วีสเตียเรีย
ช่อดอกของ Wisteria sinensis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
ไม่ได้จัดลำดับ: Inverted repeat-lacking clade
เผ่า: Millettieae
สกุล: Wisteria
Nutt.
สปีชีส์
ดูในบทความ
ชื่อพ้อง
  • Diplonyx Raf.
  • Kraunhia Raf.
  • Phaseoloides Duhamel
  • Rehsonia Stritch
ภาพวาดสายพันธุ์ Wisteria brachybotrys

วิสเทียเรีย/วีสเตียเรีย (อังกฤษ: Wisteria, Wistaria หรือ Wysteria) เป็นพืชในสกุลไม้ดอก ในพืชวงศ์ถั่ว, พืชที่มีฝัก ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบ ของสายพันธุ์ไม้เถาวัลย์ มีต้นกำเนิดในจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, และฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา บางสายพันธุ์นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนและญี่ปุ่น แต่สำหรับไม้น้ำที่มีชื่อว่า 'water wisteria' ที่จริงแล้วคือพืช Hygrophila difformis ในวงศ์ Acanthaceae

การจัดกลุ่ม แก้

นักพฤกษศาสตร์ Thomas Nuttall ตั้งชื่อสกุล Wisteria เพื่อระลึกถึงนายแพทย์ Caspar Wistar (ค.ศ. 1761–1818)[1][2] มีข้อสงสัยในภายหลังในการสะกด Nuttall กล่าวว่าการตั้งชื่อ Wisteria จะได้ฟัง "ไพเราะ"กว่า แต่ผู้เขียนชีวประวัติของเขาให้ข้อสังเกตว่า อาจมาจาก เพื่อนของ Nuttall ที่ชื่อว่า Charles Jones Wister, Sr. ซึ่งเป็นหลานชายของ John Wister ผู้สร้างอาคาร กมเบทอร์ป Grumblethorpe ในเมืองเยอรมันในฟิลาเดลเฟีย Germantown, Philadelphia (ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานแห่งชาติของสหรัฐฯ)[3] โดยหลักฐานของทางการเมืองฟิลาเดลเฟียบางส่วนระบุว่าพืชชนิดนี้มีการตั้งชื่อจากชื่อสกุล Wister[4][5] การสะกดดังกล่าวได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จึงไม่มีตัดสินการเปลี่ยนแปลงชื่อสกุลจากสถาบัน International Code of Botanical Nomenclature แต่อย่างใด[6] อย่างไรก็ตามพืชชนิดนี้ก็มีชื่อว่า "Wistaria" ด้วย[7][8]

การจำแนกประเภทแสดงให้เห็นว่า Callerya , Afgekia และ Wisteria ต่างเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกันที่สุดแต่ก็ค่อนข้างแตกต่างกันกับสมาชิกในเผ่า Millettieae ซึ่ง Callerya , Afgekia และ Wisteria มีแปดโครโมโซม[9][10]

สปีชีส์ แก้

รายละเอียด แก้

เถาของวีสเตียเรีย จะเลื้อยโดยใช้กิ่งก้านพันเกี่ยวเวียนไปรอบหลักยึด โดยวีสเตียเรียญี่ปุ่นจะเวียนเป็นวงตามเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากด้านบน และวีสเตียเรียจีนจะเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแบ่งแยกสายพันธุ์ทั้งสอง วีสเตียเรียสามารถเลื้อยได้สูงถึง 20 เมตรจากพื้นและแผ่ขยายทางด้านข้างได้ถึง 10 เมตร เถาวีสเตียเรีย ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันคือ วีสเตียเรียในเมืองเซียร์รามาเดร Sierra Madre แคลิฟอร์เนีย ซึ่งวัดขนาดได้มากกว่า 1 เอเคอร์ (0.40 เฮกเตอร์) มีน้ำหนักมากกว่า 250 ตัน โดยปลูกเมื่อปี ค.ศ. 1894 เป็นชนิดวีสเตียเรียจีนที่มีสีม่วงอ่อน[14]

เส้นใบทแยง ยาว 15-35 ซม. คล้ายขนนก ใน 1 ก้านจะมีใบย่อยประกอบ 9-19 ใบ ดอกเป็นพุ่ม ช่อดอกยาว 10-80 ซม.ซึ่งคล้ายกับพืช วงศ์ Laburnum หรือวงศ์ราชพฤกษ์ แต่จะมีสีม่วง สีม่วงเข้ม สีชมพูหรือสีขาว และไม่มีสีเหลืองบนใบ ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ (อาจจะก่อนหรือพร้อมกับใบไม้อื่น ๆ เริ่มผลิใบ) ในบางสายพันธุ์เอเชีย และออกดอกกลางหรือปลายฤดูร้อนในสายพันธุ์อเมริกาและสายพันธุ์ W. japonica วีสเทเรียเป็นไม้ที่กลีบดอกบอบบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวีสเตียเรียจีน เมล็ดของวีสเตียเรียเป็นฝักคล้ายกับต้นคูณ (ราชพฤกษ์) Laburnum และเมล็ดในวงศ์นี้เป็นเมล็ดที่มีพิษ

