ศาสนาพื้นบ้านพม่า

ศาสนาพื้นบ้านพม่า หมายถึงการเคารพบูชาเชิงศาสนาที่เป็นวิญญาณนิยม (Animism) และพหุเทวนิยม (Polytheism) ซึ่งบูชานะ (เทวดาที่มีรากฐานจากความเชื่อพื้นถิ่นและศาสนาฮินดู) และรวมถึงการบูชาบรรพบุรุษ ที่พบในประเทศพม่า ถึงแม้ว่าความเชื่อเกี่ยวกับ นะ จะมีต่างกันไปในภูมิภาคหรือแม้แต่ในระดับหมู่บ้านของพม่า แต่ก็มีความเชื่อหลายประการที่เป็นสากลในศาสนาพื้นบ้านพม่า

นะ มะฮากีริ

นะ เป็น “ghod” (วิญญาณหรือผีที่ได้รับการเคารพบูชาเป็นเทพเจ้า) ที่ปรากฏในรูปของมนุษย์ที่คอยปกปักดูแลสิ่งต่าง ๆ เมื่อบุคคลหนึ่งเสียชีวิตก็จะสามารถกลายเป็น นะ ได้ (คล้ายคลึงกับความเชื่อเรื่อง ผี ในศาสนาพื้นบ้านไทย-ลาว และ คามิ ในศาสนาชินโต)

ผู้ที่กลายเป็น นะ มักเสียชีวิตอย่างโหดร้ายน่ากลัว จึงทำให้พวกเขามีวิสัยความพยาบาท เชื่อกันว่า นะ สามารถควบคุมหรือเข้าสิงสัตว์ได้ เช่น เสือและจระเข้ วิญญาณเหล่านี้ยังสามารถพบในธรรมชาติ เช่นในหินหรือต้นไม้ โดยทั่วไป นะ ส่วนใหญ่ถูกมองว่าสามารถบันดาลปัญหาและฉุนเฉียวง่าย เพื่อให้ นะ สงบจึงมีการถวายอาหารและของเซ่นไหว้ต่าง ๆ

นะ รูปแบบเฉพาะหนึ่งเรียกว่า ouktazaung ที่มีหน้าที่ปกปักรักษาสมบัติ เป็นที่เล่าลือกันว่า ouktazaung จะล่อบุรุษไปหา คล้ายกับคติไซเรนในปกรณัมกรีก หากบุรุษใดโดน ouktazaung จับก็จะต้องอยู่เฝ้าสมบัตินั้นแทนและ ouktazaung ก็จะสามารถออกเร่ร่อนไปนอกบริเวณได้เป็นระยะเวลา 20 ปี ในแต่ละหมู่บ้านตามธรรมเนียมจะมี นะ ที่เป็นผู้ปกปักรักษาหมู่บ้าน เรียกว่า โบ้โบ้จี้[1]

อ้างอิง แก้

  1. Rodrigue, Yves (1992). Nat-Pwe: Burma's supernatural sub-culture. Gartmore: Kiscadale. pp. 8–9.