ศาสนาพุทธเซนกับจิตวิเคราะห์" ในเมือง Cuernavaca ประเทศเม็กซิโก[i] ในการเสนอของเขาที่เวิ้ร์กฉ้อป ดร. ฟรอมม์ประกาศว่า

จิตวิเคราะห์เป็นตัวแสดงวิกฤติการณ์ทางจิตวิญญาณของคนตะวันตกโดยเฉพาะ และเป็นการพยายามหาทางออก[17]: 80 

เข้าอ้างว่า ตอนต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 คนไข้จิตวิเคราะห์เสาะหาการรักษาเพราะอาการเหมือนป่วยที่ขัดขวางกิจกรรมทางสังคม แต่โดยกลางทศวรรษ คนไข้โดยมากไม่แสดงอาการอะไรให้ปรากฏ และดำเนินกิจกรรมไปด้วยดี แต่กลับมีปัญหากับ "ความไม่มีชีวิตชีวาของใจ" และว่า

ความทุกข์ที่สามัญคือ ความเหินห่างจากตนเอง จากเพื่อนมนุษย์ และจากธรรมชาติ เป็นความสำนึกว่า ชีวิตกำลังหมดไปเหมือนกับทรายไหลออกจากมือ และตนจะตายอย่างยังไม่ได้ใช้ชีวิต และว่า ตนอยู่ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์แต่กลับไร้ความสุข[17]: 85–86 

ดร. ฟรอมม์กล่าวต่อไปโดยถอดคำของซูซูกิอย่างกว้าง ๆ ว่า

เซนเป็นศิลปะใน "การเห็นธรรมชาติในตน" เป็นวิธีดำเนิน "จากความเป็นทาสไปสู่อิสระ" เป็นการ "ปลดปล่อยพลังธรรมชาติของตน" ... และกระตุ้นให้เราแสดงสมรรถภาพทาง "ความสุขและความรัก"[17]: 115  [...] สิ่งที่กล่าวได้ยิ่งกว่าแน่นอนก็คือความรู้และความสนใจเรื่องเซน สามารถมีอิทธิพลที่ไพบูลย์ต่อและช่วยอธิบายทฤษฎีและเทคนิคทางจิตวิเคราะห์ เซน แม้ว่าจะมีวิธีต่างจากจิตวิเคราะห์ สามารถช่วยทำอะไร ๆ ให้ชัดเจน เพิ่มความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของปัญญา และเพิ่มความเข้าใจว่าการเห็นเป็นอะไร ความคิดสร้างสรรค์เป็นอะไร การข้ามความมัวหมองทางใจและความคิดผิด ๆ ที่เป็นผลที่เลี่ยงไม่ได้จากประสบการณ์ที่มีการแยกกันระหว่างผู้รู้-สิ่งที่รู้[17]: 140 

เดวิด เบรเซียร์ แก้

เดวิด เบรเซียร์เป็นนักจิตบำบัดที่ผสมเทคนิคจิตบำบัดกับศาสนาพุทธ เบรเซียร์ได้ชี้ว่ามีคำแปลได้หลายอย่างสำหรับคำบาลีว่าอริยสัจ 4 ซึ่งทำให้เข้าใจสัจจะเหล่านั้นได้ในรูปแบบใหม่ ๆ คำแปลทั่วไปของคำว่า สมุทัย และนิโรธ ก็คือ "เหตุ" และ "ความดับ" เมื่อบวกกับคำแปลของคำว่าทุกข์ จึงเกิดคำอธิบายเหตุของความทุกข์ และความประทับใจว่าทุกข์สามารถกำจัดได้อย่างสิ้นเชิง เบรเซียร์ได้เสนอคำแปลใหม่[25] ซึ่งตีความอริยสัจ 4 อีกแบบหนึ่ง คือ

  1. ทุกข์ คือ ชีวิตไม่เพอร์เฟกต์ เหมือนกับล้อที่ประกอบเข้ากับเพลาไม่ดี
  2. สมุทัย คือ ตัณหาเกิดขึ้นพร้อมกับการประสบทุกข์ เป็นความกระหาย ความไม่พอใจกับสิ่งที่เป็น และความต้องการว่า ชีวิตควรจะต่างจากที่มันเป็น เราถูกขังอยู่ในตัณหาเมื่อไม่เห็นความจริงตามที่เป็น คือว่าไม่เพอร์เฝ็กต์ และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  3. นิโรธ คือ เราสามารถจำกัดตัณหา (ว่าน่าจะเป็นต่างจากที่เป็น) และรู้ความจริงดังที่เป็น ดังนั้น "ความทุกข์จากความไม่เพอร์เฝ็กต์" ก็จะเกิดอย่างจำกัด
  4. มรรค คือ การจำกัดความทุกข์ที่เป็นไปได้โดยดำเนินตามมรรคมีองค์แปด

ในการแปลเช่นนี้ สมุทัยหมายถึงว่า ความยากลำบากที่เป็นปกติของชีวิต (คือทุกข์) จะเกิดพร้อมกับตัณหาหรือความปรารถนา (คือสมุทัย) ว่า ชีวิตควรจะต่างไปจากนี้ นิโรธ หมายถึงการจำกัดตัณหาที่เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถที่จะหนีได้หรือหมดไปได้ แต่สามารถจำกัดได้ ซึ่งให้อิสรภาพแก่เรา[25]

มารก์ เอ็ปสไตน์ แก้

นักจิตบำบัด นพ. มาร์ก เอ็ปสไตน์ สัมพันธ์อริยสัจ 4 กับ "โรคหลงตัวเองหลัก" (primary narcissism) ดังที่อธิบายโดย นพ. โดนัลด์ วินนิค็อตต์ ในทฤษฎีตนจริงตนปลอม (True self and false self)[26][27] สัจจะแรกเน้นความหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตที่จะเกิดความลบหลู่ต่อความภาคภูมิใจแบบหลงตัวเอง สัจจะที่สองกล่าวถึงความกระหายดั้งเดิมที่ทำให้ความลบหลู่เป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ ส่วนสัจจะที่สามให้ความหวังของอิสรภาพโดยพัฒนาความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับตนที่สมจริง และสัจจะที่สี่บอกวิธีการทำให้สำเร็จเช่นนั้น[28][29]

การใช้ข้อปฏิบัติในศาสนาเพื่อการรักษา แก้

มากกว่าพันปีแล้ว ที่มีการใช้ข้อปฏิบัติทางพุทธศาสนาทั่วโลกเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักจิตวิทยาคลินิกชาวตะวันตก นักทฤษฎี และนักวิจัยได้รวมข้อปฏิบัติของพุทธในวิธีจิตบำบัดมากมายที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะแล้ว คือรวมการฝึกสติโดยตรงเป็นเทคนิคการรักษาทางจิต[30] และโดยอ้อม ๆ แล้ว จิตบำบัดที่อาศัยการเปลี่ยนความคิด (cognitive restructuring) มีหลักคล้ายกับการกำจัดความทุกข์ในศาสนาพุทธ