วีสเตียเรียเป็นพืชที่เพาะพันธุ์ง่ายมากจึงจัดอยู่ในสายพันธุ์ผู้รุกรานในพื้นที่ต่าง ๆ ใน สหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปลูกแทนที่พืชสายพันธุ์พื้นถิ่น

วีสเตียเรียมักจะเป็นอาหารของตัวอ่อน (หนอน) ของผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อราตรี Brown-tail

การปลูก แก้

 
วิสเตียเรีย ที่สวนไนมานส์ (Nymans)
เวสต์ซัสเซกซ์ อังกฤษ

วีสเตียเรีย โดยเฉพาะพันธุ์ Wisteria sinensis เป็นพันธุ์ที่ทนทานและโตเร็วมาก สามารถปลูกได้บนดินที่ธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ แต่ยังต้องการปุ๋ย ความชื้นและ ดินที่ระบายน้ำได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแดดตลอดทั้งวัน วีสเตียเรีย สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการตอนกิ่งแข็ง การตอนกิ่งอ่อน หรือเพาะเมล็ด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลานานถึง 10 ปีกว่าจะออกดอก จึงทำให้ นักจัดสวน มักจะตอนรากหรือ ต่อกิ่งพันธุ์พืช เพื่อให้ออกดอกได้ดี[15] ปัญหาหนึ่งของการออกดอกคือการได้รับปุ๋ยที่มากเกินไป (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน) วีสเตียเรีย มีประสิทธิภาพในการหาไนโตรเจนได้เอง (ได้รับจากแบคทีเรียไรโซเบียมในปมราก) ดังนั้นวีสเตียเตียเรียจึงต้องการสารอาหารเพิ่มเติมจากโปแตสเซียมและฟอสฟอรัส แต่ไม่ต้องการไนโตรเจน วีสเตียเรีย ที่ไม่ยอมออกดอกนั้นเพราะว่าการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ วีสเตียเรียสามารถเจริญเติบโตเต็มที่โดยใช้เวลาไม่กี่ปีสำหรับ สำหรับพันธุ์ วีสเตียเรีย เคนทักกี หรือ เกือบ 20 ปีสำหรับพันธุ์ วีสเตียเรียจีน วีสเตียเรียสามารถบังคับให้เติบโตเต็มที่ได้โดยการตัดลำต้นหลัก การตัดแต่งราก หรือการให้ต้นอดน้ำ

วีสเตียเรีย ขึ้นได้เองบนพื้นดินโดยไม่ต้องการการดูแล แต่จะเติบโตได้ดีที่สุดหากได้ไต่ไปบนต้นไม้ ซุ้มไม้เลื้อย กำแพง หรือโครงสร้างอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม โครงที่รองรับวีสเตียเรียควรจะมั่นคงมากเพราะเมื่อวีสเตียเรียเติบโตจะมีลำต้น และกิ่งก้าน ที่แข็งแรงและแผ่ขยายใหญ่มาก ดังนั้นมันสามารถเลื้อยทะลุไม้ระแนง เบียดเสาไม้บาง ๆ และสามารถคลุมต้นไม้ใหญ่ได้ วีสเตียเรียที่ขึ้นบนตัวบ้านสามารถทำความเสียหายกับรางน้ำ รางน้ำทิ้ง และโครงสร้างอื่น ๆ แต่จะดูสวยมากหากช่อดอกห้อยลงมา

วีสเตียเรีย ออกดอกจากตาใกล้กับตาเดิมที่เคยออกในปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นการแต่งกิ่ง เพื่อให้เหลือตาเดิมบ้าง ควรจะเริ่มทำเมื่อใกล้เข้าถึงฤดูใบไม้ผลิเพื่อทำให้ออกดอกได้ดีขึ้น หากต้องการควบคุมขนาดของต้นวีสเตียเรีย ควรจะตัดกิ่งด้านข้างให้สั้นลงเหลือประมาณ 20 ถึง 40 ซม. ในช่วงกลางฤดูร้อน และตัดเหลือ 10 ถึง 20 ซม.ในฤดูใบไม้ร่วง สำหรับต้นวีสเตียเรียที่มีอายุหลายปีแล้ว สามารถออกดอกชุกเป็นกลุ่มได้ โดยการตัดแต่งยอดไม้เลื้อยที่งอกใหม่ สามครั้งในระหว่างฤดูกาลที่ต้นเจริญเติบโต ในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และเดือนสิงหาคม ในซีกโลกเหนือ ดอกในบางสายพันธุ์สามารถรับประทานได้ และบางชนิดสามารถนำมาหมักไวน์ได้ สายพันธุ์อื่นนอกจากนั้นมีพิษ[16] ดังนั้นการรับประทานควรจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับพืชป่าอื่น ๆ

