วิเวียน ลีห์ (อังกฤษ: Vivien Leigh;5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1967) ชื่อเดิม วิเวียน แมรี ฮาร์ตลีย์ (อังกฤษ: Vivien Mary Hartley) เป็นนักแสดงชาวบริติช ได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม 2 ครั้ง จากการแสดงอันยอดเยี่ยมของเธอในบทบาท "สการ์เลตต์ โอฮารา" ในภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย (1939) และบท "แบลนช์ ดูบัวส์" ในภาพยนตร์เรื่อง รถรางคันนั้นชื่อปรารถนา (1951) ซึ่งเป็นบทบาทที่เธอเคยแสดงมาแล้วเมื่อครั้งถูกนำมาสร้างเป็นละครเวทีเมื่อปี 1948 นอกจากนี้เธอยังประสบความสำเร็จในการแสดงละครบรอดเวย์โดยได้รับรางวัลโทนี สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทละครเพลง จากเรื่อง โตวาริช ที่เปิดการแสดงที่นครนิวยอร์กในปี 1963 โดยเธอได้รับเกียรติให้จารึกชื่อไว้ในฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม ในปี 1960 และสถาบันภาพยนตร์อเมริกันได้จัดอันดับให้เธอเป็นนักแสดงหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดเป็นอันดับ 16 ของภาพยนตร์ฮอลลีวูดยุคคลาสสิก

วิเวียน ลีห์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913(1913-11-05)
วิเวียน แมรี ฮาร์ตลีย์
ดาร์จีลิง มณฑลเบงกอล บริติชอินเดีย
เสียชีวิต7 กรกฎาคม ค.ศ. 1967(1967-07-07) (53 ปี)
ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
คู่สมรสเฮอร์เบิร์ต ลีห์ ฮอลแมน (1932-1940)
ลอเรนซ์ โอลิวีเอร์ (1940-1960)
คู่ครองจอห์น เมอรีวาล (1960-1967)
บุตร1
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดง1933-1967

ลีห์ เคยเรียนด้านการแสดงที่ราชสถานศิลปะการละคร ในลอนดอน เธอมีผลงานการแสดงละครเวทีมากมาย โดยมากมีการร่วมงานกับสามีของเธอ ลอเรนซ์ โอลิวีเอร์ ที่กำกับให้เธอหลายบทบาท ในอาชีพนักแสดงละครเวที 30 ปี เธอแสดงในบทที่มีความหลากหลายตั้งแต่วีรสตรีของ โนเอล โควาร์ด ไปถึงงานตลกขบขันของจอร์จ เบอร์นาร์ด ไปถึงตัวละครของเชกสเปียร์ อย่างเช่น โอฟีเลีย คลีโอพัตรา จูเลียต และเลดี้ แม็กเบธ

กับเสียงชมด้านความงาม ลีห์รู้สึกว่าในบางครั้งก็กีดกันเธอให้เธอลงลึกด้านการแสดงอย่างจริงจัง แต่ด้วยปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นอุปสรรคของเธอมากที่สุด เป็นผลต่อโรคอารมณ์แปรปรวนของเธอในวัยมีอายุ[1] เธอมีชื่อเสียงมากขึ้นในเรื่องการร่วมงานกับเธอที่ยากลำบาก และยุคของเธอก็ได้ถดถอยลงไป เธอมีอาการเจ็บป่วยกับอาการวัณโรคเรื้อรังในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1940 เธอหย่าร้างกับโอลิเวียร์ในปี 1960 และลีห์ทำงานด้านภาพยนตร์และละครเวทีบางครั้งบางคราว จนเธอเสียชีวิตด้วยโรควัณโรคในปี 1967

อ้างอิง แก้

  1. Olivier, Laurence, Confessions Of an Actor, Simon and Schuster, 1982, ISBN 0-14-006888-0 p 174