การฝึกสติ แก้

ดร. ฟรอมม์[31]: 49–52  แยกแยะวิธีการเจริญทักษะสองอย่างที่ใช้ในการบำบัด คือ

  1. Autosuggestion (การแนะนำตัวเองหรือสะกดจิตตัวเอง) เพื่อให้ผ่อนคลาย
  2. การเจริญกรรมฐานที่ "ให้เกิด อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ในระดับที่สูงขึ้น สั้น ๆ ก็คือ ช่วยให้มีชีวิตในระดับสูงขึ้น"

ดร. ฟรอมม์แสดงที่มาของเทคนิกหลังกว่ามาจากการฝึกสติในศาสนาพุทธ[j]

วิธีการรักษาที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ สองอย่างที่ใช้เทคนิคการเจริญสติของพุทธศาสนาก็คือ การลดความเครียดอาศัยสติ (Mindfulness-based Stress Reduction ตัวย่อ MBSR) ของ ศ.ดร.จอน คาแบต-ซินน์ และพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) ของ ศ.ดร.มาชา ไลน์แฮน การบำบัดเด่นอื่น ๆ ที่ใช้สติรวมทั้งการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (Acceptance and Commitment Therapy ตัวย่อ ACT) ของ ศ.ดร.สตีเวน ซี. เฮย์ส การฝึกการปรับตัว (Adaptation Practice) ของจิตแพทย์และคนพุทธเซน คือ นพ. คลิฟ เชอร์สล็อก และการบำบัดความคิดอาศัยสติ (Mindfulness-based Cognitive Therapy ตัวย่อ MBCT)[33]

 
นักวิจัยการรักษาพบว่า การฝึกสติของศาสนาพุทธช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และความผิดปกติทางบุคลิกภาพบางอย่าง

การลดความเครียดอาศัยสติ (MBSR) แก้

ดร. คาแบต-ซินน์ได้พัฒนาโปรแกรม MBSR ยาว 8 สัปดาห์โดยใช้ระยะเวลากว่า 10 ปี ในการรักษาคนไข้ 4,000 คนที่ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์[34]: 1  เขาได้เขียนกล่าวถึง MBSR ไว้ว่า

"งาน" นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกเป็นปกติอย่างมีวินัยในการสำนึกจากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง หรือที่เรียกว่า สติ เป็นการยอมรับทุก ๆ ขณะที่คุณรู้สึก ไม่ว่าจะดี ชั่ว หรือไม่น่ารัก นี้เป็นแก่นสารของการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยภัยพิบัติ[34]: 11 

ดร. คาแบต-ซินน์ผู้เคยปฏิบัติตามแนวพุทธเซนกล่าวไว้ว่า [k]

แม้ว่าในเวลานี้การฝึกสติโดยมากจะสอนและปฏิบัติในบริบทของศาสนาพุทธ แต่ว่า สาระของมันเป็นเรื่องสากล

มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าการเจริญสติเป็นคำสอนที่มาจากศาสนาพุทธ ที่ธุระหลักเป็นการเปลื้องความทุกข์และกำจัดความเข้าใจผิด[35]: 12–13 

ในด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์เพื่อรักษา มีข้อพิสูจน์แล้วว่า MBSR มีประโยชน์ต่อคนไข้โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล แต่ (จริง ๆ แล้ว) โปรแกรมมุ่งหมายช่วยทุกคนที่ประสบกับความเครียด/ความทุกข์ในระดับสำคัญ

หลักของโปรแกรมอยู่ที่การฝึกอบรมจิตตามแนวทางพุทธอย่างกวดขันโดยไม่รวมเอาศาสนาพุทธ (นี่เป็นสำนวนที่ผมชอบใช้) และโยคะ[36]

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (DBT) แก้

เมื่อกล่าวถึง DBT ผู้ปฏิบัติพุทธแบบเซน[l] ดร. ไลน์แฮน[37] กล่าวว่า

ดังที่ชื่อของมันแสดง ลักษณะสำคัญที่สุดของมันคือการเน้นเรื่อง "วิภาษวิธี" ซึ่งก็คือ การสมานฉันท์สิ่งตรงข้ามโดยเป็นการสังเคราะห์อย่างต่อเนื่อง... การเน้นเรื่องการยอมรับโดยเป็นตัวถ่วงดุลต่อความเปลี่ยนแปลง มาจากการรวมมุมมองโดยตรงจากข้อปฏิบัติของโลกตะวันออก (เซน) กับข้อปฏิบัติทางจิตวิทยาของโลกตะวันตก

และได้กล่าวคล้าย ๆ กันอีกว่า[38]: 63 

ทักษะเกี่ยวกับสติเป็นเรื่องหลักของ DBT เป็นทักษะที่สอนเป็นอย่างแรกและทบทวน ... ทุก ๆ อาทิตย์ ... ทักษะเป็นการปฏิบัติอบรมจิตในรูปแบบของจิตวิทยาและพฤติกรรมนิยมที่มาจากการฝึกจิตวิญญาณของโลกตะวันออก ซึ่งดิฉันได้รับมาจากการปฏิบัติของเซนมากที่สุด

งานศึกษาทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุม ได้แสดงประสิทธิผลของ DBT ต่อคนไข้ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) [m]

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) แก้

ส่วนการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) ไม่ได้มาจากศาสนาพุทธโดยตรง แต่แนวคิตต่าง ๆ บ่อยครั้งจะขนานกับของศาสนาพุทธและความเชื่อทางรหัสยลัทธิอื่น ๆ[41][42] ผู้ริเริ่ม ACT ได้กำหนดนิยามไว้ว่า เป็นวิธีที่ "ใช้กระบวนการยอมรับ กระบวนการทางสติ กระบวนการตกลงใจที่จะทำ และกระบวนการเริ่มพฤติกรรม ที่ช่วยปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ได้"[43]

สติใน ACT หมายถึงการรวมด้านต่าง ๆ 4 ด้านของแบบจำลองการปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ ACT ประยุกต์ใช้ คือ

  1. การยอมรับ คือ การเปิดใจต่อและการรับมือกับประสบการณ์ปัจจุบัน
  2. การปลดภัยจากความคิด คือ การใส่ใจกระบวนการความคิดตามที่เป็นไป แทนที่จะปฏิสัมพันธ์อย่างอัตโนมัติกับเหตุการณ์ตามความคาดหมาย การตัดสินดีชั่ว และการตีความ
  3. อยู่กับปัจจุบัน คือ การใส่ใจในโลกภายในภายนอกอย่างยืดหยุ่นได้ ลื่นไหลได้ และอย่างสมัครใจ
  4. ความรู้สึกที่เหนือตน หรือ ตนโดยเป็นบริบท (self as context) คือเป็นความรู้สึกทางจิตวิญญาณที่เชื่อมต่อกันที่รักษาความสำนึกเกี่ยวกับ "ตัวเอง/ที่นี่/เดี๋ยวนี้" และการเชื่อมต่อกับ "คนอื่น/ที่โน่น/ตอนนั้น"[43]