ในวัฒนธรรม แก้

สาววีสเตียเรีย (ญี่ปุ่น: 藤娘, Fuji Musume; Wisteria Maiden) เป็นหัวเรื่องในภาพวาดท้องถิ่นในเมืองโอตสึ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อกันว่า ได้แรงบันดาลใจมาจากการฟ้อนรำยอดนิยมบางประเภท ภาพวาดเหล่านี้มักขายเป็นเครื่องรางในงานวิวาห์ นอกจากนี้ สาววีสเตียเรียยังเป็นชื่อการฟ้อนรำแบบโบราณประเภทหนึ่งในจำพวกคะบุกิด้วย[17]

ส่วนในนิยายเรื่อง เดอะบีนทรีส์ (The Bean Trees) ของบาร์บารา คิงโซฟเวอร์ (Barbara Kingsolver) เจ้าเต่าเรียกเถาวีสเตียเรียว่า ต้นถั่ว เพราะดอกวีสเตียเรียที่ยังไม่ผลิบานนั้นรูปคล้ายถั่ว แต่เจ้าเต่ากับ เทย์เลอร์ ตัวเอกของเรื่อง มารู้ทีหลังว่าวีสเตียเรียอยู่ในวงศ์ถั่ว และวีสเตียเรียกับสายพันธุ์อื่นในวงศ์ถั่ว มีความสัมพันธ์กันในเชิงสัญลักษณ์เช่นเดียวกับที่ตัวละครทั้งหลายมี


 
การเบ่งบานของดอกวิสเตียเรียหรือ (藤, ฟูจิ) จำนวนมากที่ สวนดอกไม้อาชิคางะ ในเมือง อาชิคางะ จังหวัดโทจิงิ ญี่ปุ่น จากต้นวีสเตียเรียที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งปลูกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 และในปี 2008 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,990 ตารางเมตร (1/2 เอเคอร์)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Nuttall, Thomas (1818). The Genera of North American Plants and a Catalogue of the Species, to the Year 1817. Vol. I. D. Heartt. p. 115. สืบค้นเมื่อ 2011-05-15.
  2. "Wisteria". Ohio State University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  3. Graustein, Jeannette E. (1967). Thomas Nuttall, Naturalist: Explorations in America, 1808–1841. Harvard University Press. p. 123. OCLC 678906703.
  4. John L. Cotter; Daniel Roberts; Michael Parrington (29 December 1992). The Buried Past: An Archaeological History of Philadelphia (1st ed.). Philadelphia: University of Pennsylvania Press. p. 339. ISBN 978-0812231427.
  5. Edwin C. Jellett (1904). "Germantown Old and New: Its Rare and Notable Plants". Vol. 22. Germantown, PA: Germantown Independent Gazette. p. 83. OCLC 848577094.
  6. Charters, Michael L. "Page W". California Plant Names: Latin and Greek Meanings and Derivations. สืบค้นเมื่อ 2011-05-15.
  7. Bryson, Bill (2003). "Ch. 6 — Science Red in Tooth and Claw". A Short History of Nearly Everything (1st ed.). New York, NY: Broadway Books. ISBN 0-375-43200-0.
  8. Dixon, Richard; Howard, Philip (June 5, 2009). "Wisteria? Wistaria? Let's call the whole thing off". The Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-16.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. Hu, Jer-Ming; Lavin, Matt; และคณะ (2000). "Phylogenetic systematics of the tribe Millettieae (Leguminosae) based on chloroplast trnK/matK sequences and its implications for evolutionary patterns in Papilionoideae". American Journal of Botany. 87 (3): 418–30. doi:10.2307/2656638. PMID 10719003.[ลิงก์เสีย]
  10. Li, Jianhua; Jiang, Jin‐Huo; และคณะ (2014). "Molecular systematics and biogeography of Wisteria inferred from nucleotide sequences of nuclear and plastid genes" (PDF). Journal of Systematics and Evolution. 52 (1): 40–50.
  11. "Wisteria macrostachya". Tropicos. Missouri Botanical Garden. สืบค้นเมื่อ 22 February 2016.
  12. "Wisteria venusta Rehder & E.H. Wilson". Tropicos. Missouri Botanical Garden. สืบค้นเมื่อ 19 August 2018.
  13. Wei, Zhi; Pedley, Les. "Wisteria venusta". Flora of China. สืบค้นเมื่อ 22 February 2016 – โดยทาง eFloras.org. Missouri Botanical Garden, Harvard University Herbaria.
  14. R. Daniel Foster (16 March 2018). "Your once-a-year shot to see a freakishly large wisteria vine". Los Angelis Times.
  15. Maureen Gilmer (8 April 2006). "Wisteria has a long and tangled history". Tribune News Service – โดยทาง The Orange County Register.
  16. "Canadian Poisonous Plants Information System, Wisteria floribunda". Canadian Biodiversity Information Facility. 2014-04-15.
  17. ""Fuji Musumè" ( 藤娘 ) or "Wisteria Maiden" shown in flight". Zen Garden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-18. สืบค้นเมื่อ 2018-01-08.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้