วุฒิสภาออสเตรเลีย

วุฒิสภาแห่งออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australian Senate) เป็นสภาสูงในรัฐสภาออสเตรเลีย อีกสภาหนึ่งคือสภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎร องค์ประกอบและอำนาจของวุฒิสภาถูกบัญญัติไว้ในหมวดที่ 1 แห่งรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 76 คน โดยมีที่มาจากรัฐทั้งหกรัฐรัฐละ 12 คน เท่า ๆ กันโดยไม่คำนึงถึงจำนวนประชากร และจากดินแดนทั้งสองดินแดนละ 2 คน ได้แก่นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี สมาชิกวุฒิสภามีที่มาโดยการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้

วุฒิสภาแห่งออสเตรเลีย

Senate of Australia
สมัยที่ 46
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาออสเตรเลีย
ผู้บริหาร
สกอตต์ ไรอัน, เสรีนิยม
ตั้งแต่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
ไซมอน เบอร์มิงแฮม, เสรีนิยม
ตั้งแต่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2020
แอนน์ รัสตัน, เสรีนิยม
ตั้งแต่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
เพนนี วอง, แรงงาน
ตั้งแต่ 18 กันยายน ค.ศ. 2013
Katy Gallagher, แรงงาน
ตั้งแต่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2019
โครงสร้าง
สมาชิก76 คน
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
ฝ่ายรัฐบาล (36)

พรรคร่วมรัฐบาล
  เสรีนิยม (31)[a]
  ชาติ (5)[b]

ฝ่ายค้าน (26)
  แรงงาน (26)

ครอสเบนช์ (14)
  Greens (9)
  One Nation (2)
  Centre Alliance (1)
  Lambie Network (1)
  Patrick Team (1)


การเลือกตั้ง
ระบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งล่าสุด
18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
(เพียงครึ่งสภา)
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหน้า
ก่อน 21 พฤษภาคม 2022
ที่ประชุม
ห้องประชุมวุฒิสภา
ที่ทำการรัฐสภา
ออสเตรเลีย แคนเบอร์รา, ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
เว็บไซต์
Senate

วุฒิสภาออสเตรเลียนั้นมีบทบาทแตกต่างไปจากสภาสูงอื่น ๆ ในระบบเวสต์มินสเตอร์ โดยมีอำนาจมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงอำนาจในการตีตกร่างกฎหมายได้ทั้งหมด รวมถึงร่างกฎหมายงบประมาณแผ่นดินซึ่งเสนอโดยรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้มีสถานะเป็นลูกผสมระหว่างสภาสูงระบบเวสต์มินสเตอร์และระบบคองเกรสสหรัฐ โดยเนื่องจากผลของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนทำให้วุฒิสภานั้นประกอบด้วยพรรคและกลุ่มการเมืองจำนวนมากแย่งกันมีอำนาจในสภา พรรครัฐบาลหรือกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่เคยได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดในวุฒิสภาเลยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005-2007 (และก่อนหน้านั้นตั้งแต่ ค.ศ. 1981) และจึงจำเป็นจะต้องมีการเจรจาต่อรองกับพรรคหรือกลุ่มการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งวุฒิสมาชิกอิสระเพื่อร่วมมือกันผ่านร่างกฎหมายต่าง ๆ ได้[1]

ต้นกำเนิดและบทบาท แก้

 
วุฒิสภาออสเตรเลียในปีค.ศ. 1923

รัฐธรรมนูญแห่งเครือจักรภพแห่งออสเตรเลีย ค.ศ. 1900 ได้จัดตั้งกลไกของวุฒิสภาเพื่อเป็นส่วนประกอบหนึ่งของรัฐบาลของประเทศในเครือจักรภพเพื่อนำมาใช้ในสหพันธ์ออสเตรเลียซึ่งเพิ่งถือกำเนิดขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับวุฒิสภาในประเทศอื่นแล้ววุฒิสภาออสเตรเลียมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่เหมือนกับสภาสูงส่วนใหญ่ในรัฐบาลระบบเวสต์มินสเตอร์ วุฒิสภาออสเตรเลียนั้นไม่ได้เป็นสภาที่บทบาทรองและมีอำนาจจำกัดในด้านนิติบัญญัติ แต่มีความตั้งใจให้มีบาทบาทสำคัญในกระบวนการนิติบัญญัติของออสเตรเลีย โดยไม่ได้ถอดแบบมาจากสภาขุนนางหรือวุฒิสภาแคนาดาแต่วุฒิสภาออสเตรเลียนั้นนำแบบแผนมาจากวุฒิสภาสหรัฐซึ่งให้สัดส่วนผู้แทนจำนวนเท่านั้นในทุกรัฐและมีอำนาจเท่าเทียมกับสภาล่าง[2] รัฐธรรมนูญออสเตรเลียนั้นมุ่งเน้นให้รัฐที่มีประชากรน้อยกว่ามีเสียงในสภานิติบัญญัติของรัฐสภากลางในขณะที่ยังสามารถมีบทบาทเหมือนสภาสูงในระบบเวสต์มินสเตอร์ด้วย

ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลัง ตามบทกำหนดในรัฐธรรมนูญแล้วจะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ภายหลังจากจอห์น กอร์ดอนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1968 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกวุฒิสภาและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร) สมาชิกรายอื่น ๆ ในคณะรัฐมนตรีอาจจะต้องเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง[3] และทั้งสองสภานั้นมีอำนาจนิติบัญญัติที่เกือบจะเท่ากัน[2] โดยเหมือนกับสภาสูงในรัฐสภาระบบสองสภา วุฒิสภาไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายหรือแก้ไขร่างกฎหมายงบประมาณได้ (ร่างงบประมาณที่อนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่มาจากภาษีอากร) หรือร่างกฎหมายภาษีอากร ซึ่งบทบาทเหล่านี้ถูกสงวนสิทธิไว้ให้กับสภาล่างเท่านั้น โดยวุฒิสภาสามารถลงมติรับรอง ตีตกหรือแม้แต่เลื่อนออกไปได้ ประเด็นด้านความเท่าเทียมกันระหว่างวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นผลสะท้อนมาจากความตั้งใจของผู้เขียนรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อรัฐที่มีขนาดเล็กกว่าที่จะมีอำนาจมากได้ในวุฒิสภาอันจะเป็นวิธีทำให้มั่นใจได้ว่าอำนาจนิติบัญญัติที่มาจากรัฐต่าง ๆ ที่มีขนาดประชากรใหญ่กว่าซึ่งมีผู้แทนจำนวนมากกว่าในสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะไม่ได้บดบังสิทธิของเสียงส่วนน้อยไปได้ทั้งหมดผ่านทางนโยบายของรัฐบาล รัฐธรรมนูญออสเตรเลียถูกตราขึ้นก่อนการเผชิญหน้ากันระหว่างสภาขุนนางกับสภาสามัญชนในปี ค.ศ. 1909 ที่สหราชอาณาจักร ซึ่งต่อมาได้ส่งผลให้มีการเพิ่มเติมประเด็นข้อจำกัดต่าง ๆ ทางอำนาจของสภาขุนนางเข้าไปในพระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1911 และฉบับปี ค.ศ. 1949

ในทางปฏิบัติแล้วร่างกฎหมายส่วนใหญ่ (ยกเว้นร่างกฎหมายที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ในรัฐสภาออสเตรเลียนั้นเริ่มจากรัฐบาลซึ่งมีเสียงข้างมากในสภาล่าง จากนั้นร่างที่ผ่านโดยสภาล่างจะส่งผ่านเข้าวุฒิสภาซึ่งสามารถแก้ไขร่าง หรือผ่านร่าง หรือตีตกได้ ในกรณีส่วนมากแล้วการลงมตินั้นล้วนมาจากมติพรรค แต่บางครั้งคราวอาจมีการลงมติตามมติส่วนตัว

วุฒิสภาออสเตรเลียมีคณะกรรมาธิการวุฒิสภา ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีส่วนร่วมในการไต่สวนได้หลายประเด็นอย่างกว้างขวาง โดยผลลัพธ์ของการไต่สวนนั้นไม่มีผลโดยตรงต่อการนิติบัญญัติ แต่เป็นการอภิปรายอันมีค่าซึ่งเป็นที่มาของนานาทรรศนะที่ไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลหรือที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของสาธารณะ


หมายเหตุ แก้

  1. Including four Liberal National Party of Queensland (LNP) senators who sit in the Liberals party room
  2. Including two Liberal National Party of Queensland (LNP) senators and one Country Liberal Party (CLP) senator who sit in the Nationals party room

อ้างอิง แก้

  1. Williams, George; Brennan, Sean; Lynch, Andrew (2014). Blackshield and Williams Australian constitutional law and theory : commentary and materials (6th ed.). Annandale, NSW: Federation Press. p. 415. ISBN 9781862879188.
  2. 2.0 2.1 "Part V - Powers of the Parliament" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 13 May 2017.
  3. "No. 14 - Ministers in the Senate". Senate Briefs. Parliament of Australia. December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

35°18′28″S 149°07′26″E / 35.30778°S 149.12389°E / -35.30778; 149.12389