ด้านต่าง ๆ ของสติใน ACT เหล่านี้ อ้างว่ามาจาก Relational Frame Theory (ตัวย่อ RFT) ซึ่งเป็นโปรแกรมงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาและการรู้คิดที่เป็นฐานของ ACT ยกตัวอย่างเช่น ตนโดยเป็นบริบท (self as context) มาจากความสัมพันธ์แบบชี้เฉพาะของคำ (deictic verbal relation) เช่น ฉัน/คุณ ที่นี่/ที่โน่น ซึ่งงานวิจัย RFT แสดงว่าช่วยสร้างทักษะการเปลี่ยนมุมมองและการเชื่อมต่อกับบุคคลอื่น[44][45]

หนังสือแบบช่วยตัวเองเกี่ยวกับ ACT (เช่น[46]) และวิธีการแบบ ACT อื่นที่ทดสอบแล้ว จะสอนการฝึกการพินิจพิจารณา แต่ถ้าใช้นิยามนี้ของคำว่าสติ ทักษะการปลดภัยจากความคิด เช่นการกล่าวคำซ้ำ ๆ (คือ จากความคิดที่มีปัญหา ให้กลั่นความมาให้เหลือคำเดียว แล้วกล่าวคำซ้ำ ๆ ให้ได้ยินเป็นเวลา 30 วินาที) ก็ยังมองว่าเป็นวิธีการทางสติด้วย

การฝึกการปรับตัว แก้

จิตแพทย์ชาวอังกฤษ นพ. คลิฟ เชอร์สล็อก ที่ฝึกการปฏิบัติแบบเซนจากสำนักรินไซ ได้พัฒนาการฝึกการปรับตัว (Adaptation Practice ตัวย่อ Ap) ในปี 2520 มีฐานจากข้อปฏิบัติและการอบรมจิตแบบเซนที่ฝึกสติ/ความสำนึกอย่างลึกซึ้งในชีวิตประจำวัน มีการใช้การฝึกการปรับตัวเพื่อบรรเทาความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเครียด และปัญหาทางอารมณ์อย่างอื่นในระยะยาว

การเปลี่ยนความคิด แก้

ศ. ดร. แอลเบิรต์ เอลลิส ผู้เรียกได้ว่าเป็น "คุณปู่ของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT)" ได้เขียนไว้ว่า

หลักการหลายอย่างที่รวมอยู่ในทฤษฎีของ Rational emotive behavior therapy (ตัวย่อ REBT) ไม่ใช่เรื่องใหม่ บางอย่างจริง ๆ ดั้งเดิมมาจากหลายพันปีก่อน โดยเฉพาะจากนักปรัชญาลัทธิสโตอิกชาวกรีกและโรมัน เช่น Epictetus และมาร์กุส เอาเรลิอุส และจากนักคิดลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา (ดู Suzuki 1956[47],

Watts 1959[48])[49][n]

ตัวอย่างหนึ่งก็คือ พุทธศาสนากำหนดว่าความโกรธและพยาบาทเป็นเครื่องขวางกั้นการพัฒนาทางจิต (ดู นิวรณ์ สังโยชน์ และกิเลส) วิธีแก้ความโกรธที่สามัญก็คือการพินิจพิเคราะห์อย่างต่อเนื่องโดยเป็นความคิดที่ประกอบด้วยความเมตตา นี่คล้ายกับการใช้เทคนิค CBT ที่เรียกว่า การฝึกอารมณ์ (emotional training) ซึ่ง ดร.เอลลิส[51]: 86–87  ได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ให้คิดถึงประสบการณ์ที่มีความสุขอย่างยิ่งกับบุคคลที่คุณตอนนี้กำลังรู้สึกโกรธ เมื่อคุณได้จินตนาการถึงประสบการณ์ความสุขเช่นนี้ และได้ความรู้สึกที่ดีกว่าปกติ ที่รู้สึกอบอุ่น เกี่ยวกับบุคคลนั้นโดยเป็นผลของการระลึกถึงความจำ ให้ทำอย่างนี้ต่อไป ให้ระลึกถึงประสบการณ์แห่งความสุขและความรู้สึกดี ๆ และพยายามทำความรู้สึกเหล่านี้ให้เหนือกว่าความรู้สึกเป็นศัตรู

[o]

จิตวิทยาและความเชื่อจิตวิญญาณยอดนิยม (โลกตะวันตก) แก้

บุคคลหลักที่ทำให้นิยม แก้

ในปี 2504 นักปรัชญาและศาสตราจารย์ แอลัน วัตส์ ได้เขียนไว้ว่า

ถ้าเราพินิจพิจารณาอย่างละเอียดถึงการใช้ชีวิตแบบพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า ลัทธิเวทานตะ และโยคะ เราจะไม่พบทั้งปรัชญาหรือศาสนาดังที่เข้าใจในโลกตะวันตก เราจะพบอะไรเกือบเหมือนกับวิธีการจิตบำบัด ความคล้ายคลึงหลักระหว่างวิถีชีวิตโลกตะวันออกเช่นนี้กับจิตบำบัดโลกตะวันตก ก็คือ จุดมุ่งหมายของทั้งสองก็เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิต เปลี่ยนแปลงความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตของเราเอง และความสัมพันธ์ของเรากับสังคมมนุษย์และโลกธรรมชาติ นักจิตบำบัดส่วนมากให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนจิตใจของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท แต่ว่าการฝึกฝนของพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า เป็นการเปลี่ยนจิตใจของบุคคลปกติที่ปรับตัวเข้าสังคมได้[52]: 3–4 

ตั้งแต่สังเกตการณ์และการใคร่ครวญเช่นนี้ของ ดร. วัตส์ ก็ได้มีคนช่วยสร้างความนิยมเพื่อรวมการอบรมจิตทางพุทธศาสนาเข้ากับจิตวิทยารวมทั้ง Jack Kornfield (1993)[53], Joseph Goldstein, ดร. Tara Brach, ศ. นพ. มาร์ก เอ็ปสไตน์ (1995)[54] และพระภิกษุชาวเวียดนามทิก เญิ้ต หั่ญ (1998)[55]

คำเตือนเกี่ยวกับพุทธศาสนาแบบโรแมนติก แก้

จิตวิทยาแบบโรแมนติก
/มนุษยนิยม
พุทธศาสนาต้น ๆ
ปัญหาทางจิต ตนที่ถูกแบ่ง การยึดมั่นถือมั่น
เป้าสูงสุด ความรู้สึกเป็นหนึ่ง การแทงตลอด
พระนิพพาน
การแก้ปัญหา การรวมตัวอย่างต่อเนื่อง พระนิพพาน

