วิลเลจพีเพิล (อังกฤษ: Village People) เป็นกลุ่มดนตรีแนวดิสโก้ ก่อตั้งวงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นที่รู้จักในเรื่องเป็นวงที่มีชุดแต่งกายสะดุดตา เช่นเดียวกับเพลงติดหูและเนื้อเพลงเป็นนัยถึงเรื่องทะลึ่ง สมาชิกดั้งเดิมประกอบด้วย วิกเตอร์ วิลลิส (เจ้าหน้าที่ตำรวจ) ฟีลิเป โรส (เผ่าอินเดียนแดง) แรนดี โจนส์ (คาวบอย) เกลนน์ ฮิวส์ (สิงห์มอเตอร์ไซค์) เดวิด โฮโด (คนงานก่อสร้าง) และอเล็กซ์ ไบรลีย์ (ทหาร) ในการออกเพลง "In the Navy" วิลลิสและไบรลีย์ เปลี่ยนชุดเป็นนาวิกโยธินและกะลาสี ตามลำดับ แนวเพลงของวงเป็นดิสโก้เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มคนฟังเกย์ และยังมีเรื่องเพ้อฝันของกลุ่มเกย์[1] วงก้าวเข้าสู่กระแสหลักอย่างรวดเร็ว

วิลเลจพีเพิล

วิลเลจพีเพิลมีเพลงฮิต เพลงดังหลายเพลงรวมถึงเพลงอย่าง "Macho Man", "Go West", เพลงเมดเลย์อย่าง "San Francisco (You've Got Me) / In Hollywood (Everybody is a Star)", "In the Navy", "Can't Stop the Music" และเพลงฮิตที่ดังที่สุดคือ "Y.M.C.A."

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 วงมีชื่ออยู่บนฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม[2] มียอดขายมากกว่า 50 ล้านชุดทั่วโลก[3].

ประวัติวง แก้

วิลเลจพีเพิลก่อตั้งขึ้นในปี 1977 โดย แจ็ค โมราลี่ (Jacques Morali) นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์, เฮนรี่ เบโลโล (Henri Belolo) ผู้ดูแลทางธุรกิจ และ วิคเตอร์ วิลลิส (Victor Willis) นักร้องนำ ที่ต้องการจะสร้างวงแด๊นซ์ที่มีสีสันไม่เหมือนใคร ทางวงจึงควานหานักเต้นสำหรับการแสดงสด ในช่วงแรกได้โรส และ ไบรลีย์ มาเป็นนักเต้น และนักเต้นอีกจำนวนหนึ่งในแต่ละบทบาท ไม่นานจึงได้ โฮโด,ฮิวส์,โจนส์ มาแทนในแต่ละตำแหน่ง วิลเลจพีเพิลในยุคที่วิลลิสเป็นนักร้องนำนั้น ตั้งแต่ปี1977 จนถึง1979 สร้างอัลบั้มออกมาห้าชุดด้วยกัน และมีเพลงฮิตเด่นๆเช่น "Go West" "In The Navy" "San Francisco" "Macho Man" และที่ฮิตที่สุด "YMCA" ในช่วง Live & Sleazy ในปี1979 วิลลิสออกจากวง และแทนที่ด้วย เรย์ ซิมพ์สัน และนั่นคือจุดตกต่ำของวง

ผลงานชิ้นโบแดงต่อมา ภาพยนตร์และซาวด์แทรค "Can't Stop The Music" ประสบความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าในเรื่องรายได้และคำวิจารณ์ แต่ในเวลาต่อมาก็กลายเป็นหนังคัลต์ หลังจากนี้ เจฟฟ์ โอลสัน มาเป็นคาวบอยแทนโจนส์ และอัลบั้มสามชุดหลังต่อมา "Renaissance" (1981), "Fox on the box" "In The Street" (1982/1983 อัลบั้มเดียวกันแต่วางขายคนละค่าย และยังเป็นอัลบั้มที่วิลลิสเข้ามากอบกู้สถานการณ์ และมาร์ค ลีเข้ามาแทนโฮโด) และ Sex Over The Phone (1985 เปลี่ยนนักร้องนำเป็นเรย์ สตีเฟ่นส์) ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทางวงจึงยุบวงในปีเดียวกัน แต่ก็กลับมาในปี1987 โดยสมาชิกยุคดั้งเดิมทั้งหมดกลับมา ยกเว้นนักร้องนำที่เรย์ ซิมพ์สันยังทำหน้าที่นี้อยู่ ในไลน์อัพนี้ออกซิงเกิล "Livin In The Wildlife" ในปี 1989 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเพลง "Faraway In America" ในปี1994 ซึ่งเป็นเพลงที่วงทำร่วมกับทีมชาติเยอรมัน เพื่อใช้ในฟุตบอลโลก 1994 ที่อเมริกาเป็นเจ้าภาพ (โอลสันกลับมาแทนโจนส์ และยังเป็นซิงเกิลสุดท้ายที่ฮิวส์ทำกับวงอีกด้วย) เอริค อันซาโลเน่เข้ามาแทนฮิวส์ในปี1995 และปัจจุบัน วิลเลจ พีเพิลก็ยังคงทัวร์ตามสถานที่ต่างๆทั่วโลก

วิลเลจ พีเพิล ออกซิงเกิลใหม่อีกครั้งในเดือนสิงหาคม ปี 2013 ในเพลง "Let's Go Back to the Dance Floor" จากการเขียนของ แฮร์รี่ เวยน์ เคซี่ย์ เจ้าของวง Kc and the Sunshine Band และยังเป็นผลงานบันทึกเสียงชิ้นสุดท้ายของโอลสัน และโฮโด ในฐานะสมาชิกวง และแทนที่โดย จิม นิวแมน และ บิล ไวท์ฟิลด์ ตามลำดับ[4]

โมราลี่ตายด้วยโรคเอดส์ในปี 1991[5], สตีเฟ่นส์ตายในปี 1990 และฮิวส์ตายด้วยมะเร็งปอดในปี 2001[6] โจนส์ออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นของตัวเอง วิลลิสมีปัญหาชีวิตส่วนตัวในเรื่องยาเสพติดและปัญหาสุขภาพ และพยายามจะกลับมาสร้างผลงานอีกครั้ง ส่วนลีกลับไปทำงานด้านสถาปนิกและเล่นเปียโนตามร้านต่างๆในอเมริกา

ผลงาน แก้

อัลบั้มเต็ม แก้

ชื่ออัลบั้ม ปีที่วางแผง
Village People 1977
Macho Man 1978
Cruisin' 1978
Go West 1979
Live and Sleazy 1979
Can't Stop the Music 1980
Renaissance 1981
Fox on the Box 1982
In the Street 1983
Sex Over the Phone 1985

ซิงเกิล แก้

อ้างอิง แก้

  1. Spin Magazine Online: Y.M.C.A. (An Oral History)
  2. http://articles.latimes.com/2008/sep/13/local/me-village13
  3. Music | Encore | Village People: "Macho Man" เก็บถาวร 2009-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Entertainment Weekly. Retrieved on August 22, 2009
  4. http://www.al.com/entertainment/index.ssf/2013/08/birminghams_jim_newman_xxx_as.html
  5. http://thestarryeye.typepad.com/gay/2012/11/creator-of-village-people-dies-of-aids-nov-15-1991.html
  6. http://www.nme.com/blogs/nme-blogs/guns-lawsuits-crack-%E2%80%93-the-curse-of-the-village-people
  7. Roberts, David (2006). British Hit Singles & Albums (19th ed.). London: Guinness World Records Limited. p. 587. ISBN 1-904994-10-5.