ศรีศักร วัลลิโภดม

ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม (เกิด 2 มิถุนายน พ.ศ. 2481)[1] เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาชาวไทย เจ้าของ"รางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกูโอกะ" ประจำปี พ.ศ. 2550 เป็นผู้ทำงานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยาไว้อย่างมากมาย และ เป็นบรรณาธิการ"นิตยสารเมืองโบราณ" เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานสนับสนุนการวิจัย เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นที่ปรึกษา"มูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์"


ศรีศักร วัลลิโภดม

ศรีศักรในการบรรยายที่แพร่งภูธรเมื่อ พ.ศ. 2553
ศรีศักรในการบรรยายที่แพร่งภูธรเมื่อ พ.ศ. 2553
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2481 (85 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
นามปากกาศรีศักร
อาชีพนักเขียน, นักวิชาการ, นักประวัติศาสตร์
สัญชาติไทย ไทย
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2514 - ปัจจุบัน

ศรีศักรสนใจศึกษาแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน สามารถเขียนบทความและบรรยายได้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชนในแอ่งอารยธรรมแห่งนี้ โดยใช้การแบ่งเขตตามสภาพภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางวัฒนธรรม และยังมีผลงานที่ได้รับการจัดพิมพ์อีกเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และมานุษยวิทยา[2]

ประวัติ แก้

ศรีศักรเกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เป็นบุตรชายของมานิต วัลลิโภดม อดีตหัวหน้ากองโบราณคดี กรมศิลปากร และรจนา วัลลิโภดม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ไปศึกษาต่อทางมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[3]

การทำงาน แก้

พ.ศ. 2514 สอนวิชามานุษยวิทยาที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเวลาสองปี แล้วจึงไปเป็นอาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

พ.ศ. 2523 ได้รับเชิญไปสอนวิชาโบราณคดีประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล

พ.ศ. 2529 ได้รับเชิญไปร่วมงานค้นคว้าเกี่ยวกับชุมชนโบราณในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น กับนักวิชาการญี่ปุ่นที่ Centre for Southeast Asian Studies ของมหาวิทยาลัยเกียวโต และได้รับเชิญให้ไปร่วมประชุมและเสนอผลงานในการประชุมระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ศรีลังกา ฯลฯ[4]

การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ แก้

ศรีศักรได้เป็นกรรมการปฏิรูปประเทศภายหลังการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ยุติลงในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยกรรมการ 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับสมัชชาปฏิรูปประเทศ[5]

ผลงานหนังสือ แก้

  • โบราณคดีไทยในทศวรรษที่ผ่านมา (2525)
  • กรุงศรีอยุธยาของเรา (2527)
  • รายงานวิจัย เมืองโบราณในอาณาจักสุโทัย (2532)
  • แอ่งอารยธรรมอีสาน:แฉหลักฐานโบราณคดีพลิกโฉมประวัติศาสตร์ไทย (2533)
  • สยามประเทศ: ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาราชอาณาจักรสยาม (2534)
  • จ้วง:พี่น้องเผ่าไทยเก่าแก่ที่สุด (2536)
  • เรือนไทย บ้านไทย (2537)
  • พระเครื่องในเมืองสยาม (2537)
  • สยามประเทศภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรสยาม (2539)
  • ความหมายของพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ (2539)
  • มองอนาคต: บทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, เอกวิทย์ ณ ถลาง (2538)
  • พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท (2538)
  • ทัศนะนอกรีต: สังคม-วัฒนธรรม ปัจจุบันผันแปร (2543)
  • กฎหมายตราสามดวงกับความเชื่อของไทย (2545)
  • สังคมสองฝั่งโขงกับอดีตทางวัฒนธรรมที่ต้องลำเลิก (2545)
  • อู่อารยยธรรมแหลมทอง คาบสมุทรไทย

(2546)

  • ความหมายพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ (2546)
  • ลุ่มนํ้าน่าน: ประวัติศาสตร์โบราณคดี ของ พิษณุโลก "เมืองอกแตก (2546)
  • รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่ว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์ (ประชุมงานค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการของ ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ) (2547)
  • ประวัติศาสตร์ โบราณคดี เมืองอู่ทอง (2548)
  • เหล็ก "โลหปฏิวัติ" เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว: ยุคเหล็กในประเทศไทย : พัฒนาการทางเทคโนโลยีและสังคม (2548)
  • การเมือง "อุบายมารยา" แบบ มาคิอาเวลลี (Macchiavelli) ของพระเจ้าปราสาททอง: พระราชกระทู้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และคำสนองพระราชกระทู้ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)

(2549)

  • ไฟใต้ฤๅจะดับ ? (2550)
  • เล่าขานตำนานใต้ (2550)
  • กับดักสัตว์ไทยประดิษฐ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน กับดักวิถี (2550)
  • เขาพระวิหาร:ระเบิดเวลาจากยุคอาณานิคม (2551)
  • นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน: ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (2551)
  • พิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (หนังสือชุดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น) (2551)
  • ความหมายของภูมิวัฒนธรรม: การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น (2551)
  • เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย (2552)
  • พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย (2552)
  • เพื่อแผ่นดินเกิด (2556)
  • ผู้นำทางวัฒนธรรม (2556)
  • คนไทยไม่มีใครทำร้ายก็ตายเอง (2556)
  • ผู้มีบารมีผู้แพ้บารมี (2556)
  • ความล้มเหลวในการศึกษาของชาติ (2556)
  • เมืองหนองหารหลวง และภูพานมหาวนาสี (2556)
  • เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น (2557)
  • ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (2557)
  • ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักถิ่น (2557)
  • สร้างบ้านแปงเมือง (2560)
  • ลุ่มน้ำเจ้าพระยา:รากเหง้าแห่งสยามประเทศ (2560)
  • พุทธศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย (2560)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ชีวประวัติ ศรีศักร วัลลิโภดม[ลิงก์เสีย]
  2. "ฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย". db.sac.or.th.
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 (ตอนพิเศษ 102 ง): หน้า 7. 18 มิถุนายน 2551. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย". db.sac.or.th.
  5. "เปิดรายชื่อกรรมการปฏิรูป และ สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-25.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๘, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