พระภิกษุสายป่าไทยชาวอเมริกัน อ. ฐานิสฺสโร (Geoffrey DeGraff)[56] กำหนดความคล้ายคลึงกันอย่างกว้าง ๆ ระหว่าง "จิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยม" กับศาสนาพุทธยุคต้น ๆ ว่าเป็นความเชื่อในการกระทำ/การแทรกแซงของมนุษย์ (เทียบกับของพระเจ้า) โดยวิธีที่อาศัยประสบการณ์ ปฏิบัติได้ และช่วยรักษาบำบัดได้ ท่านแสดงรากฐานของอุดมคติทางจิตวิญญาณของชาวตะวันตกปัจจุบันไปยังนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยโรแมนติกอิมมานูเอล คานต์ ต่อจากนั้นนักจิตวิทยาและนักปรัชญาชาวอเมริกัน นพ. วิลเลียม เจมส์ จิตแพทย์คาร์ล ยุง แล้วตามด้วยนักจิตวิทยามนุษยนิยม ศ. ดร. อับราฮัม มาสโลว์

ท่านยืนยันว่า มีความต่างหลัก ๆ ระหว่างจิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยมกับพุทธศาสนา ซึ่งสรุปความอยู่ในตาราง และชี้อ้อม ๆ ผู้ที่ยัดเยียดเป้าหมายของจิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยมในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็น "คนโรแมนติกพุทธ" (จินตนิยมพุทธ) มีนักเขียนเสนอแนวคิดพุทธปัจจุบันที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน[57]

โดยเข้าใจถึงปัญหาความเหินห่างทางสังคมในชีวิตปัจจุบัน อ. ฐานิสฺสโรเขียนว่า

เมื่อจินตนิยมพุทธพูดถึงปัญหาเหล่านั้น นั่นก็จะเปิดประตูประเด็นต่าง ๆ ทางธรรมะที่สามารถช่วยคนให้ได้การปลอบประโลมใจที่กำลังแสวงหา และการทำเยี่ยงนั้นเป็นการเพิ่มพูนผลงานที่ทำโดยจิตบำบัด [...] แต่ว่า จินตนิยมพุทธก็ยังเป็นการปิดประตูประเด็นต่าง ๆ ทางธรรมะที่ค้านความหวังของบุคคลผู้ปรารถนาความสุขสุดยอดแบบอาศัยการเชื่อมต่อกัน (interconnectedness) (เพราะว่า) ธรรมะแบบดั้งเดิมเรียกร้องให้มีเนกขัมมะและจาคะ โดยตั้งอยู่ในความจริงว่า อะไรที่เชื่อมต่อกันย่อมไม่เที่ยง และความสุขอะไร ๆ ที่อิงความไม่เที่ยงนี้เป็นการเชื้อเชิญหาความทุกข์ ความสุขที่แท้จริงจะต้องยิ่งไปกว่าการพึ่งพาอาศัยกันและกันและความเชื่อมต่อกัน คือต้องก้าวไปถึงสิ่งที่ไม่มีปัจจัย (พระนิพพาน) [...] (และ) ประตูทางจินตนิยมพุทธก็จะปิดเรื่องที่เป็นรากฐานธรรมะที่ออกแบบเพื่อแก้ความทุกข์ระดับต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่แม้บุคคลจะได้เชี่ยวชาญการได้ความเป็นเอกภาพแล้ว"[56]

การศึกษาและงานวิจัย แก้

นักวิจัยที่สนใจศึกษาส่วนที่เชื่อมต่อกันระหว่างศาสนาพุทธและจิตวิทยาในทวีปอเมริกาเหนือจำต้องปรับตนให้เข้ากับโปรแกรมการศึกษาเกี่ยวกับโลกตะวันออกและกับจิตวิทยา หรือว่าต้องศึกษาเอาเอง โปรแกรมการศึกษาอุทิศให้กับทั้งพุทธศาสนาและจิตวิทยาในทวีปอเมริกาเหนือในสถาบันที่ได้รับการรับรองมีน้อยมาก แต่ว่า มหาวิทยาลัยโทรอนโตมีวิชารอง (อีกไม่นานจะเป็นวิชาหลัก) ที่เรียกว่า "พุทธศาสนากับสุขภาพจิต (Buddhism and Mental Health)"[58]

สำหรับการฝึกทางคลินิก มีโปรแกรมระดับปริญญาโท[59] ที่เรียกว่า Contemplative Psychotherapy (จิตบำบัดแบบพิจารณา) ที่มหาวิทยาลัยนาโรปาในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโดที่ได้การรับรอง เป็นหลักสูตรลูกผสมระหว่างจิตวิทยาพุทธกับวิธีการทางจิตบำบัดของชาวตะวันตก โดยจัดให้มีค้อร์สปฏิบัติแบบรวมหลายครั้ง และให้มีการปฏิบัติอบรมจิตอย่างต่อเนื่อง เป็นโปรแกรมที่ตั้งขึ้นในปี 2521 และออกเบบเพื่อเตรียมตัวสอบรับใบอนุญาตเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพ[60]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. ศาสนาพุทธเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า (ประมาณ 563-483 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตามมุมมองของชาวตะวันตก) ส่วนการตั้งสาขาจิตวิทยาที่มองตนเอง โดยเป็นการประเมินกิจกรรมทางใจและพฤติกรรมของมนุษย์โดยใช้หลักฐาน มักจะเริ่มกำหนดโดยงานของ Wilhelm Wundt (16 สิงหาคม 2375 - 31 สิงหาคม 2463)
  2. แนวคิดว่า จิตเป็นลำดับสภาวะ เหมือนกับช่องฟิล์ม แม้ว่าจะไม่ขัดกับแนวคิดของจิตในคัมภีร์นิกายต่าง ๆ (แต่) เป็นเรื่องที่พบได้อย่างชัดแจ้งในคัมภีร์บาลีอภิธรรม[2]: 29 
  3. ศ. แดเนียล โกลแมนผู้กำลังสอนจิตวิทยาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเวลานั้น ได้บันทึกไว้ว่า "ไอเดียว่า ศาสนาพุทธจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาเป็นเรื่องเหลวไหลชัด ๆ สำหรับพวกเราโดยมากในสาขาในเวลานั้น แต่ทัศนคติเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนซื่อ ๆ ของพวกเราไม่ได้เกี่ยวอะไรกับศาสนาพุทธ มันเป็นข่าวเลยว่า ศาสนาพุทธ ที่คล้ายกับวัฒนธรรมประเพณีทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่มากมายของโลก มีทฤษฎีเกี่ยวกับจิตและการทำงานของมัน"[6]: 72 
  4. มหาวิทยาลัยนาโรปาได้เป็นที่ประชุมและสถาบันฝึกสอนสำหรับบุคคลต่าง ๆ ที่ได้ช่วยทำให้จิตวิทยาที่ใช้สาระจากศาสนาพุทธและคำสอนแนวพุทธที่เข้าใจเรื่องจิตวิทยาดี เป็นที่นิยมมากที่สุด บุคคลเช่น Jack Kornfield และ Joseph Goldstein
  5. หนังสือที่บันทึกการประชุมเหล่านี้รวมทั้ง Begley (2007), Davidson & Harrington (2002)[9], Goleman (1997)[10], Goleman (2004)[11], Harrington & Zajonc (2006)[12], Hayward & Varela (2001)[13], Houshmand et al. (1999)[14], Varela (1997)[15], และ Zajonc & Houshmand (2004)[16]
  6. ทั้ง Fromm (1960)[17] และ Ellis (1962)[21] อ้างว่างานนีมีอิทธิพล
  7. โดยเฉพาะก็คือ หมอยุงอ้างคำกล่าวว่า "เซนไม่ใช่ทั้งจิตวิทยาหรือปรัชญา"[20]: 11  แต่ก็ยังกล่าวว่า

