วีนัสแห่งเออร์บิโน

จิตรกรรมโดยทิเชียน

วีนัสแห่งเออร์บิโน (ภาษาอังกฤษ: Venus of Urbino) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยทิเชียนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ ในประเทศอิตาลี

วีนัสแห่งเออร์บิโน
ศิลปินทิเชียน
ปีค.ศ. 1538
ประเภทสีน้ำมันบนผ้าใบ
มิติ119 cm × 165 cm (47 นิ้ว × 65 นิ้ว)
สถานที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเร็นซ์

ทิเชียนเขียนภาพ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ในปี ค.ศ. 1538 ที่เป็นภาพเปลือยของหญิงสาวที่แสดงตัวเป็นวีนัสนอนเอนอยู่บนโซฟาหรือเตียงในห้องที่ตกแต่งอย่างหรูหราของวังเรอเนซองส์ ภาพนี้มีพื้นฐานมาจากภาพเขียนของจอร์โจเนชื่อ “วีนัสหลับ” (Sleeping Venus) ที่เขียนเมื่อราวปี ค.ศ. 1510 แต่ภาพของทิเชียนแสดงความมี sensuality มากกว่าเมื่อเทียบกับงานของจอร์โจเนที่ดูจะห่างเหิน ทิเชียนไม่ได้ใช้อุปมานิทัศน์ใดๆ ในรูปแบบที่ทำกันมา (วีนัสไม่มีสัญลักษณ์อะไรที่บ่งว่าเป็นวีนัส) แต่เป็นภาพที่ดึงดูดความรู้สึกเร้าใจอย่างไม่มีการหลีกเลี่ยง

ความรู้สึกที่เปิดเผยของวีนัสเป็นสิ่งที่มักจะสังเกตได้จากภาพนี้ วีนัสมองตรงมายังผู้ชมภาพ ราวกับไม่มีรู้สึกอย่างใดต่อความเปล่าเปลือยของร่างกาย ในมือขวาถือช่อดอกไม้ขณะที่มือซ้ายปิดระหว่างขาเหมือนจะยั่วความรู้สึกของผู้ดูอยู่กลางภาพ ฉากหลังด้านหน้ามีสุนัขซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีนอนหลับอยู่ปลายเตียง ภาพของสุนัขมักจะเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรงแต่เพราะสุนัขนอนหลับก็อาจจะเป็นนัยว่าสตรีในภาพอาจจะไม่ซื่อตรงต่อคนรักและไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่น


จุยโดบาลโดที่ 2 เดลลา โรเวเร ดยุคแห่งเออร์บิโน (Guidobaldo II della Rovere) เป็นผู้จ้างทิเชียนให้เขียนภาพนี้ เดิมใช้ตกแต่ง “หีบคาสโซเน” (cassone) ซึ่งเป็นหีบที่ตามธรรมเนียมในอิตาลีให้เป็นของขวัญแต่งงาน สาวใช้ในฉากหลังของภาพกำลังรื้อหีบที่คล้ายคลึงกันดูเหมือนจะหาเสื้อผ้าของวีนัส ที่ออกจะแปลกคือเป็นภาพที่ดยุคตั้งใจจะใช้สอนจุยเลีย วารานาเจ้าสาวที่ยังเด็กของดยุคแต่หัวเรื่องของภาพกลับเป็นสตรีที่เร้าใจผู้ได้เห็น เนื้อหาการสั่งสอนของภาพอธิบายนักประวัติศาสตร์ศิลปะโรนา กอฟเฟ็นในปี ค.ศ. 1997 ในหนังสือ “Sex, Space, and Social History in Titian’s Venus of Urbino”

ในปี ค.ศ. 1880 มาร์ค ทเวน วิจารณ์ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ในหนังสือ “A Tramp Abroad” ว่าเป็น “the foulest, the vilest, the obscenest picture the world possesses” และกล่าวต่อไปว่าเป็นภาพที่เขียนสำหรับ โรงอาบน้ำ (Bagnio) แต่ถูกปฏิเสธเพราะออกจะแรงไปหน่อย แต่ก็กล่าวว่าเป็นภาพที่แรงไปสำหรับไม่ว่าจะเป็นที่ไหนนอกจากสำหรับหอศิลป์สาธารณะ

“วีนัสแห่งเออร์บิโน” เป็นแรงบันดาลใจของภาพเขียนต่อมาเช่นภาพ “โอลิมเปีย” โดย เอดวด มาเนท์ ซึ่งวีนัสในภาพคือ วิคตอรีน เมอร็อง (Victorine Meurent)[1][2] นอกจากนั้นก็ยังเป็นแรงบันดาลใจของตัวละครฟิอัมเม็ตตา บิอันชินีในหนังสือ “In the Company of the Courtesan” โดยซาราห์ ดูนันท์

ระเบียงภาพ แก้

 
วีนัสหลับ” (1510)
จอร์โจเน
 
สมบัติของอุฟฟิซิ” (1772–1778)
(Tribuna of the Uffizi) โดย โยฮันน์ ซอฟฟานิ
แสดงภาพ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ด้านหน้าของภาพล้อมรอบไปด้วยผู้สนใจศิลปะอังกฤษและอิตาลี
 
โอลิมเปีย” (1863)
เอดวด มาเนท์
วีนัสในภาพคือ วิคตอรีน เมอร็อง

อ้างอิง แก้

  1. Honour, H. and Fleming, J. (2009), A World History of Art, 7th ed., London: Laurence King Publishing, p. 709, ISBN 9781856695848
  2. Goffen (1997a), p. 71

บรรณานุกรม แก้

  • Berrson, Robert, Responding to Art, Boston: McGraw Hill, ISBN 0-697-25819-X
  • Goffen, Rona (1997a), "Sex, Space and Social History in Titian's Venus of Urbino", in Goffen, Rona (ed), Titian's "Venus of Urbino", 1997, Cambridge University Press
  • Goffen, Rona (1997b), Titian's Women, 1997, Yale University Press, relevant excerpts
  • Hale, Sheila, Titian, His Life, 2012, Harper Press, ISBN 978-0-00717582-6
  • Hope, Charles, "Classical antiquity in Venetian Renaissance subject matter", in Francis Ames-Lewis (ed), New Interpretations of Venetian Renaissance Painting, 1994, Birkbeck College History of Art ISBN 9780907904809
  • Wind, Edgar, Pagan Mysteries in the Renaissance, 1967 ed., Peregrine Books

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้