    ขบวนการอย่างเดียวภายในวัฒนธรรมของเราซึ่งเข้าใจหรือควรจะเข้าใจเป็นบางส่วนในเรื่องแรงบันดาลใจเยี่ยงนี้ (คือ เพื่อการรู้แจ้ง) ก็คือ จิตบำบัด ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าคำนำนี้เขียนโดยนักจิตบำบัดคนหนึ่ง ... (เพราะ) โดยพื้นฐานแล้ว จิตบำบัดเป็นความสัมพันธ์แบบโต้แย้งด้วยเหตุผลระหว่างแพทย์กับคนไข้ ... โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเปลี่ยนแปลง[20]: 25 

  8. เพื่อที่จะสนับสนุนข้อความนี้ ดร. ฟรอมม์อ้างอิงคำนำของ นพ. ยุงในงานของซูซูกิ, Benoit (1955)[22], และ Sato (1958)[23] นอกจากนั้น ดร. ฟรอมม์ยังอ้างถึงนักจิตวิเคราะห์แคเร็น ฮอร์ไนผู้ "สนใจอย่างยิ่งยวดในศาสนาพุทธช่วงท้ายชีวิตของเธอ"
  9. งานที่เสนอบางงานอยู่ใน Fromm et al. (1960)[17]: vii  ความสนใจในพุทธศาสนาของ ดร.ฟรอมม์รวมพุทธหลายนิกาย ดังที่ปรากฏในคำนำของเขาในหนังสือปี 1986[24]
  10. เพื่ออ้างแหล่งที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการฝึกสติในศาสนาพุทธ ดร. ฟรอมม์ (2002) อ้างหนังสือของพระภิกษุญาณโปณิก (1996)[32] แล้วเขียนในหน้า 52-53 ไว้ว่า

    มีหลักคำสอน 2 อย่างที่ยอมรับได้สำหรับคนที่แม้ไม่ใช่คนพุทธเช่นตัวผมเอง แต่ก็ยังทำให้รู้สึกประทับใจอย่างลึกซึ้งในหลักคำสอน หลักแรกสุดที่ผมหมายถึงก็คือหลักว่า เป้าหมายในชีวิตก็เพื่อเอาชนะความโลภ ความโกรธ และความหลง ในด้านนี้ ศาสนาพุทธไม่ได้ต่างจากหลักมาตรฐานทางจริยธรรมของคนยิวและคนคริสต์ (แต่) แนวคิดศาสนาพุทธอีกอย่างที่สำคัญกว่าและต่างจากจารีตของคนยิวและคนคริสต์ ก็คือ การเรียกร้องให้มีความสำนึกอย่างเหมาะสมที่สุดต่อกระบวนการต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอกตนเอง

  11. ในหนังสือปี 2005[35] ดร. คาแบต-ซินน์ได้เขียนไว้ว่า

    เพราะว่าผมปฏิบัติและสอนการฝึกสติ ผมมีประสบการณ์ซ้ำ ๆ ว่า คนบ่อยครั้งคาดคะเนว่าผมนับถือศาสนาพุทธ และเมื่อถาม ผมปกติจะตอบว่า ผมไม่ได้นับถือ (แม้ว่าจะมีช่วงหนึ่งในชีวิตที่ผมคิดว่าเป็นคนพุทธ ได้ฝึกและยังฝึกสติ และเคารพรักอย่างยิ่งในทั้งพุทธสายต่าง ๆ และข้อปฏิบัติพุทธ) แต่ผมเป็นนักศึกษาการฝึกอบรมจิตแบบพุทธ และเป็นคนที่เอาใจใส่ ไม่ใช่เป็นเพราะว่าผมเป็นคนพุทธ แต่เพราะว่าผมพบว่าทั้งคำสอนและข้อปฏิบัติเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งอย่างยิ่งและประยุกต์ใช้ได้กับทุกคนทุกสถานการณ์ ทั้งเพื่อแสดงความจริงและเพื่อการรักษา

  12. ตาม ดร. คาแบต-ซินน์ (2005)[35]: 431  "มาร์ชา ไลน์แฮนเองเป็นนักปฏิบัติแบบเซนมายาวนาน และ DBT ก็รวมทั้งเจตนาและหลักเกี่ยวกับสติ และข้อปฏิบัติตามคำสอนอื่น ๆ เท่าที่จะเป็นไปได้"
  13. เกี่ยวกับประสิทธิผลที่มีหลักฐานเชิงประสบการณ์ของ DBT หนังสือของ ดร. ไลน์แฮนปี 1993b[38]: 1  อ้างอิง Linehan et al.. (1991)[39] และ Linehan & Heard (1993)[40] ประสบการณ์ทางคลินิกแสดงว่า DBT มีประสิทธิผลต่อคนไข้ BPD และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ Axis II ในกลุ่ม B
  14. ในหนังสือปี 1991[49]: 336–37  เมื่อตอบปัญหาที่ยกโดย ดร. วัตส์ (1960)[50] เกี่ยวกับวิธีการทางจิตบำบัดที่ออกเชิงเหตุผลนิยมมากเกินไป ดร. เอลลิสได้เตือนให้พิจารณาการปฏิบัติเพื่อความเจริญทางจิตวิญญาณแบบคล้ายเซนโดยเฉพาะ เขาได้ให้ข้อสังเกตว่า "บางทีจุดหมายหลัก" ของคนไข้ใน REBT "ก็คือการตกลงใจ/การสมาทาน การเสี่ยงทำ ความสุขในการมีชีวิต และประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ตราบเท่าที่มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความสุขชั่วคราวที่ทำลายตัวเองเหมือนแบบเด็ก ๆ...." และกล่าวเพิ่มว่า

    แม้แต่ความพยายามของพุทธศาสนิกชนชาวเซนเพื่อให้ได้ความรู้สึกแบบอุกฤษฏ์ หรือที่เรียกว่า ซาโตริ ก็ยังเข้ากับจุดหมายบางอย่างที่ผู้อุทิศทำตามการใช้ชีวิตแบบ rational-emotive อาจจะสืบหา ตราบเท่าที่ไม่ได้ใช้การรู้สึกเช่นนี้หนีจากการเผชิญหน้ากับความวิตกกังวลหรือความมุ่งร้ายขั้นมูลฐานของเขา

  15. ในตัวอย่างที่อ้างอิงจาก Ellis (1997) บุคคลพยายามเปลี่ยนความรู้สึกเป็นศัตรูด้วยความรู้สึกเป็นสุขที่มีกับบุคคลเดียวกัน (แต่ว่า) โดยทั่วไป ตามการเจริญเมตตาของชาวพุทธ บุคคลจะน้อมให้เกิดความรู้สึกเมตตาโดยคิดถึงบุคคลที่มีคุณ แล้วจึงใช้ความรู้สึกอบอุ่นที่ตัวเองน้อมให้เกิดขึ้นแผ่ซึมซาบเข้าไปแทนที่ประสบการณ์ความรู้สึกว่าเป็นศัตรู นอกจากนั้นแล้ว การเจริญเมตตาของชาวพุทธเป็นการแผ่ความรู้สึกไปยังสัตว์ทั้งปวง ไกลหรือใกล้ ดีหรือชั่ว เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์

อ้างอิง แก้

  1. Kress, Oliver (1993). "A new approach to cognitive development: ontogenesis and the process of initiation". Evolution and Cognition. 2 (4): 319–332.
  2. 2.0 2.1 Bhikkhu Bodhi (2000). A Comprehensive Manual of Abhidhamma: The Abhidhammattha Sangaha of Ācariya Anuruddha. Seattle, WA: BPS Pariyatti Editions. ISBN 1-928706-02-9.
  3. 3.0 3.1 Rhys Davids; Caroline A. F. (2003) [1900]. Manual of Psychological Ethics, of the Fourth Century B.C. Whitefish, MT: Kessinger Publishing. ISBN 0-7661-4702-9. Manual of Psychological Ethics, of the Fourth Century B.C. being a Translation, now made for the First Time, from the Original Pāli, of the First Book of the Abhidhamma-Piaka, entitled Dhamma-Sagai (Compendium of States or Phenomena)
  4. Rhys Davids; Caroline A. F. (1914). Buddhist Psychology: An Inquiry into the Analysis and Theory of Mind in Pali Literature. London: Bell and sons.
  5. Rhys Davids; Caroline A. F. (1936). Birth of Indian Psychology and its Development in Buddhism.
  6. 6.0 6.1 Goleman, Daniel (2004). Destructive Emotions: A Scientific Dialogue with the Dalai Lama. NY: Bantam Dell. ISBN 0-553-38105-9.
  7. Trungpa, Chogyam (2001) [1975]. Glimpses of Abhidharma: From a Seminar on Buddhist Psychology. Boston, MA: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-764-9.
  8. Schwartz, 1995, pp. 315-16).
  9. Davidson, Richard J; Harrington, Anne, บ.ก. (2002). Visions of Compassion: Western Scientists and Tibetan Buddhists Examine Human Nature. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-513043-X.
  10. Goleman, Daniel, บ.ก. (1997). Healing Emotions: Conversations With the Dalai Lama on Mindfulness, Emotions, and Health. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-212-4.
  11. Goleman, Daniel (2004). Destructive Emotions: A Scientific Dialogue with the Dalai Lama. NY: Bantam Dell. ISBN 0-553-38105-9.
  12. Harrington, Anne; Zajonc, Arthur (2006). The Dalai Lama at MIT. Harvard University Press. ISBN 0-674-02319-6.
  13. Hayward, Jeremy W; Varela, Francisco J, บ.ก. (2001) [1992]. Gentle Bridges: Conversations with the Dalai Lama on the Sciences of Mind. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-893-9.
  14. Houshmand, Zara; Livingston, Robert B; Wallace, B. Alan, บ.ก. (1999). Consciousness at the Crossroads: Conversations with the Dalai Lama on Brain Science and Buddhism. Ithica: Snow Lion Publications. ISBN 1-55939-127-8.
  15. Varela, Francisco J, บ.ก. (1997). Sleeping, Dreaming, and Dying: An Exploration of Consciousness with the Dalai Lama. Somerville, MA: Wisdom Publications. ISBN 0-86171-123-8.
  16. Zajonc, Arthur; Houshmand, Zara, บ.ก. (2004). The New Physics and Cosmology: Dialogues with the Dalai Lama. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-515994-2.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 17.7 Fromm, Erich; Suzuki, DT; De Martino, Richard (1960). Zen Buddhism and Psychoanalysis. NY: Harper & Row. ISBN 0-06-090175-6.
  18. "Is Western Psychology Redefining Buddhism?". Lion's Roar. 13 พฤษภาคม 2014.
  19. Jørn Borup. Buddhism in the West. Encyclopedia of Sciences and Religions. Springer Nature. pp. 290–297. doi:10.1007/978-1-4020-8265-8_157.
  20. 20.0 20.1 20.2 Suzuki, DT; Jung, Carl G (1991) [1948, 1964]. An Introduction to Zen Buddhism. NY: Grove Press. ISBN 0-8021-3055-0.
  21. Ellis, Albert (1991) [1962]. Reason and Emotion in Psychotherapy. NY: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0909-0.
  22. Benoit, Hubert (1995) [1955]. The Supreme Doctrine. Portland, OR: Sussex Academic Press. ISBN 1-898723-14-1.
  23. Sato, Koji (1958). "Psychotherapeutic Implications of Zen". Psychologia, An International Journal of Psychology in the Orient. I (4).
  24. Fromm, Erich (1986). Nyanaponika Thera, Bhikkhu Bodhi (บ.ก.). Visions of Dhamma: Buddhist Writings of Nyanaponika Thera. York Beach, ME: Weiser Books. Foreword. ISBN 0-87728-669-8.
  25. 25.0 25.1 Brazier 2001.
  26. Epstein 2004.
  27. Winnicott, Donald. "Ego distortions in terms of true and false self" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01.
  28. Epstein 2004, p. 42.
  29. Priddy, Janice. "Psychotherapy and Buddhism: An Unfolding Dialogue. The Four Noble Truths in Buddhism" (PDF).
  30. Adelman, K (2005-05-01). "What i've learned: Tara Brach". Washingtonian Magazine.
  31. Fromm, Erich (2002) [1989]. The Art of Being. NY: Continuum. ISBN 0-8264-0673-4.
  32. Nyanaponika Thera (1996) [1954]. The Heart of Buddhist Meditation: A Handbook of Mental Training based on the Buddha's Way of Mindfulness. York Beach, ME: Samuel Weiser. ISBN 0-87728-073-8.
  33. Segal, Zindel V; Williams, J Mark G; Teasdale, John D (2002). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression: A New Approach to Preventing Relapse. NY: Guilford Press. ISBN 1-57230-706-4.
  34. 34.0 34.1 Kabat-Zinn, Jon (1990). Full Catastrophe Living: Using the Wisdom of Your Body and Mind to Face Stress, Pain, and Illness. NY: Dell Publishing. ISBN 0-385-30312-2.
  35. 35.0 35.1 35.2 Kabat-Zinn, Jon (2005). Coming to Our Senses: Healing Ourselves and the World Through Mindfulness. Hyperion. p. 26. ISBN 0-7868-8654-4.
  36. Kabat-Zinn, Jon (พฤษภาคม 2011). "Some Reflections on the Origins of MBSR, Skillful Means, and the Trouble with Maps". Contemporary Buddhism. 12 (1): 294.
  37. Linehan, Marsha M (1993a). Cognitive-Behavioral Treatment of Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. p. 19. ISBN 0-89862-183-6.
  38. 38.0 38.1 Linehan, Marsha M (1993b). Skills Training Manual for Treating Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. ISBN 0-89862-034-1.
  39. Linehan MM, Armstrong HE, Suarez A, Allmon D, Heard HL (1991). "Cognitive-behavioral treatment of chronically parasuicidal borderline patients". Archives of General Psychiatry. 48: 100–1064.
  40. Linehan, MM; Heard, HL (1993). "Impact of treatment accessibility on clinical course of parasuicidal patients. In reply to R.E. Hoffman [Letter to the editor]". Archives of General Psychiatry. 50: 157–158.
  41. Shenk C, Masuda A, Bunting K, Hayes SC (2006). Nauriyal, DK (บ.ก.). The psychological processes underlying mindfulness: Exploring the link between Buddhism and modern contextual behavioral psychology. Buddhist thought and applied psychology: Transcending the boundaries. London: Routledge-Curzon. pp. 431–451.
  42. Hayes, SC (2002). "Buddhism and Acceptance and Commitment Therapy". Cognitive and Behavioral Practice. 9: 58–66.
  43. 43.0 43.1 Hayes SC, Strosahl K, Wilson KG (2011). Acceptance and Commitment Therapy: The process and practice of mindful change (2nd ed.). New York: Guilford Press.
  44. Vilardaga R, Estévez A, Levin ME, Hayes SC. "Deictic relational responding, empathy and experiential avoidance as predictors of social anhedonia: Further contributions from relational frame theory". The Psychological Record.
  45. Weil TM, Hayes SC, Capurro P (2011). "Establishing a deictic relational repertoire in young children". The Psychological Record. 61: 371–390.
  46. Hayes SC, Smith S. Get out of your mind and into your life: The new Acceptance and Commitment Therapy. Oakland, CA: New Harbinger.
  47. Suzuki, DT (1956) [1949]. Zen Buddhism. NY: Doubleday Anchor Books.
  48. Watts, Alan W (1959). The Way of Zen. NY: New American Library.
  49. 49.0 49.1 Ellis, Albert (1991) [1962]. Reason and Emotion in Psychotherapy. NY: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0909-0.
  50. Watts, Alan W (1960). Nature, Man and Sex. NY: New American Library.
  51. Ellis, Albert (1997) [1977]. Anger: How to Live with and without It. Secaucus, NJ: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0937-6.
  52. Watts, Alan W (1975) [1961]. Psychotherapy East and West. NY: Random House. ISBN 0-394-71610-8.
  53. Kornfield, Jack (1993). A Path with Heart: A Guide through the Perils and Promises of Spiritual Life. NY: Bantam Books. ISBN 0-553-37211-4.
  54. Epstein, Mark (1995). Thoughts without a Thinker: Psychotherapy from a Buddhist Perspective. NY: Basic Books. ISBN 0-465-08585-7.
  55. Nhat Hanh, Thich (1998). Mindfulness and Psychotherapy (audio ed.). Louisville, CO: Sounds True. ISBN 1-56455-632-8.
  56. 56.0 56.1 Thanissaro Bhikkhu (2012). "The Roots of Buddhist Romanticism".
  57. McMahan 2008.
  58. "Buddhism and Mental Health". มหาวิทยาลัยโทรอนโต. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
  59. "Contemplative Psychotherapy—Master of Arts". Naropa University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2012.
  60. "MA Contemplative Psychotherapy department site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-04.

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ แก้

  • American Psychiatric Association (1994). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-IV — 4th ed. Washington, DC: American Psychiatric Association. ISBN 0-89042-062-9.
  • Benoit, Hubert (1955, 1995). The Supreme Doctrine. Portland, OR: Sussex Academic Press. Cited in Fromm et al.. (1960). ISBN 1-898723-14-1.
  • Bodhi, Bhikkhu (ed.) (2000). A Comprehensive Manual of Abhidhamma: The Abhidhammattha Sangaha of Ācariya Anuruddha. Seattle, WA: BPS Pariyatti Editions. ISBN 1-928706-02-9. - also online: http://www.accesstoinsight.org/lib/authors/bodhi/abhiman.html
  • Brazier, David (2001), The Feeling Buddha, Robinson Publishing
  • Davidson, Richard J. & Anne Harrington (eds.) (2002). Visions of Compassion: Western Scientists and Tibetan Buddhists Examine Human Nature. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-513043-X.
  • Ellis, Albert (1962, 1991). Reason and Emotion in Psychotherapy. NY: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0909-0.
  • Ellis, Albert (1977, 1997). Anger: How to Live with and without It. Secaucus, NJ: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0937-6.
  • Epstein, Mark (2004), Thoughts Without A Thinker: Psychotherapy from a Buddhist Perspective, Basic Books, Kindle Edition
  • Epstein, Mark (1995). Thoughts without a Thinker: Psychotherapy from a Buddhist Perspective. NY: Basic Books. ISBN 0-465-08585-7.
  • Fromm, Erich; Suzuki, DT; De Martino, Richard (1960). Zen Buddhism and Psychoanalysis. NY: Harper & Row. ISBN 0-06-090175-6.
  • Fromm, Erich (1989, 2002). The Art of Being. NY: Continuum. ISBN 0-8264-0673-4.
  • Goleman, Daniel (ed.) (1997). Healing Emotions: Conversations With the Dalai Lama on Mindfulness, Emotions, and Health. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-212-4.
  • Goleman, Daniel (2004). Destructive Emotions: A Scientific Dialogue with the Dalai Lama. NY: Bantam Dell. ISBN 0-553-38105-9.
  • Gyatso, Geshe Kelsang (2nd. ed., 1997) Understanding the Mind: The Nature and Power of the Mind. Tharpa Publications. ISBN 978-0-948006-78-4
  • Harrington, Anne & Arthur Zajonc (2006). The Dalai Lama at MIT. Harvard University Press. ISBN 0-674-02319-6.
  • Hayward, Jeremy W; Varela, Francisco J (eds.) (1992, 2001). Gentle Bridges: Conversations with the Dalai Lama on the Sciences of Mind. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-893-9.
  • Houshmand, Zara; Livingston, Robert B; Wallace, B Alan (eds.) (1999). Consciousness at the Crossroads: Conversations with the Dalai Lama on Brain Science and Buddhism. Ithica: Snow Lion Publications. ISBN 1-55939-127-8.
  • Kabat-Zinn, Jon (1990). Full Catastrophe Living: Using the Wisdom of Your Body and Mind to Face Stress, Pain, and Illness. NY: Dell Publishing. ISBN 0-385-30312-2.
  • Kabat-Zinn, Jon (2005). Coming to Our Senses: Healing Ourselves and the World Through Mindfulness. Hyperion. ISBN 0-7868-8654-4.
  • Kalupahana, David J. (1992), The Principles of Buddhist Psychology, Delhi: Sri Satguru Publications.
  • Kornfield, Jack (1993). A Path with Heart: A Guide through the Perils and Promises of Spiritual Life. NY: Bantam Books. ISBN 0-553-37211-4.
  • Kress, Oliver (1993)."A new approach to cognitive development: ontogenesis and the process of initiation". Evolution and Cognition 2(4) : 319-332.
  • Linehan, Marsha M. (1993a). Cognitive-Behavioral Treatment of Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. ISBN 0-89862-183-6.
  • Linehan, Marsha M. (1993b). Skills Training Manual for Treating Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. ISBN 0-89862-034-1.
  • Linehan, M. M; Armstrong, HE; Suarez, A; Allmon, D; Heard, HL (1991). "Cognitive-behavioral treatment of chronically parasuicidal borderline patients." Archives of General Psychiatry, 48, 100-1064. Cited in Linehan (1993b).
  • Linehan, MM; Heard, HL (1993). "Impact of treatment accessibility on clinical course of parasuicidal patients." In reply to R.E. Hoffman [Letter to the editor]. Archives of General Psychiatry, 50, 157-158. Cited in Linehan (1993b).
  • Linehan, M. M; Heard, HL; Armstrong, HE (in press). "Naturalistic follow-up of a behavioral treatment for chronically suicidal borderline patients. Archives of General Psychiatry. Cited in Linehan (1993b).
  • McMahan, David L. (ตุลาคม 2008). The Making of Buddhist Modernism. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518327-6.
  • Ñanamoli Thera (trans.) (1993). Dhammacakkappavattana Sutta: Setting Rolling the Wheel of Truth (Samyutta Nikaya 56.11). Available on-line at http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn56/sn56.011.nymo.html.
  • Nhat Hanh, Thich (1998). Mindfulness and Psychotherapy (audio). Louisville, CO: Sounds True. ISBN 1-56455-632-8.
  • Nyanaponika Thera (1954, 1996). The Heart of Buddhist Meditation: A Handbook of Mental Training based on the Buddha's Way of Mindfulness. York Beach, ME: Samuel Weiser. ISBN 0-87728-073-8.
  • Nyanaponika Thera; Bhikkhu Bodhi (ed.), Fromm, Erich (fwd.) (1986). Visions of Dhamma: Buddhist Writings of Nyanaponika Thera. York Beach, ME: Weiser Books. ISBN 0-87728-669-8.
  • Rhys Davids, Caroline A. F. ([1900], 2003). Manual of Psychological Ethics, of the Fourth Century B.C., being a Translation, now made for the First Time, from the Original Pāli, of the First Book of the Abhidhamma-Piaka, entitled Dhamma-Sagai (Compendium of States or Phenomena). Whitefish, MT: Kessinger Publishing. ISBN 0-7661-4702-9.
  • Rhys Davids, Caroline A. F. (1914). Buddhist Psychology: An Inquiry into the Analysis and Theory of Mind in Pali Literature, London: Bell and sons.
  • Rhys Davids, Caroline A. F. (1936). Birth of Indian Psychology and its Development in Buddhism.
  • Sato, Koji (1958). "Psychotherapeutic Implications of Zen" in Psychologia, An International Journal of Psychology in the Orient. Vol. I, No. 4 (1958). Cited in Fromm et al.. (1960).
  • Schwartz, Tony (1996). What Really Matters: Searching for Wisdom in America. NY: Bantam Books. ISBN 0-553-37492-3.
  • Segal, Zindel V., J. Mark G. Williams, & John D. Teasdale (2002). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression: A New Approach to Preventing Relapse. NY: Guilford Press. ISBN 1-57230-706-4.
  • Suzuki, D.T. & Jung, Carl G (fwd.) (1948, 1964, 1991). An Introduction to Zen Buddhism. NY: Grove Press. ISBN 0-8021-3055-0.
  • Suzuki, D.T. (1949, 1956). Zen Buddhism. NY: Doubleday Anchor Books. Cited in Ellis (1991) and Fromm (1960).
  • Thanissaro Bhikkhu (2012). The Roots of Buddhist Romanticism.
  • Trungpa, Chogyam (1975, 2001). Glimpses of Abhidharma: From a Seminar on Buddhist Psychology. Boston, MA: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-764-9.
  • Varela, Francisco J. (ed.) (1997). Sleeping, Dreaming, and Dying: An Exploration of Consciousness with the Dalai Lama. Somerville, MA: Wisdom Publications. ISBN 0-86171-123-8.
  • Watts, Alan W. (1959). The Way of Zen. NY: New American Library. Cited in Ellis (1991).
  • Watts, Alan W. (1960). Nature, Man and Sex. NY: New American Library. Cited in Ellis (1991).
  • Watts, Alan W. (1961, 1975). Psychotherapy East and West. NY: Random House. ISBN 0-394-71610-8.
  • Zajonc, Arthur (ed.) with Zara Houshmand (2004). The New Physics and Cosmology: Dialogues with the Dalai Lama. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-515994-2.
  • Fryba, Mirko (1995). The Practice of Happiness: Exercises & Techniques for Developing Mindfulness, Wisdom, and Joy. Boston: Shambhala. ISBN 1-57062-123-3.
  • Segal, Zindel V; Williams, J Mark G; Teasdale, John D (2002). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression. NY: Guilford. ISBN 978-1-57230-706-3.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การศึกษาในยุคต้น ๆ แก้

ครูและผู้สร้างความนิยม แก้

คำเตือนและข้อคัดค้าน แก้

จิตบำบัดและศาสนาพุทธ แก้

Kohut

Winnicott

Bhante Kovida